สั่งปิด “คาเฟ่ปลาคราฟ” ชี้ผิด พ.ร.บ.สาธารณสุข

Advertisement 23 พ.ย.67 นพ.ธิติ แสวงธรรม รองอธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า กรมอนามัย โดยศูนย์อนามัยที่ 6 ชลบุรี พร้อมด้วย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี สำนักงานสาธารณสุขอำเภอศรีราชา และเทศบาลตำบลบางพระ ลงพื้นที่ตรวจสอบร้านคาเฟ่แห่งหนึ่งใน จ.ชลบุรี หลังได้รับข้อร้องเรียน ว่ามีการจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม ในพื้นที่เลี้ยงปลาคราฟ ซึ่งอาจไม่ถูกสุขลักษณะ และเสี่ยงต่อสุขภาพทั้งผู้รับบริการ และปลาสวยงาม Advertisement     จากการตรวจสอบพบว่า ร้านดังกล่าวมีขนาด 4 x 4 เมตร ประกอบด้วยโต๊ะ เก้าอี้ ให้บริการ 4 ชุด 12 ที่นั่ง สำหรับทานอาหารและเครื่องดื่ม พื้นปูด้วยกระเบื้องเซรามิค เติมน้ำและเลี้ยงปลาคราฟจำนวนมาก ระดับน้ำแช่เท้าสูงประมาณ 15 – 20 ซม. และมีพื้นที่ล้างเท้าด้วยน้ำด่างทับทิบและน้ำเปล่าก่อนเข้าร้าน ภายในห้องมีเครื่องปรับอากาศ 1 เครื่องระบบกรองน้ำ 3 จุด […]

กรมอนามัย ขออย่าตระหนก หลัง WHO เตรียมประกาศ “แอสปาร์แตม” อาจเป็นสารก่อมะเร็ง

5 ก.ค.2566 นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวถึงกรณีข่าวองค์การอนามัยโลก (WHO) เตรียมประกาศสารให้ความหวานแทนน้ำตาล “แอสปาร์แตม (Aspartame)” เป็นหนึ่งในสารก่อมะเร็ง ว่า เรื่องนี่ได้สร้างความตื่นตระหนกให้กับประชาชนเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะผู้ที่ชื่นชอบการดื่มเครื่องดื่มแบบไม่มีน้ำตาลหรือน้ำตาล 0% เพื่อต้องการควบคุมน้ำหนักไม่ให้ได้รับพลังงานจากน้ำตาลเพิ่ม แต่ยังติดได้รสชาติหวานอยู่ จึงขอชี้แจงให้ประชาชนเข้าใจเกี่ยวกับน้ำตาลให้ถูกต้อง น้ำตาลจัดเป็นคาร์โบไฮเดรตชนิดหนึ่ง เป็นสารอาหารที่ให้พลังงาน น้ำตาลธรรมชาติ (Sugar) ที่ใช้ในปัจจุบันมีหลากหลายรูปแบบขึ้นกับวัตถุดิบและกรรมวิธีที่ผลิต ทั้งน้ำตาลทราย น้ำตาลกรวด น้ำตาลโตนด น้ำผึ้ง น้ำผลไม้ และ น้ำเชื่อม เป็นต้น ส่วนน้ำตาลเทียม (Artificial Sweeteners) เป็นสารที่ผลิตขึ้นมาเพื่อแต่งเติมรสชาติหวานให้กับอาหารและเครื่องดื่มแทนน้ำตาลธรรมชาติ มีทั้งแบบที่ให้พลังงานและไม่ให้พลังงาน นิยมใช้ในผู้ที่ต้องการควบคุมระดับน้ำตาลและพลังงาน เช่น ผู้ป่วยโรคเบาหวานและผู้ที่กำลังควบคุมน้ำหนัก โดยสารให้ความหวานที่นิยมใช้กัน ได้แก่ แอสปาร์แตม แซ็กคาริน แอซีซัลเฟม โพแทสเซียม ซูคราโลส นีโอแทม ซึ่งทั้งน้ำตาลธรรมชาติและน้ำตาลเทียมควรกินในปริมาณที่เหมาะสม หากกินมากเกินไปก็จะส่งผลกระทบกับร่างกายได้ “การกินน้ำตาลธรรมชาติมากเกินไป จะส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง มีภาวะน้ำหนักเกิน เสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคอ้วน […]

กรมอนามัย รับสมัครบรรจุเป็น ขรก.หลายอัตรา หลายจังหวัด วุฒิ ปวส./ป.ตรี สมัครออนไลน์31พ.ค.-9มิ.ย.66

  กรมอนามัย รับสมัครคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการหลายอัตรา หลายจังหวัด วุฒิ ปวส./ป.ตรี ตำแหน่งนายแพทย์ปฏิบัติการ, ทันตแพทย์ปฏิบัติการ, พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ, เภสัชกรปฏิบัติการ, นักกิจกรรมบำบัดปฏิบัติการ, นักเทคนิคการแพทย์ปฏิบัติการ, นักรังสีการแพทย์ปฏิบัติการ, เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขปฏิบัติงาน, เจ้าพนักงานเภสัชกรรมปฏิบัติงาน, และเจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์การแพทย์ปฏิบัติงาน เปิดรับสมัครทางเว็บไซต์ https://anamai.thaijobjob.com ภายในวันที่ 31พ.ค.-9มิ.ย.66 ((คลิกที่นี่เพื่ออ่านรายละเอียดเพิ่มเติม/ดาวน์โหลดเอกสารประกาศฉบับเต็ม))

กรมอนามัยเผย คนไทยนั่งนานเกิน7ชม. เสี่ยงป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เสียชีวิตก่อนวัยอันควร

(27 มีนาคม) นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับ สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP) ศึกษาวิจัยสถานการณ์การมีกิจกรรมทางกายเพียงพอและพฤติกรรมเนือยนิ่งของคนไทย โดยวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมสุขภาพคนไทยในปี 2564 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ในผู้ที่มีอายุ 18-80 ปี จำนวน 78,717 คน ครอบคลุม 77 จังหวัด พบว่า ร้อยละ 76 มีพฤติกรรมเนือยนิ่ง โดยการนั่งตั้งแต่ 7 ชั่วโมงขึ้นไปต่อวัน และร้อยละ 72 มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ ตามข้อแนะนำขององค์การอนามัยโลกคือ 150 นาทีต่อสัปดาห์ สาเหตุหนึ่งที่คนไทยมีพฤติกรรมเนือยนิ่งสูง เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงานที่ใช้แรงกายลดลง เช่น การเปลี่ยนจากการทำงานภาคเกษตรกรรมหรืออุตสาหกรรมเป็นรูปแบบการนั่งในห้องทำงานแทน ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรเนื่องจากอัตราการเผาผลาญพลังงานต่ำ นอกจากนี้ ผลการศึกษายังพบว่า คนไทยมีการทดแทนการขยับร่างกายที่น้อยในการทำงาน ด้วยการออกกำลังกายหรือมีกิจกรรมนันทนาการในยามว่างแทน โดยเฉพาะคนเมือง พบว่ามีสัดส่วนกิจกรรมทางกายในนันทนาการและการเดินทางมากกว่าคนชนบท เนื่องจากสภาพแวดล้อมทางกายภาพในการเข้าถึงสถานที่นันทนาการ โครงสร้างพื้นฐานในการเดิน เช่น ทางเดินเท้า การผังเมือง รวมถึงระบบขนส่งสาธารณะในเมืองดีกว่าชนบท […]

15อัตรา!! กรมอนามัย รับสมัครบรรจุเป็นพนักงานราชการ วุฒิ ปวส./ป.ตรี 13-19มี.ค.66

  กรมอนามัย รับสมัครบุคคลเพื่อเลือกสรรเป็นพนักงานราชการทั่วไป 1. นักเทคนิคการแพทย์ 1 อัตรา ป.ตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ และได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาเทคนิคการแพทย์ หรือได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ของสภาเทคนิคการแพทย์ 2. นักวิชาการคอมพิวเตอร์ 5 อัตรา ป.ตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งทางคอมพิวเตอร์ 3. นักวิชาการสาธารณสุข (ด้านการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ) 1 อัตรา ป.ตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ ทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ ทางวิทยาศาสตร์การกีฬา ทางวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ ทางวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย 4. นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ (ด้านจุลชีววิทยา) 1 อัตรา ป.ตรี หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ หรือ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ทางจุลชีววิทยา 5. นักวิเคราะห์นโยบายและแผน 2 อัตรา ป.ตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในทุกสาขาวิชา 6. นักทรัพยากรบุคคล 1 อัตรา ป.ตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในทุกสาขาวิชา 7. นักจัดการงานทั่วไป 2 อัตรา […]

กรมอนามัย เตือนร้านค้าอย่าใช้ “ลวด-แม็ก” ในบรรจุภัณฑ์อาหาร

27 ต.ค. 65 นพ.อรรถพล แก้วสัมฤทธิ์ รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวถึงกรณีเด็ก 8 ขวบ กินไก่ย่างกลืนลวดมัดปลายไม้ไก่ย่าง โดยไม่รู้ตัว ส่งผลให้เจ็บคอ แต่ผู้ปกครองส่งรักษา แพทย์ใช้เครื่องมือส่องกล้องคีบนำลวดออกมาได้อย่างปลอดภัย ว่า ขอเตือนพ่อค้า แม่ค้า ผู้จำหน่ายอาหารห้ามนำลวดหรือลูกแม็กซ์ มาใช้ในการบรรจุอาหาร เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค โดยเฉพาะลวดมัดปลายไม้ไก่ย่าง เพราะเมื่อโดนความร้อนเป็นเวลานาน อาจมีสารปนเปื้อนได้ ควรใช้วัสดุที่มองเห็นได้ชัดเจน หรือเปลี่ยนเป็นบรรจุภัณฑ์ที่สามารถปิดล็อกได้ทันที และควรเลือกใช้ภาชนะบรรจุอาหารที่เหมาะสม หรือ Food Grade รวมถึงผู้ประกอบการและผู้สัมผัสอาหาร ต้องผ่านการอบรมตามกฎหมายด้วย “เพื่อความปลอดภัยประชาชนควรหลีกเลี่ยงการเลือกซื้ออาหารที่มีลวดหรือลูกแม็กซ์ ในบรรจุภัณฑ์อาหาร เพราะอาจเผลอเคี้ยวหรือกลืนเข้าไปได้ กรณีเผลอกลืนลวดหรือลูกแม็กซ์ขนาดเล็กลงไปแล้ว และไม่ได้ติดอยู่ที่บริเวณคอหอยและทอนซิล จะลงไปสู่กระเพาะอาหาร ปะปนไปกับอาหารที่ย่อยไม่หมด เมื่อเคลื่อนเข้าสู่ลำไส้ใหญ่จะปนอยู่ในอุจจาระ โอกาสเกิดอันตรายมีน้อย แต่หากมีขนาดใหญ่ที่มีส่วนแหลมยื่นออกมา อาจมีโอกาสไปติดที่หูรูดส่วนบนของหลอดอาหารหรือหูรูดส่วนล่าง ทำให้เยื่อบุบาดเจ็บและเกิดอันตรายได้ หากมีอาการเจ็บเวลากลืนอาหาร กลืนอาหารลำบาก และเจ็บกลางอก ให้รีบไปพบแพทย์” นพ.อรรถพล กล่าว   ข่าวจาก : ข่าวสด

เตือนซื้ออาหารออนไลน์ ระวังเชื้อรา-หมดอายุ ผู้บริโภครับอันตรายเอาผิดได้

26 ต.ค.2565 นพ.เอกชัย เพียรศรีวัชรา รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวถึงกรณีการสั่งซื้อผลิตภัณฑ์อาหารผ่านออนไลน์แล้วได้สินค้าหมดอายุ ว่า ปัจจุบันคนนิยมซื้อสินค้าผ่านแอพพลิเคชั่นทางออนไลน์กันมากขึ้น เพราะสะดวก ประหยัดน้ำมัน และไม่เสียเวลาเดินทาง ผู้ผลิตยังนิยมจัดกลยุทธ์การตลาดเพื่อกระตุ้นยอดขาย ทำให้ผู้บริโภคสั่งซื้ออาหารนั้นบ่อยและมากขึ้นโดยไม่รู้ตัว จึงควรระวังสินค้าเก่าเก็บที่อาจเสี่ยงเชื้อรา หากเก็บรักษาที่ไม่เหมาะสม เช่น เก็บไว้ในที่ชื้นเกินไป หรือไม่มีการอบให้แห้งดีพอ ก่อให้เกิดอะฟลาทอกซิน หากมีการบริโภคเข้าไปสะสมในปริมาณมากก็จะทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งได้ นพ.เอกชัย กล่าวต่อว่า หรืออย่างกรณีที่มีการแชร์เรื่องซื้อโดนัทจากห้างสรรพสินค้าผ่านแอพพลิเคชั่น แต่ได้รับของหมดอายุผ่านโซเชียลมีเดีย แม้ พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ. 2522 การจำหน่ายอาหารที่หมดอายุยังไม่ถือ เป็นความผิด แต่เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาตามกรณีดังกล่าว การสั่งสินค้าทางออนไลน์ ผู้บริโภคควรพิจารณาภาพประกอบการขายสินค้าอย่างละเอียด เพื่อเป็นการเลือกสินค้าที่มีคุณภาพเบื้องต้น นพ.เอกชัย กล่าวอีกว่า รวมถึงเมื่อได้รับสินค้าควรสังเกตบรรจุภัณฑ์ที่สะอาด มีฝาปิดมิดชิด ซองบรรจุไม่มีรูรั่ว และอ่านฉลากให้ครบถ้วน ตั้งแต่ชนิด ส่วนประกอบ วันเดือนปีที่ผลิต หรือวันเดือนปีที่หมดคุณภาพ ส่วนอาหารสดก่อนที่จะนำมาปรุง ประกอบอาหาร ควรล้างให้สะอาดเพื่อขจัดสิ่งปนเปื้อน และควรตรวจสอบวันหมดอายุก่อนนำมาบริโภคทุกครั้ง หากพบอาหารที่สั่งมามีกลิ่นหรือสีที่เปลี่ยนไปถึงแม้จะมองไม่เห็นว่ามีเชื้อราก็ตามไม่ควรนำมาบริโภค “หากรับประทานอาหารที่เลยวันที่ควรบริโภคก่อน (best before date) คุณค่าทางโภชนาการจะลดลงไปเรื่อยๆ ขณะเดียวกันความอันตรายต่อสุขภาพก็เกี่ยวกับการเก็บรักษาอาหาร […]

กรมอนามัยแจง ทำแท้งถูกกฎหมาย ไม่ได้ให้ทำเสรี ต้องปรึกษาก่อน

2 ต.ค. 65 นพ.เอกชัย เพียรศรีวัชรา รองอธิบดีกรมอนามัย ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การตรวจและรับคำปรึกษาทางเลือกในการยุติการตั้งครรภ์ ตามมาตรา 305 (5) แห่งประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2565 โดยกำหนดเพิ่มอายุครรภ์ 12-20 สัปดาห์ยุติการตั้งครรภ์โดยไม่ผิดกฎหมาย ว่า กฎหมายที่ออกมา ย้ำว่า ไม่ใช่ทุกคนที่เดินเข้ามาสถานพยาบาลแล้วจะได้รับการยุติครรภ์ เพราะจะมีขั้นตอนตามกระบวนการ ตั้งแต่การให้คำปรึกษา พิจารณาว่าควรหรือไม่ควรอย่างไร โดยข้อมูลพบว่า มารดาที่ได้รับคำปรึกษาเกินครึ่งหนึ่งเปลี่ยนใจตั้งครรภ์ต่อ อย่างไรก็ตาม ก่อนการยุติการตั้งครรภ์จะถูกกฎหมาย หลายคนไปทำแท้ง ซึ่งอาจเกิดอันตรายได้ เพราะคนที่ทำไม่ได้ผ่านการอบรม อันตรายที่เกิดขึ้นบ่อย คือ ติดเชื้อ ตกเลือด บางรายมีภาวะแทรกซ้อนตลอดชีวิตไม่สามารถมีลูกได้ บางรายอาจเสียชีวิต ทั้งนี้ เมื่อมีกฎหมายที่ถูกต้องออกมา หน่วยบริการสาธารณสุขทั่วประเทศ เครือข่ายภาคเอกชนสามารถประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนมารับคำปรึกษาได้ “คนที่ไม่กล้ามาเพราะกลัวว่าจะผิดกฎหมาย ก็จะกล้าเข้ามาปรึกษามากขึ้น สำนักอนามัยเจริญพันธุ์พยายามทำระบบออนไลน์ ผ่าน Telemedicine เป็นคลินิกให้คำปรึกษาโดยไม่เห็นหน้ากัน ทำให้วัยรุ่นกล้าเข้ามาปรึกษา เพื่อรับคำแนะนำว่าควรไปรับบริการที่ใด แต่หน่วยบริการยุติการตั้งครรภ์ยังไม่ครอบคลุมทุกจังหวัด รวมถึงความพร้อมของเจ้าหน้าที่ หลายคนทำใจไม่ได้ที่จะต้องทำ ก็ขอไม่ทำ แต่ก็จะมีเครือข่ายแพทย์ที่ยินดีทำอยู่มาก […]

กรมอนามัย รับสมัครบรรจุเป็นข้าราชการ21อัตรา 4-10ต.ค.65

  กรมอนามัย รับสมัครคัดเลือกเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการในตำแหน่งต่าง ๆ สังกัดกรมอนามัย (1) นายแพทย์ปฏิบัติการ (ศูนย์อนามัยที่ 4 สระบุรี) 3 อัตรา (2) นายแพทย์ปฏิบัติการ (ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี) 1 อัตรา (3) นายแพทย์ปฏิบัติการ (ศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา) 1 อัตรา (4) นายแพทย์ปฏิบัติการ (ศูนย์อนามัยที่ 4 สระบุรีปฏิบัติราชการที่สถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง) 2 อัตรา (5) พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ (ศูนย์อนามัยที่ 4 สระบุรี) 1 อัตรา (6) พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ (ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี) 2 อัตรา (7) พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ (ศูนย์อนามัยที่ 4 สระบุรีปฏิบัติราชการที่สถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง) 5 อัตรา (8) […]

กรมอนามัยออกประกาศคุมร้านอาหาร ปรุงกัญชาให้ลูกค้า ต้องแจ้ง 6 ข้อ

ขณะนี้กรมอนามัยได้ออกประกาศกรมอนามัย เรื่อง การนำใบกัญชามาใช้ในการทำ ประกอบ หรือปรุงอาหาร ในสถานประกอบกิจการอาหาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2565 เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมานี้ โดยให้ยกเลิกความในข้อ 3 เปลี่ยนเป็นกำหนดให้สถานประกอบกิจการอาหาร มีการจัดเก็บใบกัญชาที่สะอาด ถูกสุขลักษณะ จัดเก็บเป็นสัดส่วน อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ไม่ทำให้เกิดเชื้อรา หรือเน่าเสีย แทน อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า สำหรับข้อกำหนดอื่น ๆ ในประกาศยังคงเหมือนเดิม คือ สถานประกอบการกิจการอาหาร ต้องควบคุม กำกับ และต้องจัดให้มีการสื่อสารข้อมูลด้านสุขภาพและต้องตระหนักด้านความปลอดภัยแก่ผู้บริโภค เกี่ยวกับการจำหน่ายอาหารที่มีการใช้ใบกัญชาเป็นส่วนประกอบของอาหาร ได้แก่ 1) จัดทำข้อความที่แสดงข้อมูลเป็นสถานประกอบกิจการอาหารที่มีการใช้กัญชา 2) แสดงรายการอาหารที่มีการใช้ใบกัญชาทั้งหมด 3) แสดงข้อมูลปริมาณการใช้ใบกัญชาเป็นส่วนประกอบต่อรายการอาหารตามประเภทการทำ ประกอบหรือปรุงอาหาร เช่น อาหารทอด แนะนำการใช้ใบกัญชาสด 1-2 ใบสดต่อเมนู สำหรับอาหารประเภทผัด แกง ต้ม ผสมในเครื่องดื่มแนะนำการใช้ใบกัญชาสด 1 ใบสดต่อเมนู […]

1 2 5
error: