ผลวิจัยเผย! นอนนานกว่า 8 ชม. ไม่ใช่เรื่องดี เพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อม





มีการวิจัยมากมายแสดงผลวิจัยถึงความเชื่อมโยงระหว่างการนอนหลับทั้งมากเกินไปและน้อยเกินไป เกี่ยวข้องกับโรคอัลไซเมอร์และภาวะสมองเสื่อมอื่น ๆ

เดอะซันรายงาน ผลวิจัยเผย การนอนหลับ 8 ชั่วโมงอาจส่งผลเสียมากกว่าผลดีอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อม ซึ่งเป็นโรคที่ได้รับการวินิจฉัยทั่วโลกถึง 10 ล้านครั้งต่อปี

นักวิจัยจากคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยวอชิงตัน ศึกษาผู้ใหญ่ 100 คนในช่วงกลางถึงปลายทศวรรษ 70 เป็นระยะเวลา 4 – 5 ปี ตลอดการศึกษา ผู้เข้าร่วมได้มีส่วนร่วมในการทดสอบเพื่อค้นหาสัญญาณของความบกพร่องทางสติปัญญา

ซึ่ง 12 คนมีอาการของความรู้ ความเข้าใจลดลง พร้อมการถดถอยประสิทธิภาพการทำงานของสมอง รวมถึงคนหนึ่งที่มีภาวะสมองเสื่อมเล็กน้อย

นักวิจัยยังได้แนวคิดเกี่ยวกับรูปแบบการนอนหลับตามปกติ โดยติดตามการนอนหลับ 4 – 6 คืนในช่วง 3 ปี โดยใช้เครื่องตรวจวัดคลื่นไฟฟ้าสมอง หรือ EEG

ผลวิจัยค้นพบว่า การนอนหลับมากเกินไปเป็นปัจจัยเสี่ยงสำหรับสมอง เช่นเดียวกับการนอนหลับน้อยเกินไป ซึ่งการนอนน้อยกว่า 4.5 ชั่วโมง หรือมากกว่า 6.5 ชั่วโมงต่อคืน มักพบในผู้ที่มีอาการถดถอยประสิทธิภาพสติปัญญาลดลง พร้อมทั้งอายุยังมีส่วนสำคัญที่เป็นแรงผลักดันให้เกิดภาวะสมองเสื่อม

อย่างไรก็ตาม เกร็ก เอลเดอร์ อาจารย์อาวุโสด้านจิตวิทยาและรองผู้อำนวยการ Northumbria Sleep Research แห่งมหาวิทยาลัยนอร์ธัมเบรีย กล่าวว่า “เราทราบจากการวิจัยก่อนหน้านี้ว่า การอดนอนเชื่อมโยงกับการเสื่อมของสติปัญญา แต่ไม่ชัดเจนว่าทำไมการนอนมากเกินไปถึงเชื่อมโยงกับการเสื่อมของความรู้ความเข้าใจ”

“อาจเป็นกรณีที่ระยะเวลานอนไม่สำคัญเสมอไป แต่คุณภาพของการนอนหลับนั้นสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่จะเป็นโรคสมองเสื่อม โดยคุณภาพการนอนหลับหมายถึง เวลาที่คุณใช้ในการนอนหลับลึก ซึ่งร่างกายได้รับการฟื้นฟูถึงขีดสุด”

ผลการศึกษาพบว่า การนอนหลับแบบ Slow Wave Sleep ที่เป็นการหลับสนิท คลื่นสมองจะเป็นแบบคลื่นช้า แต่มีความตื่นตัวอย่างสูงและการนอน Rapid Eye Movement (REM) ที่เป็นร่างกายจะไม่ขยับเขยื้อนแต่สมองกลับมีความตื่นตัวเทียบเคียงได้กับขณะตื่น เป็นอันตรายต่อสุขภาพของสมองมากที่สุด

เดวิด โฮลท์ซแมน ศาสตราจารย์ด้านประสาทวิทยากล่าวว่า การศึกษาชี้ให้เห็นถึง “คุณภาพการนอนหลับอาจเป็นกุญแจสำคัญ ในทางตรงกันข้ามกับการนอนหลับแบบทั่วไปทั้งหมด”

ศาสตราจารย์เบรนแดน ลูซีย์ ผู้เขียนงานวิจัยคนแรกของการศึกษากล่าวว่า “การศึกษาของเราชี้ให้เห็นว่ามีช่วงกลางหรือจุดที่น่ารื่นรมย์สำหรับเวลาการนอนหลับทั้งหมด ซึ่งประสิทธิภาพการรับรู้จะคงที่เมื่อเวลาผ่านไป”

พร้อมทั้งกล่าวเสริมว่า “คนที่ตื่นนอนแล้วรู้สึกว่าได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ หลังจากนอนหลับน้อยหรือนอนหลายชั่วโมง ไม่ควรรู้สึกว่าจำเป็นต้องเปลี่ยนพฤติกรรมทันที”

ระบบสาธารณสุขประจำประเทศอังกฤษกล่าวว่า “ผู้ใหญ่ส่วนใหญ่ต้องการนอนระหว่าง 6 – 9 ชั่วโมงทุกคืน” ทว่าการนอนหลับเพียงพอสำหรับทุกคนนั้นมีความต่างกัน หากตื่นขึ้นมาด้วยความเหนื่อยล้าและใช้เวลาทั้งวันเพื่องีบหลับ แสดงว่าคุณยังนอนหลับไม่เพียงพอ”

NHS เตือนว่า “การนอนหลับไม่ดีเป็นประจำทำให้คุณเสี่ยงต่อภาวะทางการแพทย์ที่ร้ายแรง เช่น โรคอ้วน โรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคเบาหวาน และทำให้อายุขัยสั้นลง”

นอกจากนี้ หากใครสงสัยว่า ทำไมถึงรู้สึกปวดหัวเมื่อตื่นนอนยามเช้า สามารถหาคำตอบได้ที่ 7 สาเหตุทำไมปวดหัวยามเช้า พร้อมวิธีป้องกันง่าย ๆ

 

ข่าวจาก : ข่าวสด

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: