สินค้าที่ไม่เข้าร่วม “เงินดิจิทัล 1 หมื่น” ผ่านมติ ครม. ล่าสุด

Advertisement “เงินดิจิทัล 10,000 บาท” ล่าสุดคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบกรอบหลักการโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet ตามมติคณะกรรมการนโยบายโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet ครั้งที่ 3/2567 เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2567 และมีมติเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง Advertisement ทั้งนี้ ประเด็นที่สำคัญของเงินดิจิมทัล 1 หมื่นบาทที่ประชาชนต้องกาารรับทราบข้อมูลเป็นอย่างมากก็คือ เงินดิจิทัลวอลเล็ตดังกล่าวสามารถนำไปใช้ซื้อสินค้าอะไรได้บ้าง จากการให้ข้อมูลของนายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โฆษกกระทรวงการคลัง ระบุว่า สินค้าที่ไม่เข้าร่วมรายการ “เงินดิจิทัล 10,000 บาท” ประกอบด้วย สลากกินแบ่งรัฐบาล เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาสูบ น้ำมันเชื้อเพลิง ก๊าซธรรมชาติ กัญชา กระท่อม พืชกระท่อม ผลิตภัณฑ์กัญชา-กระท่อม บัตรกำนัล บัตรเงินสด ทองคำ […]

‘จุลพันธ์’ ยันไม่ได้กู้ธ.ก.ส. แจกดิจิทัลวอลเล็ต แค่เป็นกลไกใช้งบประมาณ

23 เมษายน ที่ทำเนียบรัฐบาล นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รมช.คลัง กล่าวถึงกรณีสหภาพธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เข้าพบที่กระทรวงการคลังเมื่อวานนี้ (22 เม.ย.) เพื่อขอให้ชี้แจงกรณีที่จะนำเงินของ ธ.ก.ส.ไปใช้ในโครงการดิจิทัลวอลเล็ตใน 5 ประเด็นว่า เมื่อวานได้นั่งพูดคุยกันและชี้แจงเรียบร้อยดี และก็เข้าใจตรงกัน ยืนยันว่าไม่มีปัญหา ซึ่งพวกเขาก็ต้องการให้ทุกอย่างเป็นไปตามกฎหมาย โดยทางคณะกรรมการ และกระทรวงการคลังก็ได้ตรวจสอบทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว ยืนยันว่าทุกอย่างถูกต้อง อย่างไรก็ตามรัฐบาลต้องการความมั่นใจ ว่ามีขั้นตอนทางกฎหมายอะไรที่รัฐบาลต้องทำ เช่น ส่งให้ทางสำนักคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจสอบซึ่งก็ต้องทำ ส่วนได้กำหนดระยะเวลาให้ทางคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจสอบหรือไม่ นายจุลพันธ์กล่าวว่า ยังไม่ใช่ตอนนี้ เพราะทุกอย่างมีระยะเวลาของมัน แต่อย่างไรก็ตามตนยืนยันว่าไม่มีความกังวล เพราะรัฐบาลมั่นใจว่าทุกอย่างทำตามกรอบกฎหมายชัดเจน นายจุลพันธ์ยืนยันถึง 5 ข้อสงสัยของสหภาพแรงงาน ธ.ก.ส. ว่าสามารถชี้แจงได้หมด รวมถึงแหล่งที่มาของเงิน ส่วนเรื่องของสภาพคล่องไม่น่าเป็นห่วง เพราะ ธ.ก.ส.สามารถบริหารจัดการได้ โดยกลไกปกติผ่านการบริหารจัดการของธนาคาร ส่วนการชำระเงินคืนก็เป็นไปตามกลไกของงบประมาณ ที่รัฐบาลจะต้องมีกลไกในการชำระคืน ตาม ม.28 ให้กับ ธ.ก.ส.ในแต่ละปี พร้อมยืนยันว่าส่วนตัวไม่กลัวว่าจะเกิดแรงกระเพื่อมเพราะเมื่อวานได้พูดคุยกันเป็นไปอย่างเรียบร้อยดี และเข้าใจตรงกัน เมื่อถามว่า ขณะนี้รัฐบาลเป็นหนี้ ธ.ก.ส.อยู่ประมาณเท่าไหร่ นายจุลพันธ์ตอบว่า ประมาณ […]

ปชช.ไม่รู้จักแอป “ทางรัฐ” ช่องทางรับเงินดิจิทัลวอลเล็ต

หลังนายลวรณ แสงสนิท ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยช่องทางการแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาทว่าจะใช้แอปพลิเคชัน “ทางรัฐ” ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือ DGA โดยประชาชนต้องลงทะเบียนเพื่อยืนยันตัวตนรับสิทธิช่วงไตรมาส 3 ของปีนี้ และจะใช้จ่ายได้ในช่วงไตรมาส 4 แต่จากการสอบถามประชาชนส่วนใหญ่บอกเป็นเสียงเดียวกันไม่เคยได้ยินชื่อแอปฯ นี้มาก่อน พร้อมมองว่าอยากให้รัฐบาลแจกเป็นเงินมาเลย หรือแจกผ่านแอปฯ เป๋าตังจะสะดวกมากกว่า จากการสอบถามประชาชนส่วนใหญ่ยังบอกด้วยว่าไม่คาดหวังกับเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาทแล้ว หากได้ก็ดี หากไม่ได้ก็ไม่คาดหวัง แต่ก็ยังมีอีกส่วนหนึ่งที่ยังรอและหวังว่าจะได้ภายในสิ้นปีตามที่รัฐบาลบอก ไม่ว่าจะแจกผ่านช่องทางใดรับได้หมด ขอแค่ให้แจกจริง ทั้งนี้แอปฯ ทางรัฐเปิดตัวมาตั้งแต่ปี 2564 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัลร่วมกับหลายหน่วยงานภาครัฐ เช่น สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ, กรมการปกครอง, สำนักงานประกันสังคน และเครดิตบูโร เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการภาครัฐได้ในช่องทางเดียว ปัจจุบันประชาชนสามารถรับบริการจากภาครัฐกว่า 149 รายการ ผ่านแอปฯ ทางรัฐไม่ว่าจะเป็นการตรวจสอบเครดิตบูโร เช็กค่าน้ำ ค่าไฟ จ่ายบิล ตรวจสอบข้อมูลผู้ประกันตน เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด ใบสั่งจราจร เป็นต้น ส่วนที่ไม่เลือกใช้แอปฯ เป๋าตังในการแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต เนื่องจากแอปฯ ทางรัฐเป็นของรัฐจริง […]

สิ่งที่เจ้าของสิทธิ 50 ล้านคนรับเงินดิจิทัลวอลเล็ต ต้องรู้

หลังจากนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง คณะกรรมการนโยบายโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet สรุปความชัดเจนโครงการแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ตในไตรมาส 4 สำหรับกรอบหลักการโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการส่งเสริมให้มีเม็ดเงินหมุนเวียนในพื้นที่ และช่วยบรรเทาภาระค่าครองชีพ ยกระดับและพัฒนาคุณภาพชีวิตให้แก่ประชาชนที่ต้องการได้รับความช่วยเหลือ เช่น กลุ่มเปราะบาง เกษตรกร เป็นการส่งเสริมให้ประชาชนกลุ่มดังกล่าวและชุมชนมีความเข้มแข็งในด้านเศรษฐกิจ สามารถพึ่งพาตนเองได้รวมทั้งสร้างและเพิ่มโอกาสในการประกอบอาชีพของประชาชน อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาให้เกิดนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม เช็กเกณฑ์ 50 ล้านคน-เงื่อนไขการใช้จ่าย กลุ่มเป้าหมาย ประชาชนจำนวนประมาณ 50 ล้านคน อายุเกิน 16 ปี เดือนที่มีการลงทะเบียน ไม่เป็นผู้ที่มีเงินได้พึงประเมินเกิน 840,000 บาทต่อปีภาษี และมีเงินฝากกับธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจรวมกันไม่เกิน 500,000 บาท เงื่อนไขการใช้จ่าย ระหว่างประชาชนกับร้านค้า ใช้จ่ายเชิงพื้นที่ในระดับอำเภอ (878 อำเภอ) โดยกำหนดให้ใช้จ่ายกับร้านค้าขนาดเล็กที่ตามที่กระทรวงพาณิชย์กำหนดเท่านั้น ระหว่างร้านค้ากับร้านค้า ไม่กำหนดเงื่อนไขการใช้จ่ายเชิงพื้นที่ระหว่างร้านค้ากับร้านค้าในระดับอำเภอและขนาดของร้านค้า การใช้จ่ายเงินสามารถใช้จ่ายได้หลายรอบ โดยรอบที่ 1 จะเป็นการใช้จ่ายระหว่างประชาชนกับร้านค้าขนาดเล็กเท่านั้น […]

นายกฯ กระทุ้งแรงแบงก์ชาติ หั่นดอกเบี้ย ชี้กระทบค่าใช้จ่ายปชช.

6 กุมภาพันธ์ ที่ทำเนียบรัฐบาล นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ก่อนเป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้สัมภาษณ์ถึงโอกาสที่จะนัดคุยกับนายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลในมิติต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจว่า ขออนุญาตเรียนว่าจริงๆ แล้วเรื่องนโยบายการเงินการคลังเราคุยผ่านสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เรื่องตัวเลขเหล่านี้ นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.พาณิชย์ ได้อธิบายแล้ว เรื่องตรรกะเงินเฟ้อที่มาได้อย่างไรเรื่องที่เรามีมาตรการช่วยเหลือพี่น้องประชาชนลดค่าใช้จ่ายมาอย่างไร นายเศรษฐากล่าวว่า ขออนุญาตเรียนว่าจริงๆ แล้วเรื่องเงินเฟ้อกับดอกเบี้ยเป็นเรื่องใหญ่ แต่เราอย่าลืมว่าจริงๆ แล้วเงินเฟ้อที่มันติดลบส่วนหนึ่งเกิดจากที่เรามีมาตรการรัฐออกไปช่วยเหลือพี่น้องประชาชนเพื่อลดรายจ่าย นั่นแสดงให้เห็นว่าจริงๆ แล้วตรงนี้ประเด็นเรื่องเงินเฟ้อไม่มี ถ้าจะมีเกิดจากรากปัญหา คือ ต้นทุนสินค้าที่สูงขึ้น แต่เมื่อเราไปคุมตรงนั้นได้เงินเฟ้อก็ไม่มี นายเศรษฐากล่าวอีกว่า ทั้งนี้มาตรการที่จะขึ้นดอกเบี้ยหรือไม่ลดต้องดูที่เงินเฟ้อที่เกิดจากความต้องการคือเกิดจากการใช้จ่าย แสดงว่าดีมานด์มันไม่มี เงินเฟ้อไม่มี ถ้าตรงนี้ไม่เกิดแสดงว่าปลอดภัยหรือเปล่า ที่จะเลิกลดดอกเบี้ยได้แล้วเพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ ถ้าเกิดลดดอกเบี้ยมาแล้วเกิดมีปัญหาเรื่องของดีมานซึ่งมันเยอะอยู่แล้วก็อาจจะก่อให้เกิดเงินเฟ้อได้ แต่อย่างนี้ตนคิดว่าดูจากตัวเลขทั้งสองฝ่ายแล้ว Cost-push หรือเงินเฟ้อที่เกิดจากราคาแพงที่เกิดขึ้นมาในอดีต จริ ๆ แล้วตรงนี้ เชื่อว่าพื้นที่ในการลดดอกเบี้ยมีอีกเยอะมาก ”ฉะนั้น เรื่องการพูดคุย เราได้มีการพูดคุยกันชัดเจนอยู่แล้ว คงเป็นเรื่องความเห็นต่างหรือเรื่องทิฐิผมไม่ทราบ แต่มันชัดเจนอยู่แล้วที่เงินเฟ้อติดลบติดต่อกันมา 4 […]

รมช.คลัง ยอมรับ ดิจิทัลวอลเล็ต แจก10,000บาท ไม่ทันไทมไลน์เดิมพ.ค.นี้

(17 มกราคม 2567) ที่รัฐสภา นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รมช.คลัง แถลงถึง กรณีนโยบายดิจิทัลวอลเล็ต หรือ เงินดิจิทัล 10,000 บาท หลังเลื่อนมาแล้วครั้งหนึ่งจากที่ป.ป.ช. ยื่นข้อเสนอและหลังมีหนังสือตอบกลับกฤษฎีกา จึงต้องรับฟังความเห็นรอบด้าน ทำให้ไทมไลน์เดิมในเดือนพ.ค.ไม่ทัน แต่ยืนยันว่าจะเดินหน้าต่อ และยืนยันว่าไม่ลดวงเงิน ไม่ลดจำนวนคน ยังคงแนวทางเดิม หลังจากนี้จะนัดประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมเพื่อรับฟังความเห็นต่อไป   ข่าวจาก : ฐานเศรษฐกิจ

จีน ‘ฟรีวีซ่า’ ไทย ดีเดย์ 1 มี.ค. 2567 กระตุ้นท่องเที่ยว

(2 ม.ค. 2567) นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) นัดแรก หลังปีใหม่ 2567 ว่า ที่ประชุม ครม. รับทราบ “ฟรีวีซ่า” กรณีที่สาธารณรัฐประชาชนจีน มีมติให้พลเมืองไทย และนักท่องเที่ยวไทย สามารถเดินทางเข้า-ออกจีนได้ โดยไม่ต้องขอวีซ่าซึ่งกันและกัน ตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค. 2567 เป็นต้นไป เพื่อยกระดับความสัมพันธ์ และเปิดโอกาสนักท่องเที่ยวทั้ง 2 ประเทศ กระตุ้นท่องเที่ยว นอกจากนี้ ที่ประชุม ครม. ยังมีมติให้เพิ่มวันทำประมง หลังจากมีปัญหาใน IUU ซึ่งเป็นปัญหาของประมงไทยนับแสนคน โดยให้เพิ่มวันทำการประมง แก่เรือประมง 1,200 ลำ ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2567 ที่ผ่านมา ซึ่งจะช่วยสร้างงานได้กว่า 12,000 อัตรา และสร้างรายได้ให้ประเทศกว่าพันล้านบาท ซึ่งถือเป็นวาระเร่งด่วน และคืนชีวิตให้แก่ชาวประมงไทย รวมถึงยังมีการกระตุ้นเศรษฐกิจ […]

นายกฯ ประกาศชัด แจก ดิจิทัลวอลเล็ต 50ล้านคน 16ปีขึ้นไปได้แน่ 1หมื่นบาท

วันที่ 10 พ.ย.2566 ที่ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง นโยบายโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน ดิจิทัลวอลเล็ต ว่า วันนี้ขอบอกข่าวดีกับประชาชน โครงการดิจิทัลไม่ใช่แค่ความฝัน แต่กำลังเป็นความจริง รัฐบาลได้หาข้อสรุปที่ดีที่สุด ผ่านการเติมเงินลงไปในเศรษฐกิจ มูลค่า 6 แสนล้านบาท อยู่ในดิจิทัล 5 แสนล้านบาท ครอบครัว 50 ล้านคน และใน 1 แสนล้านบาท ในกองทุนเพิ่มขีดความสามารถ ทั้งนี้ ต้องผ่านกระบวนการทางกฎหมายและมีมติก่อนสรุปอีกครั้งหนึ่ง โดยเกิดจากรัฐบาลได้ฟังความเห้นจากธปท. สภาพัฒน์ และหน่วยงานอื่น ๆ ทำงานร่วมกันและปรับเงื่อนไขดิจิทัลให้รัดกุมขึ้น โดยรัฐบาลมอบสิทธิการใช้จ่าย 1 หมื่นบาทให้คนไทยมีอายุ 16 ปีขึ้นไปมีรายได้ไม่ถึง 7 หมื่นบาท เงินฝากต่ำกว่า 5 แสนบาท หมายถึงถ้ารายได้เกิน 7 หมื่นแต่มีเงินฝาก 5 แสนบาท จะไม่ได้รับสิทธิ์ […]

‘จุลพันธ์’ แย้มตัดสิทธิคนรวย เงินเดือนไม่เกิน 2.5 หมื่นได้ดิจิทัลวอลเล็ต

26 ตุลาคม ที่กระทรวงการคลัง นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า สาเหตุคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่านดิจิทัลวอลเล็ต เป้าหมาย 3 กลุ่ม ในการแจกเงินนั้น เนื่องจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือ สภาพัฒน์ ได้ยื่นข้อเสนอให้ดูแลเฉพาะกลุ่มเปราะบางเท่านั้น มีอยู่ประมาณ 15-16 ล้านคน เนื่องจากมองว่าเศรษฐกิจและการบริโภคเริ่มฟื้นตัวแล้ว ที่ประชุมอนุกรรมการยังมีความเห็นต่าง เนื่องจากมองว่าประชาชนยังมีความเดือดร้อน และรัฐบาลต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพใหญ่เป็นสำคัญ หากใช้เม็ดเงินงบประมาณลงไปเพียง 1.5 แสนล้านบาท อาจกระตุ้นเศรษฐกิจไม่ได้ตามเป้าหมายที่ต้องการ ขณะที่การกำหนดกลุ่มเป้าหมายเกณฑ์คนรวยนั้น กรณีกำหนดเกณฑ์ตัดสิทธิผู้ที่มีความพร้อมทางสังคม มีรายได้ 25,000 บาทต่อเดือนและหรือมีเงินฝากในบัญชี 100,000 บาท นั้น และกลุ่มผู้มีรายได้เดือนละ 50,000 บาทต่อเดือน และหรือมีเงินฝากในบัญชี 500,000 บาทนั้น ส่วนนี้เป็นตัวเลขที่มีอยู่ในข้อมูลของภาครัฐที่แบ่งตามความเหมาะสม “จากการปรับเกณฑ์จ่ายเงินดิจิทัล เรารอฟังเสียงนักวิชาการและประชาชน ว่า จะมีความคิดเห็นอย่างไร เมื่อการประชุม 25 ตุลาคมที่ผ่านมา […]

“เศรษฐา” ประกาศทุ่ม “5.6 แสนล้าน” เดินหน้า “ดิจิทัลวอลเล็ต” ไม่ต้องห่วง ก.พ.นี้ ได้ใช้แน่นอน

เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 2 ตุลาคม ที่ห้องรอยัล จูบิลี่ บอลรูม อาคารชาเลนเจอร์ ชั้น 1 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานพิธีเปิดโครงการประชุมสัมมนาการมอบนโยบายและแนวทางการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 โดยกล่าวช่วงหนึ่งว่า การฟื้นฟูรายได้ รัฐบาลจะกระตุ้นเศรษฐกิจในปี 2567 ด้วยการอัดฉีดเงิน 560,000 ล้านบาท เพื่อกระตุ้นระดับชุมชน กระตุ้นอุปสงค์ ก่อนขับเคลื่อนอุปทาน สิ่งที่รัฐได้กลับมา คือ ภาษี ในระยะเวลา 6 เดือน ให้เกิดการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจ “ไม่ต้องห่วงครับใช้ได้แน่นอนภายในเดือน ก.พ.นี้” นายเศรษฐากล่าวและว่า สำหรับค่าแรงขั้นต่ำ เมื่อเศรษฐกิจดีขึ้นจะขยับค่าแรงไปถึง 400 บาทต่อวันให้ได้เร็วที่สุด ซึ่งถือเป็นก้าวแรก   ข่าวจาก : มติชน

1 3 4
error: