“ทรู-ดีแทค” ควบรวม 2 ปี มีอะไรเปลี่ยนแปลง ?

Advertisement “ทรู-ดีแทค” ควบรวมกิจการมาแล้วเกือบ 2 ปี (ตั้งแต่ 1 มี.ค. 2566) มีการปรับจูนการทำงาน เพื่อสร้าง Synergy ในมิติต่าง ๆ เช่น การลดต้นทุน การจัดซื้อจัดจ้าง การเพิ่มประสิทธิภาพโครงข่าย และการขยายฐานลูกค้าภายในอีโคซิสเต็ม จนถึงปัจจุบันมีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้าง ภายใต้การดำเนินงานของ บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น Advertisement อัพเดตธุรกิจบรอดแบนด์ “มนัสส์ มานะวุฒิเวช” ประธานคณะผู้บริหาร บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า การทำตลาดและการแข่งขันในธุรกิจบรอดแบนด์ต้องมองเป็น 2 ประเด็น คือ 1.การโฟกัสที่คุณภาพสัญญาณ การให้บริการ และอุปกรณ์ต่าง ๆ เพราะพฤติกรรมการใช้งานเปลี่ยนไปส่งผลให้ความต้องการใช้อินเทอร์เน็ตมีมากขึ้น เช่น การใช้เทคโนโลยี Smart Home หรือการรับชมคอนเทนต์บนสมาร์ททีวี และ 2.การเพิ่มบริการที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้ เช่น ผู้ใช้บางกลุ่มอ่อนไหวเรื่องคุณภาพสัญญาณมาก ๆ ก็มีตัวเลือกเป็นโมเด็มใหม่ที่สามารถสลับใช้งานอินเทอร์เน็ตจากมือถือได้ทันที เมื่อสัญญาณหลุดหรือไม่เสถียร “แผนการลงทุนในธุรกิจบรอดแบนด์ยังมีอย่างต่อเนื่อง เพราะเป็นตลาดที่ปัจจุบันมีการเข้าถึง (Penetration) […]

ศาลปกครองสูงสุดฯ รับ ‘คำฟ้อง’ เพิกถอน ควบทรูดีแทค – ทรู

(25 มี.ค.) ศาลปกครองสูงสุดได้กลับคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้น โดยให้รับคำฟ้องของผู้บริโภค 5 รายในคดีขอให้เพิกถอนมติคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (กสทช.) กรณีรับทราบการควบรวม บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น และ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือ ดีแทค และขอให้เพิกถอนประกาศ กสทช.กำหนดมาตรการกำกับดูแลการรวมธุรกิจในกิจการโทรคมนาคม ลงวันที่ 4 ธันวาคม 2560 ไว้พิจารณา ศาลปกครองสูงสุด เห็นว่าแม้การยื่นฟ้องคดีจะพ้นกำหนดระยะเวลาฟ้องคดีแล้ว แต่คดีนี้ถือเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ตามมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 ศาลปกครองจึงมีอำนาจรับคำฟ้องของผู้บริโภคทั้ง 5 รายไว้พิจารณาพิพากษาได้ตามมาตรา 52 วรรคสอง แห่งพ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองฯ ข้อเท็จจริงของคดีปรากฎว่า กสทช. อาศัยอำนาจตามมาตรา 27(11) (24) และมาตรา 81 แห่ง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 ประกอบมาตรา 21 และมาตรา 22 […]

“TRUE-AIS” หนุนรัฐบาล มอบของขวัญปีใหม่คนไทยรับปี 67

25 ธันวาคม 2566 ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานว่า รัฐบาลและหน่วยงานภาครัฐได้จัดโครงการลดราคาสินค้าในหมวดหมู่ต่าง ๆ และเชิญชวนให้เอกชนมาเข้าร่วมโครงการด้วย ซึ่ง “ทรู” และ “เอไอเอส” ผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือและอินเทอร์เน็ตได้เข้าร่วมโครงการของรัฐบาลเช่นกัน ซึ่งมีรายละเอียดของโปรโมชั่น ดังนี้ “ทรู” มอบส่วนลด TRUE S1A จาก 3,599 บาท เหลือเพียง 399 บาท นายปภิณวิช รุ่งศิริ (กลาง) หัวหน้าฝ่ายงานด้านการจัดการระดับภูมิภาค ประจำจังหวัดนนทบุรี บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมการค้าภายใน เปิดตัวโครงการ “พาณิชย์สั่งลุย ลดราคา New Year Mega Sale 2024” เชิญชวนองค์กรจากทุกภาคส่วน ร่วมจัดจำหน่ายสินค้าในราคาพิเศษ เพื่อลดค่าครองชีพประชาชน กระตุ้นการใช้จ่าย มอบเป็นของขวัญปีใหม่ให้แก่คนไทย “ทรูเป็นหนึ่งในองค์กรเอกชนที่เข้าร่วมโครงการครั้งนี้ มีการจัดโปรโมชั่น ส่วนลดค่าเครื่อง TRUE S1A บนเครือข่ายทรูมูฟ […]

ควบรวม = ผูกขาด? ราคาที่ประชาชนต้องจ่ายเพิ่ม

เสียงบ่นเรื่องของการผูกขาดทางการค้าจากการควบรวมกิจกรรม ระหว่าง DTAC (ดีแทค) และ TRUE (ทรู) สองค่ายมือถือยักษ์ใหญ่ และผลพวงต่อการควบรวมนี้เริ่มดังขึ้นเรื่อยๆ ชาวบ้านคนเดินดินถึงราคาที่ต้องจ่ายแพงขึ้น สัญญาณความแรงของอินเทอร์เน็ตที่ลดลง ตลอดจนการดูแลลูกค้าที่ดูเหมือนว่าจะแย่ลงนั้นอาจเป็นเพียง “เสียงลือเสียงเล่าอ้าง” หรือก็อาจจะถูกมองว่าเป็นแค่เสียงของคนจำนวนไม่มากที่ได้รับผลกระทบ หากแต่เสียงบ่นเหล่านั้นกลับสอดรับตรงกันกับรายงานของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ TDRI TDRI เป็นองค์กรวิชาการที่น่าเชื่อถือเพราะมีทั้งหลักการและมันสมอง เรียกว่าเป็นสถาบันที่อ่านเกมขาดและหลายครั้งก็ออกมากระตุกเตือนภาครัฐและประชาสังคมถึงผลต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น และจากกรณีการควบรวมสองค่ายสัญญาณมือถือยักษ์ใหญ่นี้ TDRI ก็ได้ออกโรงมากระตุกเตือนสังคมมานานแล้ว ถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นทั้งในเชิงทฤษฎีและทางปฎิบัติซึ่งในปัจจุบันก็ได้เกิดขึ้นจริง ตรงตามที่ TDRI เคยออกมาเตือน ในต่างประเทศนั้น จะมีกฎหมายป้องกันการผูกขาด มีดัชนีการการจุกตัว (Herfindahl-Hirschman Index: HHI) ซึ่งเป็นตัวชี้วัดความผูกขาดในเชิงโครงสร้าง ซึ่งค่าสูงสุดคือ 10,000 จุด ซึ่ง TDRI ชี้ว่าเมื่อเกิดการควบรวมแล้วดัชนีนี้เพิ่มขึ้นจาก 3,659 มาอยู่ที่ 5,012 หรือแปลเป็นภาษาชาวบ้านว่า ส่วนแบ่งการตลาดเมื่อรวมกันแล้วคือ 52% กลายเป็นเบอร์ 1 ของตลาดโดยอัตโนมัติ ซึ่งถือเป็นระดับที่อันตราย เหตุการณ์เช่นนี้จะไม่เกิดขึ้นในประเทศประชาธิปไตยที่มีระบบตลาดแบบเสรีแน่นอน เพราะถึงแม้ระบบตลาดเสรีจะปล่อยให้กลไกตลาดดำเนินไปโดยเสรี แต่ก็ยังต้องมีการกำกับจากรัฐ ซึ่งในกรณีของประเทศไทยคือ […]

ทรู คอร์ปอเรชั่น เข้าชี้แจง กสทช. คลายปมประเด็นคุณภาพสัญญาณ และแพคเกจค่าบริการ

เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2566 บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น โดย นายจักรกฤษณ์ อุไรรัตน์ หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านกิจการองค์กร และนายประเทศ ตันกุรานันท์ หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านเทคโนโลยี พร้อมทีมงานเน็ตเวิร์คและการพาณิชย์ เข้าพบ นายไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล รักษาการเลขาธิการ กสทช. และ นายสุทธิศักดิ์ ตันตะโยธิน รองเลขาธิการกสทช. พร้อมทั้งคณะ กสทช. เพื่อชี้แจงประเด็นคุณภาพสัญญาณ แพคเกจค่าบริการ และการบริการลูกค้า ย้ำทำตามมาตรฐานและเร่งพัฒนาคุณภาพดีกว่าเดิม ทรู คอร์ปอเรชั่นเข้าพบกสทช. ชี้แจงประเด็นสำคัญ ดังนี้ มุ่งพัฒนาคุณภาพสัญญาณเพื่อลูกค้า – ทรู คอร์ปอเรชั่นมุ่งมั่นการให้บริการโดยมีคุณภาพที่ดีที่สุดให้แก่ลูกค้าทุกคน หลังการควบรวมทรูและดีแทคนั้น สัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้ง 5G และ 4G ของลูกค้าทั้งสองแบรนด์ ดีขึ้นทันที จากการโรมมิ่งสัญญาณคลื่น 2600 MHz และ 700 MHz อีกทั้งความครอบคลุมของโครงข่ายมีความครอบคลุมยิ่งขึ้น จากเดิมก่อนควบรวม 4G ดีแทค […]

บอร์ดกสทช. ส่งหนังสือถึงปธ. ขอถกด่วน ค่าโทรศัพท์แพง หลังควบรวมทรู-ดีแทค

15 ธันวาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ประกอบด้วย นายศุภัช ศุภชลาศัย พล.อ.ท.ธนพันธุ์ หร่ายเจริญ กสทช. น.ส.พิรงรอง รามสูต กสทช. และ นายสมภพ ภูริวิกรัยพงศ์ กสทช. มีบันทึกข้อความ ด่วนที่สุด ที่ สทช 1003/ 353 เรื่อง ขอให้มอบหมายสำนักงาน กสทช. รวบรวมข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสถานการณ์และผลกระทบต่อผู้บริโภคอันเนื่องมาจากคุณภาพสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ ปัญหาอัตราค่าบริการสูงขึ้นและการเปลี่ยนแปลงแพคเกจการให้บริการโดยอัตโนมัติเข้าสู่การพิจารณาในที่ประชุม กสทช. ครั้งที่ 23/2566 วันพุธที่ 20 ธันวาคม 2566 การรวบรวมข้อเท็จจริงนี้ เป็นเรื่องสืบเนื่องจากมติการประชุม กสทช. นัดพิเศษ ครั้งที่ 5/2565 เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2565 ซึ่งที่ประชุมเสียงข้างมากรับทราบการรวมธุรกิจระหว่างบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท โทเทิ่ล […]

โค้งสุดท้ายไม่คิดเงิน! ทรู เปิดทาง “ไอพีทีวี” ถ่ายทอดสดบอลโลกได้ เพียงยื่นหนังสือขอ

ความเคลื่อนไหวการถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก 2022 ล่าสุดเมื่อวันที่ 16 ธ.ค.65 กลุ่มทรู พร้อมร่วมมือกับผู้ให้บริการระบบไอพีทีวี ทุกรายถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก 2 แมตซ์สุดท้าย ทั้ง คู่ชิงชนะเลิศ ระหว่าง ฝรั่งเศส-อาร์เจนตินา และ คู่ชิงที่ 3 ระหว่าง โมร็อกโก-โครเอเชีย ผ่านกล่องไอพีทีวี โดยไม่มีการเรียกเก็บค่าตอบแทน เพื่อให้คนไทยทั่วประเทศได้รับชมโดยไม่มีข้อจำกัดในทุกกล่องที่ให้บริการในระบบ IPTV โดยต้องอยู่ภายใต้ข้อกำหนดของฟีฟ่าและการกีฬาแห่งประเทศไทย และขอให้ผู้ให้บริการระบบไอพีทีวีส่งหนังสือแจ้งความประสงค์มายังกลุ่มทรู พร้อมยืนยันมาตรการป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ และมาตรฐานสำหรับการถ่ายทอดสดกีฬาระดับโลกในอนาคตระหว่างกัน ดร.ธีรเดช ดำรงค์พลาสิทธิ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ (ร่วม) บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า กลุ่มทรูอยากให้คนไทยได้มีความสุขกับการรับชมการแข่งขันฟุตบอลโลก 2 แมตซ์สุดท้าย ทั้งนัดชิงชนะเลิศระหว่าง ฝรั่งเศส-อาร์เจนตินา วันอาทิตย์ที่ 18 ธ.ค. 2565 และ นัดชิงอันดับสามระหว่าง โมร็อกโก-โครเอเชีย วันเสาร์ที่ 17 ธ.ค. 2565 ซึ่งเป็นแมตซ์หยุดโลกที่แฟนบอลชาวไทยทุกคนต่างรอคอย ดังนั้น เพื่อให้คนไทยทั่วประเทศได้รับชมอย่างครอบคลุมและทั่วถึง กลุ่มทรู ในฐานะผู้ได้รับสิทธิ์ในการถ่ายทอดการแข่งขันดังกล่าวผ่านระบบไอพีทีวีแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย […]

กสทช. เผย “ทรู” ยอมให้ “ทีวีดิจิตอล” ถ่ายทอดบอลโลกแบบคู่ขนานแล้ว

22 พ.ย.2565 นายไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล รักษาการแทนเลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า หลังจากได้มีการพิจารณาตามหนังสือที่ทางสมาคมโทรทัศน์ระบดิจิตอล(ประเทศไทย) ได้ยื่นมาสำหรับที่จะมีการขอให้ทบทวนการจับฉลากการถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก (รอบสุดท้าย) 2022 อีกครั้งนั้น จึงได้มีการหารือร่วมกับทางการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) เพื่อหาข้อสรุปร่วมกัน โดยได้ขอความร่วมมือจากทรู ให้คืนโควตาถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก 2022 รอบสุดท้าย จำนวน 16 นัดกลับมาให้ กกท. นำมาจัดสรรให้กับทีวีดิจิตอลถ่ายทอดสดแบบคู่ขนาน โดยจะมีการจัดสรรให้ทีวีดิจิตอลถ่ายทอดสดกับช่องทรู ซึ่งเป็นหน้าที่กกท.ต้องดำเนินการ ว่าจะจัดสรรอย่างไร รอบใด และคู่ใดบ้าง ขณะนี้ได้มีการประสานกับทรู และทางทรูไม่ขัดข้อง   ข่าวจาก : ข่าวสด

คอบอลงง! ทรูแจ้ง ลูกค้ากล่องIPTV-มือถือ-OTTอื่น ดูสดบอลโลกไม่ได้

20 พฤศจิกายน นายจักรกฤษณ์ อุไรรัตน์ รองผู้อำนวยการด้านรัฐกิจสัมพันธ์ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ออกหนังสือ เรื่อง การแจ้งสิทธิการถ่ายทอดการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย (FIFA World Cup Final 2022) โดยระบุว่า ตามที่ การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) ได้รับลิขสิทธิ์การถ่ายทอดการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบ สุดท้าย (FIFA World Cup Final 2022) ระหว่างวันที่ 20 พฤศจิกายน – 18 ธันวาคม 2555 ณ กรุงโดฮา รัฐกาตาร์ โดย กกท.ได้รับงบประมาณสนับสนุนส่วนหนึ่งจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการ โทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ทั้งนี้ งบประมาณดังกล่าวที่ได้รับจาก กสทช. ไม่เพียงพอต่อค่าลิขสิทธิ์การถ่ายทอดการแข่งขันดังกล่าว กกท.จึงได้เข้าทำสัญญากับบริษัท ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป จำกัด บริษัท ทรู […]

1 2
error: