กรมการแพทย์ เผยข้อมูล ประเทศไทยมีผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงมากเป็นอันดับ 3 ในเพศชาย และอันดับ 2 ในเพศหญิงโดยอ้างอิงจากสถิติของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ ในทุก ๆ วันจะมีผู้สียชีวิตจากโรคร้ายเฉลี่ยวันละ 15 ราย ปีละ 5,476 ราย และมีผู้ป่วยรายใหม่วันละ 44 ราย ปีละ 15,939 ราย
ทางทีมข่าวสดจะมาเปิดเผย 5 อาหารที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยพญ. เฉิน ซินเหม่ย แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวที่โรงพยาบาล Zhongshan เผยมีงานวิจัยที่พบว่า อาหารทั่วไป 5 ชนิดสามารถส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินอาหารทั้งหมดได้ พร้อมเตือนให้ให้ลดอัตราส่วนการบริโภคลง
1. อาหารที่เกิดจากการถนอมอาหาร หลายคนชอบทานของดองมักรู้สึกว่ารสชาติดีเป็นพิเศษ ทว่าแท้จริงแล้วอาหารที่ถูกถนอมมักมีการใช้ไนไตรท์ในรูปของเกลือระหว่างการหมักดองหรือใส่ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์แปรรูป ทำให้เกิดมะเร็งและโรคเรื้อรังได้
2. ปรุงด้วยความร้อนสูงเป็นเวลานาน เช่น การปิ้งย่างจนไหม้เกรียม อาหารทอด และอาหารมีมันสูง อุณหภูมิที่สูงมากจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของแป้งหรือโปรตีนอื่น ๆ นอกจากนี้ยังพบว่าสารก่อมะเร็งทั้ง 4 ชนิดอาจหลุดรอดออกไประหว่างกระบวนการทำอาหาร เช่น polycyclicaromatic hydrocarbons, isocyclic amines, ไดออกซินที่ละลายน้ำได้ และไนโตรซามีน
3. อาหารที่ขึ้นเชื้อราง่าย เช่น ถั่ว บางครั้งหลาย ๆ คนมักซื้อถั่วหรืออาหารแห้งเป็นถังใหญ่เพื่อประหยัดเงิน หากเก็บไม่ถูกวิธีจะกลายเป็นเชื้อรา ซึ่งอาจทำลายตับและลำไส้ได้
4. แอลกอฮอล์บุหรี่ มีสารก่อมะเร็ง ซึ่งสามารถทำให้เกิดการอักเสบในร่างกายได้ง่าย กระตุ้นระบบทางเดินอาหาร และกระตุ้นให้เกิดมะเร็งในลำไส้
5. ขนมหวานที่มีน้ำตาลสูง การศึกษามากกว่า 30,000 คนในสหรัฐอเมริกาพบว่า หากวัยรุ่นดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลและบริโภคฟรุกโตสมากขึ้น 5% ความน่าจะเป็นของการพัฒนาเนื้องอกที่เจริญมาจากอะดีโนมา (adenoma) ที่เป็นเซลล์หรือเนื้อเยื่อทั้งหมดเพิ่มขึ้น 17% ซึ่งคาดว่ามีหารพัฒนาเนื้องอกที่มีความเสี่ยงสูงเพิ่มขึ้น 30%
พญ. เฉิน ซินเหม่ยยกตัวอย่างกรณีทางการแพทย์ของคนไข้ว่า แม่ของนักเรียนป่วยด้วยโรคมะเร็งกระเพาะอาหารในวัย 40 ปี เธอค่อนข้างสับสน เพราะไม่มีประวัติทางการแพทย์ในครอบครัวว่าเป็นมะเร็ง ทว่ากลับบริโภคอาหารประเภทบาร์บีคิว อาหารดอง และของทอดต่าง ๆ จึงสันนิษฐานว่าเนื้องอกของเธออาจสะสมอยู่ ผลมาจากการกินอาหารที่ไม่มีประโยชน์เหล่านี้เป็นเวลาหนึ่งเดือน
นอกจากนี้ มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงยังเกิดในคนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงจากการมีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง คนที่เคยตรวจพบติ่งเนื้อในลำไส้ใหญ่แบบอะดีโนมา หรือทำการรักษาโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง ซึ่ง ปัจจุบันตรวจคัดกรองด้วยวิธีการตรวจหาเลือดแฝงในอุจจาระ (Fecal Immunochemical Test: FIT)
ข่าวจาก : ข่าวสด
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ