ประกันสังคมเตรียมปรับ! เพิ่มเพดานค่าจ้างมาตรา 33 เป็น 1.75 หมื่น เริ่ม ม.ค. 69

Advertisement สำนักงานประกันสังคม ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำและขั้นสูงที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบกองทุนประกันสังคม พ.ศ. …. มีสาระสำคัญ เนื่องจากกฎกระทรวง ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2538) ได้กำหนดค่าจ้างขั้นสูงที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบกองทุนประกันสังคมของผู้ประกันตนมาตรา 33 ไว้ไม่เกิน 15,000 บาท ที่ใช้บังคับมาตั้งแต่วันที่ 30 มีนาคม 2538 ซึ่งค่าจ้างขั้นต่ำรายวันสูงสุดในขณะนั้นคือ 135 บาท Advertisement จึงสมควรปรับปรุงให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน และเป็นไปตามมาตรฐานเพดานค่าจ้างขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ตามอนุสัญญาฉบับที่ 102 เรื่องสิทธิประโยชน์ประกันสังคมขั้นพื้นฐาน เพื่อความเพียงพอของสิทธิประโยชน์ที่เป็นเงินทดแทนการขาดรายได้ รวมทั้งเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับกองทุนรองรับรายจ่ายค่ารักษาพยาบาลที่สูงขึ้น เพื่อการกระจายรายได้จากผู้มีรายได้มากไปสู่ผู้มีรายได้น้อยภายในระบบประกันสังคม และเพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นต่อระบบประกันสังคม สำหรับร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำและขั้นสูงที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบกองทุนประกันสังคม พ.ศ. …. มีหลักการสำคัญในการปรับเพิ่มเพดานค่าจ้างขั้นสูง ดังนี้ 1. เพื่อให้ผู้ประกันตนได้รับสิทธิประโยชน์เป็นเงินทดแทนการขาดรายได้ที่มีความเพียงพอสอดคล้องกับค่าจ้างจริง เนื่องจากฐานที่ใช้ในการคำนวณเพื่อรับสิทธิประโยชน์ดังกล่าวจะคำนวณจากค่าจ้างที่นำส่งเข้ากองทุนประกันสังคม ดังนี้ Advertisement เงินทดแทนการขาดรายได้กรณีเจ็บป่วย 50% ของค่าจ้างที่นำส่งเข้ากองทุน เงินทดแทนการขาดรายได้กรณีทุพพลภาพสูงสุด 50% ของค่าจ้างที่นำส่งเข้ากองทุน เงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร 50% ของค่าจ้างที่นำส่งเข้ากองทุน เงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิต 50% […]

เดินหน้าค่าจ้างขั้นต่ำ 400 ทั่วประเทศ รอรัฐบาลใหม่ประกาศ

4 กันยายน นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ให้สัมภาษณ์ภายหลังเป็นประธานเปิดงาน “มหกรรมรับงานและอาชีพอิสระ เพื่อคนไทยมีอาชีพ มีรายได้ ปีงบประมาณ 2567” และมอบโล่รางวัลสำหรับกลุ่มผู้รับงานไปทำที่บ้านที่มีความเข้มแข็งเป็น Best Practices ที่กระทรวงแรงงานว่า ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานได้มีการประสานงานระหว่างกรมการจัดหางาน (กกจ.) และกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) ในการที่จะช่วยให้ผู้คนมีงานทำได้อัพสกิลเพื่อเพิ่มรายได้ นายพิพัฒน์กล่าวว่า ปัจจุบันไทยมีแรงงานอยู่ในประกันสังคมตามมาตรา 33 ประมาณ 12 ล้านคน, มาตรา 39 ประมาณ 2 ล้านคน ส่วนมาตรา 40 ขณะนี้มีประมาณ 11 ล้านคน แต่อาชีพกลุ่มอิสระที่นอกเหนือจาก 3 กลุ่มนี้ อีกประมาณ 20 ล้านคน ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีการหลอกลวงเรื่องรับงานไปทำที่บ้านที่กำลังแพร่หลายในโลกออนไลน์ นายพิพัฒน์กล่าวว่า ขณะนี้กระทรวงแรงงานได้มีการประสานกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เพื่อไปทําการจับกุมแล้ว โดยเฉพาะทาง กกจ.ได้ส่งเจ้าหน้าที่ออกไปติดตาม และพยายามไปปิดและบล็อกเว็บไซต์ต่างๆ ที่มีการออกมาหลอกลวง โดยขอให้ผู้ใช้แรงงานเข้าไปที่ออนไลน์ของแพลตฟอร์มของโครงการจัดหางานโดยตรง เมื่อถามถึงการแถลงนโยบายต่างๆ ในรัฐบาลใหม่และความคืบหน้าเรื่องของค่าจ้างขั้นต่ำ นายพิพัฒน์กล่าวว่า […]

ลูกจ้างต้องทำงาน ‘ไม่เกิน 8 ชั่วโมง‘ ล่วงเวลาวันปกติ ได้ค่าโอที 1.5 เท่า

หากนายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลา ลูกจ้างต้องได้ค่าล่วงเวลาเท่าไร และต้องทำงานไม่เกินกี่ชั่วโมงต่อสัปดาห์จึงจะไม่ผิดกฎหมาย  วันนี้เรามีข้อมูลดี ๆ มาฝากค่ะ ค่าล่วงเวลา คือ ค่าตอบแทนการทำงานเกินเวลาทำงานปกติ หรือเกินชั่วโมงทำงานปกติในวันทำงาน หรือวันหยุด (เวลาทำงานปกติ ต้องไม่เกิน 8 ชั่วโมง/วัน) การจ่ายค่าล่วงเวลาและค่าทำงานวันหยุด เมื่อนายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลา ค่าล่วงเวลาที่ลูกจ้างควรที่จะได้รับต้องได้รับเงินเท่าไร และลูกจ้างแต่ละรูปแบบจะได้รับสิทธิแบบใด รายละเอียดมีดังนี้ ค่าจ้าง จ่ายไม่ต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ โดยจ่ายตอบแทนเวลาทำงานปกติเท่านั้น ค่าล่วงเวลาหรือนอกเวลาทำงานปกติในวันทำงาน นายจ้างต้องจ่ายค่าล่วงเวลาในอัตราไม่น้อยกว่า 1.5 เท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ ค่าล่วงเวลาในวันหยุด นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างในอัตราไม่น้อยกว่า 3 เท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ ค่าทำงานในวันหยุดประจำสัปดาห์ สามารถแบ่งลูกจ้างออกเป็น 2 ประเภท ได้ดังนี้ ลูกจ้างรายวัน หรือลูกจ้างที่มีสิทธิได้รับค่าจ้างที่คำนวณตามผลงาน หากไม่มาทำงานในวันหยุดก็ไม่ได้ค่าจ้าง แต่หากมาทำงานก็จะได้รับค่าทำงานในวันหยุดไม่น้อยกว่า 2 เท่า ลูกจ้างรายเดือน ซึ่งนายจ้างไม่สนใจว่าจะมาทำงานเดือนละกี่วัน หรือมีวันหยุดกี่วันนายจ้างก็เหมาจ่ายเป็นรายเดือน ซึ่งทำให้ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าจ้างแม้ไม่มาทำงานในวันหยุด ค่าทำงานในวันหยุดตามประเพณี หรือวันหยุดพักผ่อนประจำปี กฎหมายกำหนดให้มีลูกจ้างทุกประเภททั้งรายวัน ตามผลงาน หรือรายเดือนมีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุด หมายความว่าแม้ไม่มาทำงานก็ได้รับค่าจ้าง ทำงานล่วงเวลาและทำงานในวันหยุด ต้องไม่เกินกี่ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ? […]

‘Toyota’ ขึ้นค่าจ้างพนักงาน สูงสุด 7,000 บาท/เดือน มากสุดรอบ 25 ปี

สำนักข่าว CNBC รายงานในวันนี้ (13 มี.ค. 2567) ว่า “Toyota Motor” (โตโยต้า มอเตอร์) บริษัทผลิตรถยนต์รายใหญ่ที่สุดในโลก สัญชาติญี่ปุ่น ตกลงเพิ่มค่าแรงพนักงานจากที่เป็นอยู่ “สูงสุดในรอบ 25 ปี” ตามข้อเรียกร้องของสหภาพแรงงาน จนอาจกลายเป็นปัจจัยหนึ่งที่ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) อาจใช้พิจารณาปรับดอกเบี้ยนโยบาย ไม่เพียง Toyota บริษัทด้านรถและแบตเตอรี่อย่าง Panasonic (พานาโซนิค) และ Nissan (นิสสัน) ก็ตกลงตามข้อเรียกร้องขึ้นค่าจ้างของสหภาพแรงงาน โดยการเจรจาระหว่างบริษัทค่ายรถกับกลุ่มแรงงานได้ถูกจับตามองจากสาธารณะว่า อาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงนโยบายของธนาคารกลางญี่ปุ่น ที่อาจยุติดอกเบี้ยนโยบายติดลบอย่างเร็วที่สุดในช่วงสัปดาห์หน้า สำหรับจำนวนค่าจ้างที่ Toyota ปรับเพิ่มขึ้นจะสูงมากถึง 28,440 เยนหรือราว 7,000 บาท/เดือน และรวมเงินโบนัสด้วย โยชิมาสะ ฮายาชิ (Yoshimasa Hayashi) หัวหน้าเลขาธิการคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น ให้ความเห็นกับผู้สื่อข่าวว่า “พวกเรากำลังเห็นโมเมนตัมที่แข็งแกร่งจากการขึ้นค่าแรง และเป็นเรื่องสำคัญที่การเพิ่มค่าจ้างจะกระจายไปสู่บริษัทขนาดเล็กและขนาดกลางด้วย” นอกจากบรรดาบริษัทค่ายรถแล้ว บริษัทผลิตเหล็กอย่าง “Nippon Steel” (นิปปอน สตีล) […]

กรมการจัดหางาน เปิดรับสมัครคนทำงานบรูไน 40 อัตรา ค่าจ้างวันละ 2,560 บาท

นายสมชาย มรกตศรีวรรณ อธิบดีกรมการจัดหางาน เปิดเผยว่า กรมการจัดหางาน เปิดรับสมัครคนหางานเพื่อไปทำงานในประเทศบรูไนกับนายจ้างบริษัท ADININ WORK & ENGINEERING SDN BHD ซึ่งประกอบกิจการอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซ ในตำแหน่งช่างประกอบ และช่างเชื่อม ทำงานนอกชายฝั่ง มีประสบการณ์ทำงานอย่างน้อย 8 ปี ในตำแหน่งที่สมัคร (4 ปีทำงานบนแท่นขุดเจาะน้ำมันในอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซ) สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ รวม 40 อัตรา ค่าจ้าง 98 ดอลลาร์บรูไนต่อวัน หรือประมาณ 2,560 บาท (อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 1 ก.พ. 67 : 1 ดอลลาร์บรูไน เท่ากับ 26.1215 บาท) ระยะเวลาการจ้างงาน 2 ปี ทำงานสูงสุด 245 วันต่อปี โดยนายจ้างจะจัดที่พักให้ฟรี พร้อมดูแลเรื่องการรักษาพยาบาล และประกันค่าทดแทนในกรณีประสบอันตรายจากการทำงาน ผู้สนใจสามารถยื่นใบสมัครได้ทางอีเมล [email protected] […]

“สุชาติ” ยันปรับแน่ค่าจ้างขั้นต่ำ แต่ไม่ใช่492บาท มีสูตรเฉพาะ

‘สุชาติ’ ยันปรับแน่ค่าจ้างขั้นต่ำ แต่ไม่ใช่ 492 บาท ใช้สูตร ‘ค่าจ้าง-เงินเฟ้อ-ค่าครองชีพ’ มาตรฐานทั่วโลก เมื่อเวลา 12.25 น. วันที่ 1 พฤษภาคม 2565 ที่กระทรวงแรงงาน นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน แถลงถึงข้อเรียกร้องในการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ เท่ากันทั้งประเทศอัตรา 492 บาท ว่า การปรับค่าจ้างขั้นต่ำมีปลัดกระทรวงเป็นประธาน ที่ให้มีการพิจารณาประกอบการทั้งภาวะเงินเฟ้อ ค่าครองชีพ และอัตราค่าแรงในปัจจุบัน ซึ่งแต่ละพื้นที่แตกต่างกัน กรณีที่เสนอให้ปรับ 492 บาท เท่ากันทั้งประเทศ เป็นการคิดแบบตรรกะที่ตนไม่เข้าใจ เพราะสมมุติเช่าบ้านอยู่ลำปาง 2,000 บาท ค่าเช่าที่ชลบุรี กรุงเทพฯ ก็อีกราคาหนึ่ง ซึ่งแตกต่างกัน ฉะนั้นจะต้องเอาค่าครองชีพของแต่ละพื้นที่มาคำนวณ นายสุชาติกล่าวว่า ตนเคยเป็นลูกจ้างอยู่ในมาตรา 33 มาก่อนเข้าใจทุกอย่าง แต่ข้อเรียกร้องนั้นบางครั้งตนจะต้องสร้างสมดุลทั้งสองฝ่าย หยิน หยางต้องสมดุล การระบาดของโควิด-19 ช่วง 2 ปีที่ผ่านมาถามว่า นายจ้างบาดเจ็บเท่าไร เจ็บจนไม่รู้ว่าจะเอาเงินที่ไหนมาประคอง […]

ตัวแทนลูกจ้างบริษัทเอส พี เคฯ น้ำตานอง หวั่นบริษัทปิดหนี หลังค้างค่าจ้าง1.5เดือน!!

  เมื่อเวลา 11.00 น.วันที่ 8 มกราคม ที่ห้องรับรองรัฐมนตรี ชั้น 6 กระทรวงแรงงาน น.ส.สุรินทร์ พิมพา ฝ่ายรับเรื่องราวร้องทุกข์กลุ่มสหภาพแรงงานอ้อมน้อย-อ้อมใหญ่ ได้ยื่นหนังสือ เรื่อง ขอให้กระทรวงแรงงานเร่งรัดทางเจ้าหน้าที่แรงงาน จ.สมุทรสาคร ให้นายจ้างจ่ายเงินค่าจ้างลูกจ้างต่อ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน โดยระบุว่า ตามที่กลุ่มสหภาพแรงงานอ้อมน้อย-อ้อมใหญ่ ได้รับเรื่องราวร้องทุกข์จากบริษัทเอส พี เค มาร์เก็ตติ้ง จำกัด ตั้งอยู่ที่ 20/2 ม.9 ซ.นวลทอง ถ.เศรษฐกิจ 1 ต.สวนหลวง อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร ซึ่งผลิตโต๊ะ ตู้ และพลาสติกทุกชนิดมากว่า 40 ปี ปัจจุบันมีพนักงานรวม 71 คน อายุการทำงานแต่ละคนเฉลี่ย 10-20 ปี โดยเป็นพนักงานรายวันและรายเดือน ได้รับข้อร้องเรียนดังนี้ 1.ปัญหาความเดือดร้อนไม่ได้รับค่าจ้างจากนายจ้าง ตั้งแต่เดือนกันยายน 2560 จนถึงปัจจุบัน โดยนายจ้างจ่ายค่าจ้างเพียงครั้งเดียว […]

error: