รองปลัด ยธ.ชี้ เด็กประพฤติรุนแรง แค่’ฮอร์โมนเปลี่ยน’ ไม่ควรนำเข้ากระบวนการยุติธรรม





 

จากกรณีรุ่นพี่ชั้น ม.2 โรงเรียนแห่งหนึ่งใน อ.ดอกคำใต้ จ.พะเยา จำนวน 8 คน ได้พานักเรียนหญิง ป.4 ป่วยออทิสติก เข้าไปในห้องเรียนบอกว่าจะถักเปียให้ แต่ปรากฏว่ารุ่นพี่ กลับรุมกระชากผม และทำร้ายร่างกาย รวมถึงเอาเท้าเหยียบหน้าอย่างรุนแรง โดยผู้ปกครองเด็กผู้เสียหาย จะเอาเรื่องให้ถึงที่สุด แถมยังแฉว่า โรงเรียนจะให้เด็กที่กระทำความผิดจ่ายเงินให้รายละ 5,000 บาท เพื่อขอให้จบเรื่องนั้น

วันที่ 11 ต.ค. นายธวัชชัย ไทยเขียว รองปลัดกระทรวงยุติธรรม ได้แสดงความคิดเห็นต่อเรื่องดังกล่าวว่า

กรณีเด็ก ม.๒ ทำร้ายเด็ก ป๔. ไม่ควรนำเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม เพราะเป็นการขัดขวางพัฒนาการตามวัยของเด็ก แต่ควรใช้กระบวนการยุติธรรมทางเลือกเพื่อปรับพฤติกรรมที่เหมาะสม

การที่เด็กมีพฤติกรรมใช้ความรุนแรง นั้นเป็นพฤติกรรมเกเร (Conduct Behavior) ซึ่งหากพิจารณาตามจิตวิทยาพัฒนาการเด็ก เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย และฮอร์โมน ส่งผลให้วัยรุ่นมีอารมณ์แปรปรวนง่าย ไม่คงที่ ฉุนเฉียว โกรธง่าย และมักแก้ปัญหาด้วยความรุนแรง จึงทำให้เด็ก/เยาวชนที่กระทำผิดส่วนใหญ่อยู่ในช่วงวัยรุ่น

มีพฤติกรรมการล่วงละเมิดสิทธิของผู้อื่นหรือการละเมิดกฎเกณฑ์ของสังคม เช่น พฤติกรรมขโมย พูดปด หลอกลวง หนีเรียน หนีออกจากบ้าน ชกต่อย รังแกคนอื่น รังแกสัตว์ และทำลายของสาธารณะ เป็นต้น ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้มีความเกี่ยวพันกับระดับของปัญหาและความเสี่ยงต่อการทำผิดในอนาคต และกระทำผิดซ้ำได้

ปัญหาดังกล่าวจึงไม่ควรปล่อยผ่านด้วยกระบวนการปกติ จากประสบการณ์ที่เคยเป็นทีมพัฒนาเครื่องมือจำแนกเพื่อค้นหาสาเหตุปัจจัยเสี่ยง และปัจจัยจำเป็น ในการกระทำความผิดของเด็กหรือเยาวชน การใช้ความรุนแรง จึงเป็นประเด็นสำคัญที่ต้องมีการสอบถามในเครื่องมือดังกล่าว เพื่อนำมาใช้เป็นข้อมูลในการแก้ไขบำบัดเด็ก/เยาวชน ได้ตรงกับสภาพปัญหามากยิ่งขึ้น

ดังนั้น การที่เด็กหรือเยาวชนมีพฤติกรรมที่ใช้ความรุนแรง จึงถือว่าเป็นเด็กเสี่ยงต่อการกระทำผิดได้ และในการพัฒนาเครื่องมือจำแนกเด็กหรือเยาวชนในการในแบบประเมินความเสี่ยงและความจำเป็นจึงถือว่าเป็นพฤติกรรมเกเร (Conduct Behavior) นั้นต้องได้รับการบำบัดแก้ไขฟื้นฟู

ดังนั้น การทำทัณฑ์บน หรือกล่าวคำขอโทษจึงไม่เป็นการเพียงพอ จำเป็นต้องใช้กระบวนการปรับพฤติกรรมที่เหมาะสมประกอบด้วย เช่น การใช้กระบวนการประชุมกลุ่มครอบครัวและชุมชน ของกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ซึ่งสามารถประสานงานได้ที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนได้ทั่วประเทศให้เข้าไปช่วยดำเนินการครับ

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : ธวัชชัย ไทยเขียว

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: