กกร. ค้านขึ้นค่าแรง 400 บาท ความเสี่ยงโถมใส่เอกชน อาจรับไม่ไหว

Advertisement ข้อเสนอจุดยืนคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ต่อนโยบายการปรับขึ้น ค่าจ้างขั้นต่ำ ของประเทศไทย คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ประกอบด้วย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย เห็นด้วยกับการยกระดับรายได้ของแรงงานไทยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น แต่มีความกังวลเป็นอย่างยิ่งต่อนโยบายการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 400 บาทเท่ากันทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวะที่เศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยมีความผันผวนและเปราะบางจากภูมิรัฐศาสตร์ที่ส่งผลต่อประเทศและภาคธุรกิจไทยให้เผชิญกับความท้าทายรอบด้าน Advertisement ดังนั้น กกร. จึงขอเสนอแนะ แนวทางการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำที่เหมาะสมโดยคำนึงถึงบริบททางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ รวมถึงผลกระทบต่อภาคส่วนต่างๆ ดังต่อไปนี้ 1. สถานการณ์สภาพเศรษฐกิจต่อนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาทเท่ากันทั่วประเทศ กกร. เห็นว่า การกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาทเท่ากันทั่วประเทศนั้นไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของเศรษฐกิจและสังคมที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่จังหวัด ซึ่งจะส่งผลกระทบเชิงลบต่อการจ้างงานของทุกภาคส่วนที่ใช้แรงงานทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ประกอบการภาคเกษตร ภาคบริการ และภาคธุรกิจในทุกระดับ ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของเศรษฐกิจไทย อีกทั้งจากผลการพิจารณาของคณะอนุกรรมการพิจารณาค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัด ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนจากฝ่ายนายจ้าง ลูกจ้าง และภาครัฐ มากกว่าร้อยละ 90 ไม่เห็นด้วยกับการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 400 บาทเท่ากันทั่วประเทศ และร้อยละ 30 มีมติไม่ขอปรับขึ้นค่าจ้าง โดยทั้งนี้คณะอนุกรรมการค่าจ้างจังหวัดมีมติเห็นชอบให้ปรับขึ้นค่าจ้างตามตัวแปรปัจจัยทางเศรษฐกิจและความสามารถของแต่ละจังหวัด […]

ก.แรงงาน ยืนยัน 1 ม.ค.2568 ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท ทั่วประเทศ

แหล่งข่าวจากกระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึงนโยบายการขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ หรือค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาทต่อวัน ตามนโยบายรัฐบาล ว่า กระทรวงแรงงานพร้อมผลักดันการปรับขึ้น 400 บาทต่อวัน ทั่วประเทศ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2568 เพื่อเป็นหนึ่งในของขวัญปีใหม่ให้กับผู้ใช้แรงงาน เนื่องจากขณะนี้ในขั้นตอนการดำเนินงานมีความชัดเจนแล้ว โดยเฉพาะการจัดตั้งคณะกรรมการค่าจ้าง หรือบอร์ดไตรภาคีชุดใหม่ ทั้งนี้ในการจัดตั้งคณะกรรมการค่าจ้างชุดใหม่เพื่อทดแทนชุดเดิมนั้น กระทรวงแรงงงาน ได้ข้อสรุปว่า จะเสนอรายชื่อผู้ดำรงตำแหน่งกรรมการฝ่ายรัฐ 2 คนที่ว่างอยู่ให้กับที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา ในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2567 นี้ โดยในส่วนของกรรมการที่เป็นอดีตผู้บริหารของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) นั้น กระทรวงแรงงานจะแก้ปัญหาด้วยการส่งกรรมการฝ่ายรัฐเป็นผู้แทนจากกระทรวงการคลังไปแทน ทั้งนี้หากที่ประชุมครม.เห็นชอบรายชื่อคณะกรรมการทั้ง 2 คนที่กระทรวงแรงงานเสนอแล้ว ในขั้นตอนต่อไป คณะกรรมการค่าจ้าง จะเริ่มต้นนัดประชุมกันนัดแรกอย่างเร็วที่สุดคือในเดือนธันวาคม 2567 นี้ และจะเร่งสรุปรายละเอียดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของคณะอนุกรรมการค่าจ้างจังหวัดที่เสนอมา โดยตั้งเป้าหมายการปรับขึ้นอัตราค่าจ้าง หรือค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาทต่อวัน ภายในวันขึ้นปีใหม่ 2568 เป็นต้นไป “ตอนนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้รับทราบรายละเอียดทั้งหมดแล้ว และจะเสนอที่ประชุมครม.ได้ในวันที่ […]

40 หอฯนานาชาติ ค้านค่าแรง 400 กังวลกระทบลงทุน ควักเพิ่ม ได้งานเท่าเดิม

เป็นประเด็นร้อนแรงและต้องติดตาม หลังรัฐบาลเศรษฐา ประกาศเดินหน้าเตรียมปรับขึ้นค่าจ้างหรือค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาทต่อวันทั่วประเทศ โดยจะให้มีผลบังคับใช้ช่วงเดือนกันยายน – ตุลาคมนี้ ได้รับเสียงเฮลั่นจากกลุ่มสมาพันธ์สมานฉันท์แรงงานไทย (สสรท.)และสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.)หลังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน (นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ) ประกาศจะสนับสนุนให้ปรับขึ้นค่าแรง 400 บาททั่วประเทศ ทั้งนี้เพื่อเป็นก้าวแรกก่อนที่จะมีการปรับค่าจ้างในอัตรา 600 บาทต่อวันในปี 2570 พร้อมรับปากจะหารือกับสภาอุตสาหกรรมฯ สภาหอการค้าฯและผู้ประกอบการเอสเอ็มอี เพื่อหาแนวทางช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ อาทิ ด้านภาษี และการอัพสกิล รีสกิล ให้กลุ่มลูกจ้างโดยเร็วที่สุด ในมุมลูกจ้าง การปรับขึ้นค่าจ้างจะช่วยเพิ่มรายได้ และช่วยให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น เพราะปัจจุบันรายได้ลูกจ้างส่วนใหญ่ไม่พอรายจ่าย จากปัจจุบันค่าครองชีพสูงขึ้นตามราคาสินค้าและค่าบริการต่าง ๆ ที่ปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่ฝ่ายคัดค้านการปรับขึ้นค่าแรง 400 บาทเท่ากันทั่วประเทศ ได้แก่ ภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.), หอการค้าและสภาอุตสาหกรรม 76 จังหวัด, สมาคมการค้า 95 สมาคม, สภาองค์กรนายจ้าง 16 แห่ง เหตุผลหลัก ๆ […]

รัฐบาล เปิดเหตุผลทำไมต้อง “ปรับขึ้นค่าแรง 400 บาท – ขึ้นเงินเดือนข้าราชการ”

(2 พ.ค.67) นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงเหตุผลที่ว่า ทำไมต้องมีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท/วัน ทั่วประเทศ รวมทั้งการปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการบรรจุใหม่ และขึ้นเงินบำนาญขั้นต่ำว่า ด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจยกระดับวิถีชีวิตประชาชนของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี สั่งการกำหนดแนวทางจนเกิดเป็นผลความสำเร็จ โดยได้ประกาศข่าวดีสำหรับผู้ใช้แรงงานไทย เตรียมปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 400 บาททั่วประเทศ ซึ่งจะเป็นการทยอยปรับขึ้นเริ่มวันที่ 1 ตุลาคม 2567 นี้ การปรับค่าแรงขั้นต่ำ 2567 โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า กระทรวงแรงงานจะนำประเด็นเรื่องการปรับค่าแรงขั้นต่ำเข้าหารือต่อที่ประชุมคณะกรรมการค่าจ้าง ในวันที่ 14 พฤษภาคม 2567 ทั้งนี้ การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 400 บาทต่อวัน เท่ากันทั่วประเทศนั้น กระทรวงแรงงานเปิดเผยว่า จะมีการหารือร่วมกับคณะกรรมการค่าจ้าง หรือไตรภาคี เพื่อศึกษาข้อมูลต่าง ๆ ว่ากิจการใดมีความพร้อมหรือยังไม่พร้อม และถ้าหากยังไม่พร้อม ต้องทำอย่างไรให้พร้อม ซึ่งใช้ระยะเวลาประมาณ 5 – 6 เดือน ในการประสานงานให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ยังไม่พร้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ประกอบการประเภท […]

นายจ้างขอทบทวนนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ ขอค้านแบบอัตราเดียว600บาททั่วประเทศ

นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทย กล่าวว่า นโยบายขึ้นค่าแรงขั้นต่ำวันะ 600 บาทและเงินเดือนผู้จบปริญญาตรี25,000 บาท ของพรรคเพื่อไทย จะเป็นภาระหนักต่อเอกชนโดยเฉพาะการขึ้นค่าแรงแม้ทยอยขึ้นใน 4 ปี หรือภายในปี 2570 เป็นการปรับขึ้นสูงถึง 40-60% หรือเฉลี่ยปีละ 10% ซึ่งเป็นสัญญาณตรงถึงภาคเอกชนที่ต้องเตรียมแบกรับภาระ รวมถึงมีโอกาสสูงที่จะทำให้นักธุรกิจต่างชาติชะลอการลงทุนในไทย เพราะข้อเสนอขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็นวันละ 600 บาท ถือเป็นการกระชากค่าแรงมากไปจึงต้องกลั่นกรองให้ดี เพื่อไม่ให้เพิ่มภาระหนักให้ภาคเอกชน ทั้งนี้ การปรับค่าแรงเป็นวันละ 600 บาท จะเป็นไปได้ถ้าเศรษฐกิจขยายตัว 7-10% และเอกชนมีรายได้เพิ่มขึ้นจากเศรษฐกิจขยายตัว ดังนั้นรัฐบาลต้องมองเป้าหมายการทำเศรษฐกิจเติบโตให้ได้ดีก่อน เพราะเมื่อเศรษฐกิจดีเชื่อว่าภาคเอกชนพร้อมขึ้นค่าแรงขั้นต่ำให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจ นอกจากนี้เห็นด้วยที่จะขึ้นค่าแรงในระดับที่เหมาะสมแต่ละพื้นที่ และควรเพิ่ม Productivityแรงงานควบคู่กัน ซึ่งรัฐบาลใหม่ควรตัดสินใจรอบด้านร่วมกับหน่วยงานรัฐ ภาคเอกชนและลูกจ้างที่ได้รับประโยชน์บนพื้นฐานของกฎหมาย ซึ่งปัจจุบันมีกลไกคณะกรรมการค่าจ้างกลางแต่ละจังหวัดพิจารณาปรับค่าแรงให้สอดคล้องเศรษฐกิจแต่ละพื้นที่ “หากขึ้นค่าแรงทันทีจะได้ไม่คุ้มเสีย วันนี้เศรษฐกิจมีความเสี่ยงหลายด้าน หากนายจ้างมีต้นทุนสูงขึ้นบางส่วนอาจรับไม่ไหว ซึ่งอาจชะลอการจ้างงานลดพนักงาน หรือธุรกิจที่ใช้แรงงานมากอาจพิจารณาย้ายฐานการผลิตรวมถึงนักลงทุนใหม่ที่อาจปรับแผนลงทุนประเทศอื่น ซึ่งจะกระทบเศรษฐกิจวงกว้าง ดังนั้นจึงต้องหารือหลายส่วนและหวังว่าจะทบทวนเพื่อให้เกิดรูปแบบที่ทุกภาคส่วนยอมรับ” แนะเลื่อนขึ้นไปปีหน้าห่วงเศรษฐกิจชะลอ นายธนิต โสรัตน์ สภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย กล่าวว่า การปรับค่าแรงขั้นต่ำจะพิจารณาจากองค์ประกอบหลายส่วน คือ 1.ภาวะเศรษฐกิจแต่ละจังหวัด […]

สภาพัฒน์หวั่น ขึ้นค่าแรงกระทบของแพง-การลงทุนถดถอย บีบภาระงบประมาณพุ่ง

22 พ.ค. 66 นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ เปิดเผยว่า ภาวะสังคมไทยไตรมาส 1/2566 สถานการณ์ด้านแรงงานปรับตัวดีขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการขยายตัวของการจ้างงานทั้งในและนอกภาคเกษตรกรรม อัตราการว่างงานปรับตัวเข้าสู่ระดับปกติ แรงงานมีการทำงานล่วงเวลามากขึ้น และได้รับค่าจ้างเพิ่มขึ้น โดยผู้มีงานทำมีจำนวนทั้งสิ้น 39.6 ล้านคน ขยายตัว 2.4% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนกรณีการเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ ตามนโยบายการหาเสียงในช่วงที่ผ่านมา มีทั้งเชิงบวกและลบ โดยเชิงบวกคือ แรงงานมีรายได้เพิ่มขึ้น ส่วนเชิงลบ คือ ภาคธุรกิจมีต้นทุนเพิ่ม ซึ่งจะมีการส่งผ่านต้นทุนไปสู่ราคาสินค้า ดังนั้น ต้องมีการพิจารณาให้ดีจากสถานการณ์ เนื่องจากจะเกี่ยวพันกับเรื่องการตัดสินใจของนักลงทุนที่จะเข้ามาลงทุนในไทย ซึ่งก็ต้องมีการเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ ด้วย นอกจากนี้ หากปรับเพิ่มเงินเดือนของผู้จบปริญญาตรี จะส่งผลทั้งภาครัฐและเอกชนได้รับผลกระทบ รัฐต้องปรับโครงสร้างเงินเดือนใหม่ ซึ่งส่งผลต่อภาระงบประมาณที่จะเพิ่มขึ้น ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบอีกครั้ง ถ้าแรงงานเงินไม่พอใช้ต้องกลับมาดูทักษะแรงงาน และค่าครองชีพแต่ละพื้นที่ ซึ่งมองว่าค่าแรงไม่ควรเท่ากันหมดทั้งประเทศ เพราะค่าครองชีพต่างกัน จะปรับขึ้นหรือไม่ ต้องไปพูดคุยกับคณะกรรมการไตรภาคี นายดนุชา กล่าวว่า สถานการณ์หนี้สินครัวเรือนในไตรมาส 4/2565 ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง ขณะที่คุณภาพสินเชื่อภาพรวมทรงตัว […]

ผู้ผลิตรองเท้าแกมโบล-มาม่า โอดต้นทุนสูงหลายทาง วอนรัฐขึ้นค่าแรงเป็นขั้นบันได

9 สิงหาคม นายนิติ กิจกำจาย กรรมการบริหาร บริษัท บิ๊กสตาร์ จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายรองเท้าแบรนด์ “แกมโบล” (GAMBOL) เปิดเผยว่า บริษัทเห็นด้วยที่รัฐบาลจะพิจารณาปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ เพื่อช่วยเหลือค่าครองชีพของประชาชนที่สูงขึ้นในขณะนี้ แต่อยากขอให้ไม่ปรับขึ้นแบบก้าวกระโดด ขอให้ปรับขึ้นแบบเป็นขั้นบันได เพื่อประคับประคองต้นทุน โดยระยะแรกบริษัทเห็นด้วยว่าควรปรับขึ้นไม่เกิน 5% คิดเป็นเงินกว่า 10 บาท รวมถึงต้องกำหนดเวลาให้ชัดเจนว่าจะบังคับใช้กี่ปี และมีการประกาศล่วงหน้าให้ผู้ประกอบการมีเวลาตั้งหลักในการบริหารจัดการเรื่องต้นทุนที่สูงขึ้น “ตอนนี้บริษัทเองมีภาระต้นทุนเพิ่มขึ้น 20-30% หากขึ้นค่าแรงจะทำให้ต้นทุนสูงขึ้นอีก ปัจจุบันที่โรงงานซึ่งตั้งอยู่ที่พระราม 2 มีคนงานร่วม 2,000 คน ส่วนใหญ่เป็นแรงงานต่างด้าว และไม่ว่าแรงงานไทยและต่างด้าว เราจ่ายค่าแรงขั้นต่ำให้ 331 บาทต่อคนต่อวัน ยังไม่รวมค่าโอที ค่าอื่นๆ อีก คิดเป็นค่าใช้จ่ายโดยรวมต่อเดือนหลาย 10 ล้านบาท “หากสุดท้ายรัฐเคาะขึ้นค่าแรง และเราไม่ไหวจริงๆ อาจพิจารณาปรับขึ้นราคาสินค้า ซึ่งบริษัทไม่อยากผลักภาระให้ผู้บริโภคเพิ่ม เพราะเพิ่งปรับราคาขึ้น 10% เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ขนาดมาม่ายังอั้นไม่ไหว ขอขึ้นราคา แสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการเดือดร้อนจากต้นทุนที่สูงขึ้นจริงๆ ก็เห็นด้วยขึ้นค่าแรงขึ้นต่ำ แต่ต้องมองผลกระทบในระยะยาวด้วย” […]

ออสเตรเลียขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ5.2% ช่วยค่าครองชีพประชาชน

คณะกรรมการงานที่ยุติธรรมของออสเตรเลีย มีมติเมื่อวันพุธ (15 มิ.ย.) ให้ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศ 5.2% มาอยู่ที่ 21.38 ดอลลาร์ออสเตรเลีย (515 บาท) ต่อชั่วโมง จาก 20.33 ดอลลาร์ออสเตรเลีย (490 บาท) ต่อชั่วโมง ตามอัตราเงินเฟ้อ เพื่อบรรเทาผลกระทบจากค่าครองชีพและค่าใช้จ่ายด้านพลังงานที่สูงขึ้น การเปลี่ยนแปลงนี้จะมีผลในวันที่ 1 ก.ค. นายเอียน รอสส์ ประธานคณะกรรมการงานที่ยุติธรรม เชื่อมั่นว่า การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำตามอัตราเงินเฟ้อนี้จะไม่ส่งผลลบต่อการเติบโตและศักยภาพในการแข่งขันของเศรษฐกิจออสเตรเลีย ด้านตัวแทนสหภาพการค้าหลายสหภาพในออสเตรเลียให้ความเห็นว่าดีใจมากต่อการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำนี้เพราะสมเหตุสมผลและยุติธรรม ต่างจากบรรดาตัวแทนจากธุรกิจที่มองว่าเป็นความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจ และมองว่าควรขึ้นค่าแรงขั้นต่ำที่ 2.5-3% เท่านั้น   ข่าวจาก : sanook

“สุชาติ” อ้างเพราะโควิดทำขึ้นค่าแรง400-425ไม่ได้ ลั่นปีนี้ขึ้นแน่

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน อ้างโควิด-19 ทำให้ไม่สามารถขึ้นค่าแรงขั้นต่ำไม่ได้ เหตุจะทำประเทศเสียหาย กระทบลงทุนในไทย พร้อมลั่นว่าปีนี้ขึ้นค่าแรงแน่นอน นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวถึงข้อเรียกร้องให้มีการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ตามที่พรรคพลังประชารัฐเคยประกาศไว้ ว่า ค่าแรง 400-450 บาท ตามนโยบายพรรคพลังประชารัฐทำได้แน่นอน หากไม่เกิดสถานการณ์โควิด-19 เพราะมันขึ้นแค่ปีละ 6-7% แต่เมื่อมันเกิดสถานการณ์โควิด มีการใช้มาตรา 75 ชะลอการจ้างงานถึง 2 ล้านกว่าคน ถ้าขึ้นค่าแรงมา คน 2 ล้านกว่าคนจะอยู่รอดหรือไม่ และเมื่อเขาอยู่ไม่รอด เราก็ต้องนำงบประมาณของทุกกระทรวงมาอุ้มคนที่กำลังตกงาน นายสุชาติ กล่าวต่อว่า ถ้าตนเป็นนักการเมืองที่ไม่เห็นแก่อนาคตของประเทศในอีก 3-4 ปีข้างหน้า จะประกาศขึ้นค้าแรงไม่ยากเลย แต่มันขึ้นแล้วทำลายประเทศ ใครจะมาลงทุนในประเทศเรา วันก่อนสภาอุตสาหกรรมก็ประกาศว่าต้องการแรงงาน 500,000 อัตรา และวันนี้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ก็อภิปรายว่ามีการเลิกกิจการมากมาย และถ้าขึ้นค่าแรง ตามที่พลังประชารัฐหาเสียงไว้ในปี 2563-2564 อะไรจะเกิดขึ้นกับประเทศไทย แต่ปีนี้ค่าแรงขึ้นแน่นอน ขอยืนยันต่อหน้าสภา แต่จะขึ้นเท่าไหร่ ตนต้องหาคำตอบให้กับสภานายจ้างก่อน เพราะวันนี้หาเขาอยู่ไม่ได้เราก็อยู่ไม่ได้ ก่อนจะย้ำว่าตนและพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา […]

เผยขึ้นค่าแรง492บาท ข่าวจริง แต่ไม่เท่ากันทั่วประเทศ รอลุ้น ก.ย.นี้

ข่าวจริง ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำแน่ แต่ไม่เท่ากันทั่วประเทศ รอลุ้นกันยายนนี้ ว่า แต่ละจังหวัดจะเคาะปรับขึ้นเท่าไร 9 พฤษภาคม 2565 ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม Anti-Fake News Center Thailand ชี้แจงกรณี นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ยืนยันปรับ “ค่าจ้างขั้นต่ำ” แต่ไม่ใช่ 492 บาท เท่ากันทั้งประเทศ เป็นเรื่องจริง โดยตรวจสอบข้อเท็จจริงกับสำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน กระทรวงแรงงาน เนื่องจากการเสนอให้ปรับ “ค่าจ้างขั้นต่ำ” 492 บาท เท่ากันทั้งประเทศ จะต้องนำค่าจ้างขั้นต่ำ ค่าครองชีพ ภาวะเงินเฟ้อมาเป็นตัวพิจารณาประกอบกัน ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ทั่วโลกใช้เป็นสูตรคำนวณ ดังนั้นการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ จะปรับขึ้นเท่าไรนั้น ต้องให้นายจ้างอยู่ได้ ลูกจ้างพอไปได้ เพื่อไม่ให้กระทบเป็นลูกโซ่ และยืนยันว่ารัฐบาลไม่ได้เข้าข้างฝ่ายนายจ้าง สำหรับขั้นตอนการพิจารณาการปรับขึ้น “ค่าจ้างขั้นต่ำ” มีคณะกรรมการค่าจ้าง ประกอบด้วยผู้แทนไตรภาคี 3 ฝ่าย คือ ผู้แทนฝ่ายนายจ้าง ฝ่ายลูกจ้าง และฝ่ายรัฐบาล เป็นผู้พิจารณา โดยปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนที่คณะอนุกรรมการค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัดพิจารณาเสนอมาที่ส่วนกลาง แต่ยังไม่ได้ตัวเลขข้อสรุปที่ชัดเจน […]

1 2 3
error: