รมว.ศึกษาฯถกข้อกฎหมายกับนิติกร จ่อฟ้องแก๊งบวช ค่าสอบใหม่พุ่ง1ล้าน จ่ายทำขวัญต่างหาก

Advertisement “หมอธี” ถกนิติกรของ ศธ. รวบรวมมูลค่าความเสียหายต่างๆ ทำให้ต้องจัดสอบใหม่ พร้อมดำเนินคดีฟ้องแพ่ง เบื้องต้นค่าเสียหายประมาณ 1 ล้านบาท ไม่นับรวมค่าทำขวัญ Advertisement วันนี้ (28 ก.พ.) นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รมว.ศึกษาธิการ ให้สัมภาษณ์กรณีกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เตรียมฟ้องร้องค่าเสียหายจากกลุ่มอันธพาลงานบวช ที่เข้าทำร้ายร่างกาย และทรัพย์สินของโรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ ในระหว่างการทดสอบความถนัดวิชาชีพครู หรือ PAT 5 เมื่อวันที่ 24 ก.พ.ที่ผ่านมา ซึ่งจะมีการสอบรอบพิเศษเหตุสุดวิสัยให้นักเรียน 248 คนที่ได้รับผลกระทบในวันที่ 5 มี.ค. ที่สนามสอบโรงเรียนบางปะกอกวิทยาคม ว่า สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ได้รายงานตัวเลขการฟ้องร้องค่าเสียหายมาแล้ว เบื้องต้นคือ 7 แสนบาท แต่ตนขอให้ทบทวนเนื่องจากมีตัวเลขซ้ำของค่าใช้จ่ายในการจัดสอบรอบแรก ซึ่งไม่ควรนำมารวม แต่เมื่อคำนวณการจัดสอบครั้งที่สอง ซึ่งก็ใช้เงินจำนวนมากทั้งค่าออกข้อสอบ ค่าผู้คุมสอบ การจัดการประชุม รวมทั้งค่าเสียหายของโรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ รวมค่าเสียหายประมาณ 1 ล้านบาท ซึ่งไม่รวมค่าทำขวัญ Advertisement “ผมได้มอบให้นิติกรของ ศธ.ไปรวบรวมข้อมูลความเสียหายต่างๆ […]

กระทรวงศึกษาฯ เล็งเปิดโอกาสให้ครูช่างสายอาชีพไม่ต้องมีตั๋วครู

  รมว.ศึกษาธิการ ถก บอร์ดคุรุสภา สรุปมติมอบ กมว.ออกประกาศหลักเกณฑ์ใหม่สำหรับครูช่างสายอาชีพไม่ต้องมีใบอนุญาตประกอบการวิชาชีพครูแล้ว  ย้ำ ครูที่สอนวิชาสามัญยังต้องมีตั๋วครู (13 ก.พ.) นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการคุรุสภา ว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ (กมว.) ไปจัดทำรายละเอียดเกี่ยวกับการเตรียมประกาศเรื่องการแก้ไขหลักเกณฑ์ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูอาชีวศึกษาสำหรับครูช่างที่สำเร็จการศึกษาสาขาอื่นและมีความรู้ มีทักษะด้านวิชาชีพช่างต่างๆ ให้มาเป็นครูได้โดยที่ไม่ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ซึ่งจากนี้ไป กมว.จะไปดำเนินการประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคกรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ปรับเกณฑ์มาตรฐานตำแหน่งครูอาชีวะ เป็นต้น  เพื่อให้การประกาศหลักเกณฑ์ในเรื่องนี้ไม่เกิดความวุ่นวายและจะได้ไม่เกิดผลกระทบอื่นๆตามมาภายหลัง  ดังนั้นระหว่างรอการประกาศหลักเกณฑ์ใหม่เรื่องใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูอาชีวะก็ยังให้ใช้ระเบียบเดิมไปก่อน  โดยเท่าที่ทราบขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ได้ทำหนังสือถึงกมว.ให้ยกเว้นใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูสำหรับครูอาชีวศึกษาโดยระบุว่า ขณะนี้ประกาศคณะกรรมการคุรุสภา เรื่อง กำหนดประเภทวิชาและสาขาวิชาขาดแคลนลงวันที่ 9 ม.ค.2558 ได้หมดอายุลงแล้ว ขอให้คุรุสภาออกประกาศฉบับใหม่ ให้ผู้สมัครสอบครูผู้ช่วยในสาขาวิชาขาดแคลนด้านอาชีวศึกษาที่ไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู จำนวน 98 สาขาวิชา สามารถสมัครสอบครูผู้ช่วย สังกัด  สอศ.ได้   รมว.ศึกษาธิการ กล่าวต่อไปว่า  ทั้งนี้กมว.ได้พิจารณาแล้วและอนุญาตให้บรรจุครูอาชีวะไปก่อนได้ โดยยกเว้นใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู สำหรับประเภทวิชาและสาขาวิชาขาดแคลนที่ สอศ.เสนอขออนุญาตบรรจุ โดยไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ 98 […]

มติคุรุสภาออกแล้ว! เลิกให้ ‘ตั๋วครู’ อัตโนมัติ ต้องสอบเท่านั้น เริ่มใช้กับนักศึกษาครูปีการศึกษา62

  นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการคุรุสภา ว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบการทดสอบเพื่อขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ตามที่คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ (กมว.) เสนอดังนี้ ให้ผู้สำเร็จการศึกษาที่ได้รับปริญญา หรือประกาศนียบัตรที่คุรุสภาให้การรับรองตามประกาศคุรุสภา เรื่องการรับรองปริญญา หรือประกาศนียบัตรทางการศึกษา เพื่อการประกอบวิชาชีพ พ.ศ.2557 ไม่ต้องผ่านการทดสอบเพื่อขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู แต่ต้องผ่านการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปีและผ่านเกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอน ให้ดำเนินการทดสอบเพื่อขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูกับผู้เข้ารับการศึกษาในหลักสูตรปริญญาทางการศึกษา และประกาศนียบัตรบัณฑิตทางการศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา 2562 เป็นต้นไป โดยมอบให้สำนักงานเลขาธิการคุรุสภาไปดำเนินการปรับปรุงแก้ไขข้อบังคับว่าด้วยใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ เรื่องการสอบรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ และประกาศที่เกี่ยวข้องเพื่อเสนอบอร์ดคุรุสภาพิจารณาต่อไป “จากนี้ไปผู้ที่จะมาเป็นครูจะไม่ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพโดยอัตโนมัติอีกต่อไป แต่จะต้องสอบเพื่อขอรับใบอนุญาต ทั้งผู้ที่เรียนหลักสูตรครู 4 ปีและ 5 ปี อย่างไรก็ตาม มติดังกล่าวจะไม่มีผลย้อนหลัง แต่จะเริ่มกับผู้ที่เข้าเรียนหลักสูตรครูในปีการศึกษา 2562 เป็นต้นไป ทั้งนี้ เพื่อให้วิชาชีพครูเกิดมาตรฐานอย่างเป็นระบบ เนื่องจากปัจจุบันมีสถาบัน ผลิตนักศึกษาครูเป็นจำนวนมาก” รมว.ศึกษาธิการกล่าว ด้านนายบูรพาทิศ พลอยสุวรรณ์ รองเลขาธิการคุรุสภา กล่าวว่า สำหรับการจัดสอบนั้นอยู่ระหว่างการพิจารณา โดยเบื้องต้นจะให้สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) เข้ามาเป็นหน่วยงานกลางในการจัดสอบ. ข่าวจาก : ไทยรัฐออนไลน์

สมาคมครูแห่งประเทศไทยคัดค้าน ปม ศธ.ขยายเวลาเกษียณจาก ต.ค.เป็นมี.ค.เพื่อแก้ปัญหาครูขาดแคลน ชี้ไม่มีประโยชน์ ทำระบบใหญ่เสีย!!

  เมื่อวันที่ 22 มกราคม นายสนอง ทาหอม ประธานสมาพันธ์สมาคมครูแห่งประเทศไทย (ส.ค.ท.) เปิดเผยว่า ตามที่นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) มีแนวคิดขยายเวลาเกษียณอายุราชการของครูจากเดือนตุลาคม ไปเป็นเดือนมีนาคม เพื่อให้ครูอยู่สอนเด็กจนจบภาคการศึกษา โดยสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) เตรียมหารือสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) เพื่อเสนอขอแก้ไขพ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2551 นั้น ตนไม่เห็นด้วย เพราะ ไม่มีประโยชน์  ระบบราชการของเรามีความเป็นเอกภาพดีอยู่แล้ว การทำแบบนี้มีแต่จะสร้างปัญหาให้มากขึ้น  การขาดแคลนครูในช่วงที่มีการเกษียณฯ  ถือเป็นการบริหารงานที่ขาดประสิทธิภาพของศธ. อัตราเกษียณฯในแต่ละปีเรารู้ล่วงหน้าอยู่แล้ว ว่ามีข้าราชการครูเกษียณฯ จำนวนเท่าไร สาขาวิชาเอกใดบ้าง ทางแก้ไขที่ถูกต้องคือ จะต้องเร่งดำเนินการบรรจุข้าราชการครูให้ได้ภายในวันที่ 1 ตุลาคม ของทุกปี เช่นเดียวกับระบบการบริหารงานบุคคลของทหาร ซึ่งมีการบรรจุไว้ล่วงหน้า จึงจะถือเป็นการแก้ไขที่ถูกต้อง ไม่ใช่ไปทำให้ระบบใหญ่เสีย ส่วนที่มองว่า การขยายเวลาเกษียณฯให้ครู จะทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็กดีขึ้น  ก็ไม่น่าจะใช่เพราะครูที่สอนก็เป็นคนเดิม จึงไม่น่าจะส่งผลต่อผลการเรียนของเด็ก นายอดิศร เนาวนนท์ คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏ(มรภ.)นครราชสีมา กล่าวว่า  โดยหลักการตนเห็นด้วยกับแนวคิดดังกล่าว  เพราะจะช่วยแก้ปัญหาขาดแคลนครู และไม่ให้สถานศึกษาต้องไปจ้างครูมาสอนหรือให้ครูชั้นอื่นมาสอนแทน […]

‘บิ๊กจิน’ ตีกลับ ร่างพ.ร.บ.ครู ประธาน กอปศ. ชี้ ยังตอบโจทย์ปฏิรูปการศึกษาไม่พอ!

  วันที่ 21 ม.ค. น.ส.อุษณีย์ ธโนศวรรย์ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) เปิดเผยว่า ตามสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ได้ส่งร่าง พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ฉบับใหม่ ซึ่งมีทั้งหมด 160 มาตราไปที่สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) นั้น พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี เห็นว่าควรนำร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้มา ถามความเห็นจากคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา (กอปศ.) รวมทั้งหน่วยงานอื่นๆ ที่ให้ความเห็นมา ดังนั้นเมื่อเร็วๆ นี้ นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการศธ. จึงได้เชิญกอปศ. มาหารือ ซึ่งนพ.จรัส สุวรรณเวลา ประธานกอปศ. เห็นว่า ร่างพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูฯ ที่เสนอไป ยังไม่สนับสนุน การปฏิรูปการศึกษา ที่จะขับเคลื่อนไปในอนาคตอีก 10 ปีข้างหน้า โดยกอปศ.เห็นว่ามีหลายส่วนที่ต้องปรับปรุง จึงได้นัดหารือในรายละเอียดอีกครั้งในวันที่ 29 ม.ค.นี้ “ประเด็นที่กอปศ.เห็นว่า ควรต้องมีการปรับปรุง อาทิ องค์ประกอบของคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) ส่วนราชการ […]

‘หมอธี’อัดอั้น กระทรวงศึกษาฯมีแต่เรื่อง แก้อะไรก็ติดปัญหาเยอะ ถ้ายุบได้น่าจะดี

  เมื่อวันที่ 10 ม.ค. นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รมว.ศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวปาฐกถาหัวข้อ “การศึกษาปฐมวัยเพื่อสังคมที่เสมอภาคและเศรษฐกิจที่ยั่งยืนตามเศรษฐศาสตร์ รางวัลโนเบล” ในงานมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ว่า ปัจจุบันเด็กไทยประมาณ 50% เป็นเด็กกำพร้าเทียม คือไม่ได้อยู่กับพ่อแม่ ซึ่งตัวเลขทั้งโลกชัดเจนอยู่แล้วว่าเด็กอยู่กับพ่อเดี่ยวแม่เดี่ยว ประมาณ 70% เพราะปัญหาครอบครัวหย่าร้าง แต่นั่นก็ไม่มีปัญหาอะไรถ้ามีคุณภาพ แต่สำหรับประเทศไทยเด็กกำพร้าเทียม ไม่ได้อยู่กับพ่อแม่จึงมีปัญหา และเมื่อไปอยู่ในสถานศึกษาก็เหมือนถูกซ้ำเติมเข้าไปอีกเพราะโรงเรียนไม่มีคุณภาพ รมว.ศธ.กล่าวอีกว่า นโยบายด้านการศึกษาไม่ใช่ออกโดยไม่รู้ว่าอะไรดี ไม่ดี หรือทำเพียงการเพิ่มดีกรีให้แก่ครู เพิ่มเงินเดือนครู เนื่องจากสิ่งเหล่านี้ไม่ได้ทำให้ครูสอนดีขึ้น และการพัฒนาเด็กที่ดีควรลงทุนตั้งแต่การศึกษาปฐมวัย เราต้องลงทุนสำหรับเด็กเล็กอย่างจริงจัง เพราะสมองเด็กกำลังสร้าง ถ้าช้ากว่านี้จะสายไป นอกจากนี้ การศึกษาปฐมวัยต้องเป็นการเพิ่มทักษะการเรียนรู้แก่เด็ก ซึ่งขณะนี้มีการส่งเสริมทักษะให้แก่เด็กมหาวิทยาลัย เด็กอาชีวะ แต่ไม่ค่อยเห็นการพัฒนาเท่าที่ควร ส่วนหนึ่งเกิดจากตอนเด็กเล็กไม่ได้มีการปลูกฝังทักษะเหล่านี้ หลักสูตรไฮสโคปเป็นหลักสูตรเน้นการปฏิบัติ การฝึกฝนทักษะที่จำเป็นแก่เด็ก ซึ่งในส่วนของโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ไม่ได้รับการตอบรับเท่าที่ควร เพราะติดปัญหาหลายอย่าง ซึ่ง ศธ.เป็นกระทรวงที่มีแต่เรื่อง กระทรวงที่ตนดูแลนี้ถ้ายุบได้น่าจะดีที่สุด และตนก็ไม่รู้สึกเสียดายตำแหน่งด้วย. ข่าวจาก : ไทยรัฐออนไลน์

รมว.ศึกษาฯเล็งขยายเวลาเกษียณครูจาก ก.ย.เป็นมี.ค. หวังช่วยแก้ปัญหาขาดแคลนครู

  กระทรวงศึกษาธิการ จัดงานวันครู ครั้งที่ 63 สุดยิ่งใหญ่ "บิ๊กตู่" ประธานจัดงานพร้อมคารวะครูสมัยเรียนรร.นายร้อยพระจุลฯ ด้าน "หมอธี" เล็งขยายเวลาเกษียณอายุราชการครูจากเดิมเดือนก.ย.ไปถึง มี.ค. ห่วงปัญหาเด็กขาดครู  วันนี้ (9 ม.ค.) ที่คุรุสภา กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) แถลงข่าวจัดงานวันครู ครั้งที่ 63 พ.ศ.2562  โดย นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า รัฐบาลภายใต้การนำของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้เห็นความสำคัญกับการศึกษาเป็นอย่างมาก ศธ.จึงกำชับให้ทุกหน่วยงานทำงานอย่างเต็มที่ เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาครูไทย ซึ่งปีนี้เป็นปีสุดท้ายของรัฐบาลชุดนี้ที่จะจัดงานวันครู โดยตลอดระยะเวลา 4ปีที่ผ่านมารัฐบาลชุดนี้ได้ทำให้การพัฒนาครูเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมไม่ว่าจะเป็นการซ่อมสร้างบ้านพักครู การอำนวยความสะดวกเรื่องการขอและต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู การเลื่อนวิทยฐานะครูที่ลดผลงานกระดาษ รวมถึงการลดภาระหนี้สินครู  การเริ่มโครงการคูปองพัฒนาครู ตลอดจนการลดภาระงานครูด้วยการจ้างครูธุรการให้ครบทุกโรงเรียน เพื่อให้ครูอยู่กับห้องเรียนอย่างเต็มเวลา ขณะเดียวกันตนมีแนวคิดที่อยากจะขยายเวลาการเกษียณอายุราชการของครูจากเดือนกันยายนให้ไปเกษียณในช่วงเดือนมีนาคมแทน เพื่อให้เด็กได้เรียนกับครูอย่างเต็มที ไม่ใช่ครูเก่งๆสอนดีๆเมื่อถึงเวลาเกษียณอายุราชการก็ต้องหยุดการปฎิบัติงาน แต่ก็มีครูจำนวนมากสอนต่อให้ฟรี และโรงเรียนบางแห่งบรรจุครูไม่ทัน ดังนั้นประเด็นนี้จึงเป็นเรื่องสำคัญ เพราะจะทำให้เด็กขาดครู  ทั้งนี้ประเด็นดังกล่าวเป็นเพียงแนวความคิดเท่านั้นหากจะทำให้เกิดขึ้นจริงต้องใช้เวลาพอสมควร  โดยตนจะดูระยะเวลาที่เหลือจะสามารถทำเรื่องนี้ให้เกิดขึ้นได้หรือไม่ แต่หากในยุคของตนดำเนินการไม่ทันก็ฝากให้ผู้มาสานต่อในตำแหน่ง รมว.ศึกษาธิการ ดูแลในเรื่องนี้ด้วย  […]

สพฐ. ยืนยัน โรงเรียนรัฐแต่งไปรเวทเหมือนกรุงเทพคริสเตียนไม่ได้ เพราะขัดระเบียบ

  กรณีโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาแต่งกายด้วย “ชุดไปรเวท” เข้าเรียนได้ทุกวันอังคาร ในมุมมองของผู้ช่วยเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระบุว่า จะนำไปเป็นบรรทัดฐานใช้กับโรงเรียนของรัฐไม่ได้ เนื่องจากมีระเบียบกำหนดไว้อย่างชัดเจน เมื่อวันที่ (8 ม.ค. 62) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยเครื่องแบบนักเรียน พ.ศ. 2551 ที่ระบุชัดเจนว่าโรงเรียนสังกัดรัฐบาลกำหนดให้นักเรียนแต่งเครื่องแบบที่โรงเรียนกำหนดเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย ตามมาตรฐานของกระทรวงศึกษาธิการ หากจะใช้เครื่องแบบเป็นอย่างอื่น เช่น ชุดลำลอง ชุดไทย ฯ ต้องได้รับอนุญาตจากศึกษาธิการจังหวัดก่อนจึงจะสามารถทำได้ นายอัมพร พินะสา ผู้ช่วยเลขาธิการ คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระบุว่า เมื่อระเบียบกำหนดไว้เช่นนี้ โรงเรียนของรัฐจึงไม่สามารถทำเช่นเดียวกับโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลมีสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ส่วนกรณีที่โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนฯถูกวิพากษ์วิจารณ์จากสังคมบางส่วนว่า  “ชุดไปรเวท”ที่อนุญาตให้นักเรียนใส่ได้ทุกวันอังคารเป็นโครงการวิจัยด้านการศึกษาที่เหมาะสมหรือไม่ นายชลำ อรรถธรรม เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ระบุว่า คณะกรรมการได้พูดคุยกับทีมผู้บริหารโรงเรียนแล้วว่า โดยกำชับว่า การทดลองด้วยวิธีการนี้ จะต้องไม่ให้กระทบต่อคุณภาพการศึกษาและอยู่ในขอบเขตที่เหมาะสม ส่วนความเสี่ยงที่จะเกิดความเหลื่อมล้ำ หากไม่กำหนดให้นักเรียนแต่งเครื่องแบบลักษณะเดียวกัน เชื่อว่า จะไม่เป็นปัญหา เพราะเด็กเข้าใจ และโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยเป็นโรงเรียนเอกชน ข่าวจาก : PPTVHD36

‘หมอธี’ โอเค! นักเรียนกรุงเทพคริสเตียนแต่งชุดไปรเวทได้ ชี้กรุงเทพคริสเตียนเป็นนิติบุคคล มีสิทธิดำเนินการได้

  8ม.ค.62 นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่ากากระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) กล่าวถึงกรณีที่โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย เริ่มทดลองให้นักเรียนแต่งชุดไปรเวทมาเรียน สัปดาห์ละ 1 ครั้ง หรือ ทุกวันอังคาร ว่า โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนถือเป็นนิติบุคคล ดังนั้นจึงมีสิทธิที่จะดำเนินการอะไรก็ได้ โดยเท่าที่ตนได้รับทราบเป็นการทำเพื่อการวิจัยเกี่ยวกับเรื่องการแต่งเครื่องแบบนักเรียน ซึ่งหากแต่งแล้วไม่ดีก็ยกเลิกได้ อีกทั้งตนเชื่อว่าการดำเนินการทุกอย่างโรงเรียนได้หารือกับผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาอยู่แล้ว เพราะตนไม่มีอำนาจไปตัดสินใครว่าดีหรือไม่ดี อีกทั้งเรื่องการแต่งเครื่องแบบนักเรียนก็มีความหลากหลายจากทั่วโลก เช่น ประเทศอังกฤษก็มีทั้งโรงเรียนที่แต่งเครื่องแบบนักเรียน และโรงเรียนบางแห่งก็ไม่มีชุดเครื่องแบบนักเรียน เป็นต้น ซึ่งเรื่องนี้ไม่มีอะไรตายตัว เป็นการทดลอง อีกทั้งเป็นธรรมเนียมปฏิบัติมากกว่า ซึ่งเท่าที่ดูโรงเรียนก็ไม่ได้ผิดกฎระเบียบแต่อย่างใด ด้าน นายชลำ อรรถธรรม เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาเอกชน (เลขาฯ กช.) กล่าวว่า  โรงเรียนได้ชี้แจงกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน (สช.) ว่า เป็นการทดลองทำวิจัยเรื่องการแต่งเครื่องแบบนักเรียน  ซึ่งการดำเนินการของโรงเรียนได้มีการสอบถามทั้งผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาแล้ว ซึ่งโรงเรียนเอกชนมีอิสระในการดำเนินการที่จะจัดกิจกรรมหรือเปลี่ยนแปลงอะไรก็ได้แต่ต้องอยู่ในความเหมาะสม และกรณีนี้ก็ไม่ได้มีอะไรที่ผิดกฎระเบียบของ สช. เป็นแค่การทดลองเท่านั้น หากไม่ดีก็ยุติการแต่งไปรเวทได้ ทั้งนี้ผู้ประกอบการร้านค้าไม่ต้องกังวลว่าจะไม่มีการผลิตเครื่องแบบนักเรียน ซึ่งยืนยันว่าเครื่องแบบนักเรียนยังอยู่ในรายการเรียนฟรี  15 ปีของ สช.เหมือนเดิม ข่าวจาก : หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์

กระทรวงศึกษาฯ จ่องัด ม.44 ตั้งมหาวิทยาลัยต่างชาติในไทยเพิ่ม หนุนการจัดการธุรกิจโรงแรม

  รมว.ศึกษาธิการ ถก พัฒนาการจัดการศึกษาอุดมศึกษาต่างประเทศ เตรียมงัดมาตรา 44 ตั้งมหาวิทยาลัยต่างชาติด้านการจัดการธุรกิจโรงแรมเพิ่ม ตั้งที่จ.ชลบุรี และ กทม. 4 ม.ค.62 นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการพัฒนาการจัดการศึกษาอุดมศึกษาต่างประเทศ (คพอต.) ที่ประชุมได้เห็นชอบการจัดตั้งสถาบันระดับอุดมศึกษาที่มีศักยภาพสูงทางด้านการจัดการธุรกิจโรงแรม ของ Les Roches Global Hospitality Education ในประเทศไทย ภายใต้ชื่อ Asian Institute of Hospitality Mamagementn, In Academic Association With Les Roches เพื่อเข้ามาจัดการศึกษาในเขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) โดยมีศูนย์การศึกษา 2 ศูนย์ คือศูนย์การศึกษาหลักที่จ.ชลบุรี และศูนย์ที่ 2 ที่กรุงเทพมหานคร ทั้งนี้เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพสูงที่จะเป็นผู้นำด้านการบริหารการท่องเที่ยวและโรงแรม ซึ่งเป็นการดำเนินการโดยไมเนอร์ กรุ๊ป ร่วมกับ Les Roches ของสวิตเซอร์แลนด์ โดยคุณภาพและมาตรฐานในการจัดการศึกษาและปริญญาที่จะได้รับเป็นมาตรฐานเดียวกับ Les […]

1 7 8 9 12
error: