จ่ายเบี้ยประกันทุกปี ถูกตัวแทนฮุบเบี้ย ขาดส่งตั้งแต่ปี 64

Advertisement หญิงคนหนึ่งได้ร้องเรียนมายังเพจโหนกระแสว่า ถูกตัวแทนประกันฮุบเบี้ยประกันโดยไม่รู้ตัว มาทราบเรื่องตอนที่คุณพ่อเสียชีวิตว่ากรมธรรม์ขาด ตอนนี้ยังไม่ได้รับคำตอบที่แน่ชัดว่าจะได้รับเงินหรือไม่ หรือจะมีการชดเชยเยียวยาอย่างไร Advertisement หญิงผู้ร้องเรียน เล่าว่า ตนคิดอยากทำประกันชีวิตให้พ่อ เพราะเป็นลูกคนเดียว พ่อกับแม่แยกทางกัน หากเกิดเหตุไม่คาดคิดจะได้มีเงินประกันมาจัดการ ประกอบกับพ่อแม่สามีรู้จักตัวแทนประกันพอดี จึงได้ตัดสินใจทำประกันชีวิตให้พ่อเมื่อปี 2562 จ่ายเบี้ยเป็นรายปี ปีละเกือบ 25,000 บาท หากเสียชีวิตด้วยโรคทั่วไปจะได้รับเงิน 5 แสน อุบัติเหตุ 7 แสน โรคร้ายแรง 6 แสน ก่อนหน้านี้ตนทำงานต่างประเทศ จึงฝากแม่สามีหรือญาติที่บ้านจ่ายกับตัวแทน เมื่อช่วงสิ้นเดือน ก.ค.ที่ผ่านมา ตัวแทนได้เข้ามาเก็บเงิน แต่ตนยังไม่สะดวก จึงขอเลื่อนเป็นช่วงสิ้นเดือน ส.ค.นี้ เนื่องจากเห็นว่าชำระมาหลายปี ประกันชีวิตน่าจะมีมูลค่าเงินสดกรมธรรม์หรือมูลค่าเวนคืนที่สามารถหักมาชำระค่าเบี้ยได้โดยไม่ขาดการคุ้มครอง แต่ปรากฏว่ายังไม่ทันได้ชำระ วันที่ 16 ส.ค.คุณพ่อตนเกิดเสียชีวิตกะทันหัน ตนได้ติดต่อไปยังตัวแทนประกัน แต่ตัวแทนกลับบ่ายเบี่ยง ไม่กระตือรือร้นดำเนินการให้เหมือนตัวแทนคนอื่นๆ จนตนเอะใจติดต่อไปที่บริษัท จึงทราบว่ากรมธรรม์ของคุณพ่อขาดส่งตั้งแต่ปี 2564 Advertisement ตอนนั้นตนทั้ง งง ทั้งตกใจ พยายามติดต่อกลับไปที่ตัวแทนอีกครั้ง ทางตัวแทนก็ยังอ้างไปเรื่อย […]

ประกันชีวิตวุ่น! รื้อเกณฑ์เบิกค่ารักษาป่วยโควิด ลูกค้า-ตัวแทน ดีเดย์ 15ก.พ.

ลูกค้าและตัวแทนประกันชีวิตวุ่น! สมาคมประกันชีวิตไทย รื้อแนวปฏิบัติใหม่ เบิกค่ารักษาผู้ป่วยใน-ค่าชดเชยรายได้” ในโรงพยาบาล-ฮอลพิเทล กรณีป่วยโควิด-19 ต้องมี 1 ใน 5 ข้อบ่งชี้ทางการแพทย์​ ตามหลักปฎิบัติกระทรวงสาธารณสุข วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2565 นายบรรยง วิทยวีรศักดิ์ กูรูวงการประกันชีวิต โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัวว่า งานเข้า ป่วยเป็นโควิด ต้องมีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ จึงจะเบิกค่ารักษาได้ อ้างอิงแหล่งข่าวจากวงการประกันชีวิตแจ้งว่า สมาคมประกันชีวิตไทย ได้ออกแนวปฏิบัติการให้ความคุ้มครองการประกันสุขภาพ สำหรับผู้เอาประกันภัยที่ติดเชื้อโควิด-19 ของบริษัทประกันชีวิต โดยมีเนื้อหาโดยย่อว่า จากนี้ไป บริษัทประกันชีวิตจะให้การชดเชยค่ารักษาพยาบาลและค่าชดเชยรายวันสำหรับผู้เอาประกันที่ป่วยเป็นโควิด ก็ต่อเมื่อมีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์เท่านั้น วานนี้ เริ่มมีผู้บริหารบริษัทประกันชีวิตบางแห่ง ได้ออกมาแจ้งให้ตัวแทนประกันชีวิตได้รับทราบว่า บริษัทกำลังจะมีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับการเบิกค่ารักษาพยาบาลโรคโควิดในเร็วๆ นี้ แหล่งข่าวยังแจ้งต่อว่า การที่บริษัทประกันชีวิต ได้เปลี่ยนแนวปฏิบัติ การให้ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลสำหรับผู้ป่วยโควิดครั้งนี้ ก็เพื่อให้สอดคล้องกับประกาศของกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง แนวทางปฏิบัติสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ในการให้คำแนะนำผู้ป่วยและการจัดบริการผู้ป่วยโควิด-19 แบบ Home Isolation ฉบับปรับปรุง เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2565 ขณะประกาศของกระทรวงสาธารณสุขฉบับนี้ ได้กำหนดแนวทางปฏิบัติให้ผู้ติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการ […]

ธ.กรุงศรี แจงกรณี พนง. ลาออก โดนกดดันยอดประกัน ยันให้ความสำคัญกับทรัพยากรบุคคล

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ออกหนังสือชี้แจง กรณีอดีตพนักงานออกมาแฉ ถูกบังคับขายประกันทำยอด จนต้องขอลาออก ยัน ให้ความสำคัญในการดูแลสภาพแวดล้อมการทำงานของพนักงานมาโดยตลอด กำลังเป็นประเด็นที่สังคมให้ความสนใจ หลังพนักงานธนาคารแห่งหนึ่ง ออกมาตีแผ่เหตุผลที่ตัดสินใจออกจากงาน เพราะหนักใจถูกบังคับให้ขายประกันเพื่อทำยอด หากได้ไม่ตามเป้าก็จำเป็นต้องซื้อเอง ทั้งที่ไม่ได้ระบุลงในสัญญาจ้างตั้งแต่ต้น แต่ใช้อำนาจหน้าที่สั่งให้ทำ ซึ่งต่อมา ธปท. ออกมาชี้แจงเตรียมตรวจสอบเรื่องนี้อย่างเข้มข้น พร้อมยืนยันห้ามกำหนด KPI กับเป้าหมายการขายประกัน เบื้องต้นได้ทำการเปรียบเทียบปรับธนาคาร 2 แห่งไปแล้วนั้น ล่าสุด (19 พฤศจิกายน 2564) เฟซบุ๊ก สรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมกรข่าว ได้เผยหนังสือชี้แจงจากธนาคารที่ถูกอดีตพนักงานแฉ โดยรายละเอียดระบุว่า ทางธนาคารได้รับทราบเรื่องดังกล่าวแล้ว เบื้องต้นธนาคารอยู่ระหว่างดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ธนาคารตระหนักดีว่าพนักงานทุกคนเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าอย่างยิ่งและเป็นพลังในการขับเคลื่อนที่สำคัญขององค์กร โดยธนาคารมีนโยบายในการบริหารทรัพยากรบุคคลอย่างเหมาะสม รวมถึงให้ความสำคัญในการดูแลสภาพแวดล้อมการทำงานของพนักงานมาโดยตลอด   ข่าวจาก : kapook

วิจารณ์สนั่น ธนาคารดังขายประกัน ป้องกันเงินในบัญชีธนาคารโดนแฮก!

ชาวเน็ตวิจารรณ์สนั่น ธนาคารดัง ออกประกันภัย ป้องกันเงินในบัญชีโดนแฮก โฆษณาช็อปปิ้งสบายหายห่วง เจอตอกกลับฝากเงินในธนาคารความปลอดภัยอยู่ไหน นับเป็นความเสียหายทางระบบการเงินออนไลน์ครั้งใหญ่ เมื่อประชาชนจำนวนมาก ตรวจสอบพบว่า เงินหายไปจากบัญชีแบบผิดปกติ มียอดโอนที่ไม่ได้ใช้จ่ายจริงจำนวนมาก ซึ่งบางเคสเปิดเผยว่า มียอดเงินออกถึง 600-700 ครั้งเลยทีเดียว ที่สำคัญ คือ บางคนไม่ได้ผูกบัตรกับธุรกรรมออนไลน์ใดๆ ล่าสุดสมาคมธนาคารไทย (TBA) พบจำนวนธุรกรรมที่มีความผิดปกติ โดยเฉพาะในวันที่ 14-17 ต.ค.ที่ผ่านมามีจำนวนทั้งสิ้น 10,700 ใบ โดยประมาณ 50% เกิดจากธุรกรรมบัตรเดบิตที่เกิดจากร้านค้าในต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ และเป็นธุรกรรมวงเงินขนาดเล็กเฉลี่ย 1 ดอลลาร์ และไม่ใช่รหัสยืนยันหรือ OTP โดยมูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นจากบัตรเดบิตอยู่ที่ราว 30 ล้านบาท และบัตรเครดิตราว 100 ล้านบาท ล่าสุด เพจ ทาสการตลาด ได้แชร์โปรโมชั่นจากธนาคารแห่งหนึ่ง โดยระบุว่า เป็นตลกร้าย โดยโฆษณาดังกล่าวเป็นโปรโมชั่น ประกันช็อปออนไลน์ หมดห่วงโดนแฮกเงิน ทั้งบัตร บัญชี วอลเลต เพียง 299 บาทต่อปี […]

error: