(บทความเก่ามาเล่าใหม่)เลื่อนเงินเดือนระบบใหม่6% ฝันที่ไปไม่ถึง..ข้าราชการไทย
Advertisement Advertisement สำหรับข้าราชการไทยเงินเดือนถือเป็นรายได้หลักของครอบครัว การขึ้นเงินเดือนข้าราชการดูจะเป็นเรื่องใหญ่ที่มีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศเสมอ ดังจะเห็นได้จากทุกครั้งที่รัฐบาลประกาศนโยบายขึ้นเงินเดือนข้าราชการ ราคาของสินค้าในท้องตลาดจะต้องมีการขยับขึ้นทุกครั้งไป การเปลี่ยนระบบโครงสร้างเงินเดือนของข้าราชการไทยครั้งใหญ่เมื่อปี พ.ศ.2552 ได้มีการยกเลิกระบบบัญชีเงินเดือนมาเป็นการเลื่อนขั้นเงินเดือนแบบเปอร์เซ็นต์ (ขึ้นได้ไม่เกินรอบละ 6%) เป็นการมอบอำนาจให้ส่วนราชการบริหารเงินที่ได้รับจัดสรร (3%) ของตนเอง ซึ่งวิธีการเลื่อนเงินเดือนแบบนี้ เริ่มมีการใช้กับข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาครั้งแรกเมื่อเดือนเมษายน 2554 (การพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนรอบที่ 1 (ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม ถึง 31 มีนาคม) จนถึงปัจจุบันมหาวิทยาลัยได้ใช้วิธีการประเมินการเลื่อนขั้นเงินเดือนแบบนี้ไปแล้ว 3 รอบ ผลการประเมินเป็นที่พอใจบ้าง ไม่พอใจบ้าง ก่อให้เกิดเป็นคำถามคาใจกับพวกเราหลายๆ ประเด็น เช่น ตกลงว่าการใช้ระบบการขึ้นเงินเดือนแบบใหม่ดีกว่าแบบเดิมหรือไม่? ในวันนี้ผมจะยังไม่ตอบว่าระบบใหม่ดีกว่าระบบเก่าหรือไม่ แต่อยากขอให้ท่านทั้งหลายลองเปรียบเทียบจำนวนเงินที่ท่านได้รับจากการเลื่อนเงินเดือนทั้งสามรอบที่ผ่านมากับบัญชีการเลื่อนขั้นเงินเดือนแบบเก่าดู ท่านทั้งหลายก็จะได้คำตอบสำหรับตัวท่านเองในประเด็นนี้ แต่ผมมีสิ่งหนึ่งที่อยากจะบอกท่านคือ ไม่ว่าผลของการเปรียบเทียบที่ท่านพบจะเป็นอย่างไร ท่านจะชอบหรือไม่ชอบวิธีการเลื่อนขั้นเงินเดือนแบบใหม่นี้ก็ตาม ท่านทั้งหลายที่เป็นข้าราชการก็จำเป็นจะต้องยอมรับ และใช้ระบบการเลื่อนเงินเดือนแบบนี้ต่อไป จนกว่ารัฐบาลจะมีการปรับเปลี่ยนนโยบายอีกครั้งหนึ่ง ดังนั้น ณ จุดนี้ ผมจึงอยากให้พวกเราหันมาทำความเข้าใจกับ “กระบวนการประเมินผลการปฏิบัติราชการ” แบบใหม่ที่มหาวิทยาลัยใช้ประเมิน ซึ่งผมสรุปขั้นตอนสำคัญๆ ของการประเมินออกเป็น 4 ขั้นตอน ดังแสดงใน […]