จบด้วยดี นายจ้างบังคับลูกจ้างเซ็นลาออก จ่ายเยียวยาแสน ตร.ปรับพัน

Advertisement จากกรณี น.ส.ปัทมพร อายุ 38 ปี อดีตพนักงานขายอาหารสัตว์โรงงานผลิตอาหารสัตว์แห่งหนึ่ง ตั้งอยู่ที่ ต.ลำโพ อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี เข้าแจ้งความกับ ร.ต.อ.หญิง ปวิชญา ทองกระสัน รองสารวัตร สอบสวน สภ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี หลังถูกนายจ้างขู่บังคับให้เซ็นใบลาออกจากงาน อีกทั้งยังใช้แก้วน้ำปาใส่กำแพง 4 ครั้ง ทำให้เศษแก้วเกือบกระเด็นถูกตัว และข่มขู่จะใช้ปืนยิงอีก เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคมที่ผ่านมา Advertisement เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 6 ธันวาคม ที่ สภ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี นายอธิวัฒน์ สิริกังวาลวงศ์ ผู้ก่อตั้งเพจกล้าที่จะก้าว พร้อมด้วย น.ส.ปัทมพร, นายเอก (นามสมมุติ) นายจ้าง และทนายความของบริษัท เดินทางเข้าเจรจาไกล่เกลี่ย กรณีที่ น.ส.ปัทมพร แจ้งความคดีดังกล่าว โดยมี พ.ต.ต.สุริยา ผลชู สว.สอบสวน […]

ก.แรงงาน ยืนยัน 1 ม.ค.2568 ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท ทั่วประเทศ

แหล่งข่าวจากกระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึงนโยบายการขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ หรือค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาทต่อวัน ตามนโยบายรัฐบาล ว่า กระทรวงแรงงานพร้อมผลักดันการปรับขึ้น 400 บาทต่อวัน ทั่วประเทศ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2568 เพื่อเป็นหนึ่งในของขวัญปีใหม่ให้กับผู้ใช้แรงงาน เนื่องจากขณะนี้ในขั้นตอนการดำเนินงานมีความชัดเจนแล้ว โดยเฉพาะการจัดตั้งคณะกรรมการค่าจ้าง หรือบอร์ดไตรภาคีชุดใหม่ ทั้งนี้ในการจัดตั้งคณะกรรมการค่าจ้างชุดใหม่เพื่อทดแทนชุดเดิมนั้น กระทรวงแรงงงาน ได้ข้อสรุปว่า จะเสนอรายชื่อผู้ดำรงตำแหน่งกรรมการฝ่ายรัฐ 2 คนที่ว่างอยู่ให้กับที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา ในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2567 นี้ โดยในส่วนของกรรมการที่เป็นอดีตผู้บริหารของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) นั้น กระทรวงแรงงานจะแก้ปัญหาด้วยการส่งกรรมการฝ่ายรัฐเป็นผู้แทนจากกระทรวงการคลังไปแทน ทั้งนี้หากที่ประชุมครม.เห็นชอบรายชื่อคณะกรรมการทั้ง 2 คนที่กระทรวงแรงงานเสนอแล้ว ในขั้นตอนต่อไป คณะกรรมการค่าจ้าง จะเริ่มต้นนัดประชุมกันนัดแรกอย่างเร็วที่สุดคือในเดือนธันวาคม 2567 นี้ และจะเร่งสรุปรายละเอียดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของคณะอนุกรรมการค่าจ้างจังหวัดที่เสนอมา โดยตั้งเป้าหมายการปรับขึ้นอัตราค่าจ้าง หรือค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาทต่อวัน ภายในวันขึ้นปีใหม่ 2568 เป็นต้นไป “ตอนนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้รับทราบรายละเอียดทั้งหมดแล้ว และจะเสนอที่ประชุมครม.ได้ในวันที่ […]

ครม.ไฟเขียว 3 กฎหมายแรงงานใหม่ เพิ่มหลักประกันลูกจ้าง เริ่มบังคับใช้ปี 68

รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบร่างกฎหมาย 3 ฉบับ ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ มีเนื้อหาสำคัญ เป็นการช่วยบรรเทาความเดือดร้อนและเป็นหลักประกันในการทำงานให้กับลูกจ้างกรณีต้องออกจากงานหรือเสียชีวิต จึงต้องมีการเก็บเงินสะสมและเงินสมทบเพื่อเป็นทุนสงเคราะห์ลูกจ้างต่อไป สำหรับร่างกฎหมายทั้ง 3 ฉบับที่กระทรวงแรงานเสนอครั้งนี้ ประกอบด้วย  ร่าง พ.ร.ฎ.กำหนดระยะเวลาเริ่มดำเนินการจัดเก็บเงินสะสมและเงินสมทบเพื่อเป็นทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง พ.ศ. …. ร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราการจ่ายเงินสะสมและเงินสมทบที่จะต้องส่งให้แก่กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง พ.ศ. …. ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการสำหรับนายจ้างจัดให้มีการสงเคราะห์แก่ลูกจ้างในกรณีที่ลูกจ้างออกจากงานหรือตาย พ.ศ. …. 1.ร่าง พ.ร.ฎ.กำหนดระยะเวลาเริ่มดำเนินการจัดเก็บเงินสะสมและเงินสมทบเพื่อเป็นทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง พ.ศ. …. สาระสำคัญ : เป็นการกำหนดให้เริ่มดำเนินการจัดเก็บเงินสะสมและเงินสมทบเพื่อเป็นทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2568 เป็นต้นไป 2.ร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราการจ่ายเงินสะสมและเงินสมทบที่จะต้องส่งให้แก่กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง พ.ศ. …. สาระสำคัญ : เป็นการกำหนดอัตราเงินสะสมจากลูกจ้างและเงินสมทบจากนายจ้างที่แต่ละฝ่ายจะต้องนำส่งเข้ากองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง แบ่งเป็น 2 ช่วง ดังนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.2568 – 31 มี.ค.2573 (ระยะเริ่มต้น 5 ปีแรก) ลูกจ้างและนายจ้าง […]

ขึ้นค่าแรง 400 บาท ปลัดแรงงานชี้ปรับบางกิจการ ต้องดูกำลังจ่ายนายจ้าง

6 กันยายน 2567 มติชน รายงานว่า นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการค่าจ้าง ชุดที่ 22 (บอร์ดค่าจ้าง) เปิดเผยว่า ตามที่บอร์ดค่าจ้างจะต้องมีการประชุมในทุกเดือนนั้น แต่เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่าน ไม่มีการประชุมเนื่องจากอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัด ยังส่งตัวเลขค่าจ้างขั้นต่ำรายจังหวัดมาไม่ครบ ทำให้ต้องเลื่อนการประชุมออกมา ล่าสุด ในเดือนกันยายนนี้ อนุจังหวัดฯ ได้ส่งตัวเลขเข้ามาครบแล้ว จึงมีกำหนดการประชุมประจำเดือนออกมาแล้ว โดยในวันที่ 9 กันยายน จะมีการประชุมของคณะอนุกรรมการวิชาการและกลั่นกรอง เพื่อนำตัวเลขค่าจ้างขั้นต่ำในทุกจังหวัดมาพิจารณาในรายละเอียด ว่าการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำในภาพรวมของประเทศ ควรจะขึ้นเท่าไหร่ ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานได้สำรวจประเภทกิจการที่ให้ค่าจ้างขั้นต่ำมากกว่า 400 บาทต่อวัน มาเพื่อพิจารณาประกาศปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำในกิจการประเภทดังกล่าวก่อน แต่ก็ต้องดูมติของคณะอนุกรรมการกลั่นกรองฯ ก่อน ส่วนบอร์ดค่าจ้างชุดใหญ่จะมีการประชุมกันในวันที่ 16 กันยายน เมื่อถามว่าในการประชุมของคณะอนุกรรมการกลั่นกรองฯ จะมีการกำหนดสูตรการคำนวณค่าจ้างขั้นต่ำเลยหรือไม่ นายไพโรจน์ กล่าวว่า ยัง แต่จริง ๆ สูตรไม่ใช่ประเด็นสำคัญ เพราะการคิดคำนวณสูตรเป็นเพียงองค์ประกอบหนึ่งเท่านั้น เนื่องจากเราต้องพิจารณาหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ ภาวะเงินเฟ้อ ราคาสินค้า ภาวการณ์จ้างงาน ไปจนถึงความสามารถในการจ่ายค่าจ้างของนายจ้างด้วย […]

ผ่ากฎหมายโอที รปภ.ได้ 2 ส่วน วันหยุดได้ 2.5 เท่า วันธรรมดา 1.25 เท่า

นายภูมิพัฒน์ เหมือนจันทร์ โฆษกกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า กระทรวงฯ ผลักดันร่างแก้ไขกฎหมายเพื่อให้เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย (รปภ.) หรือในภาษากฎหมายเรียกว่าลูกจ้างที่ทำงานเฝ้าดูแลสถานที่หรือทรัพย์สิน มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาและค่าตอบแทนสำหรับการทำงานที่เกินกว่าวันละ 8 ชม. ในอัตราที่เพิ่มขึ้น เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและสอดคล้องกับยุคปัจจุบัน โดยหากนายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาหรือทำงานเกินกว่าวันละ 8 ชม.ในวันทำงานปกติ นายจ้างจะต้องจ่ายค่าล่วงเวลาสำหรับลูกจ้างรายเดือน หรือค่าตอบแทนสำหรับลูกจ้างที่ไม่ได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือนไม่น้อยกว่า 1.25 เท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ ส่วนในวันหยุดนายจ้างต้องจ่ายค่าล่วงเวลาหรือค่าตอบแทนไม่น้อยกว่า 2.5 เท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ สรุปก็คือลูกจ้าง รปภ. จะมีสิทธิได้รับเงิน 2 ส่วน ทั้งเงินเดือนหรือค่าจ้าง กับค่าโอทีหรือค่าตอบแทนจากการทำงานเกินเวลาปกติ เมื่อกฎหมายมีผลบังคับใช้ ทั้งนี้ ในประเทศไทยมีลูกจ้าง รปภ.ประมาณ 400,000 คน ซึ่งที่ผ่านมาลูกจ้างเหล่านี้ไม่มีสิทธิได้รับโอที ตามกฎกระทรวงกำหนดงานที่ลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาและค่าล่วงเวลาในวันหยุด พ.ศ.2552 ขณะที่ลูกจ้างบางส่วนได้เสนอให้ทบทวนกฎหมายเพราะบังคับใช้มากว่า 15 ปีแล้ว และงาน รปภ. เป็นงานที่ต้องใช้กำลังแรงกาย มีระยะเวลาการทำงานที่ยาวนานส่งผลต่อสุขภาพของลูกจ้าง เป็นงานที่ต้องใช้ทักษะและความรับผิดชอบมากขึ้น จึงได้สั่งการให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเร่งผลักดันการแก้ไขกฎกระทรวงดังกล่าว และได้รับฟังความคิดเห็นของทั้งนายจ้าง ลูกจ้าง และประชาสังคมแล้ว เพื่อขยายความคุ้มครองให้ลูกจ้างได้รับค่าล่วงเวลาทั้งในวันทำงานปกติและวันหยุดอย่างเหมาะสม และยังเป็นการยกระดับทางอาชีพอีกด้วย นายจ้างจะต้องจ่ายค่าล่วงเวลาสำหรับลูกจ้างรายเดือน หรือค่าตอบแทนสำหรับลูกจ้างที่ไม่ได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือนไม่น้อยกว่า […]

นายจ้างขอทบทวนนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ ขอค้านแบบอัตราเดียว600บาททั่วประเทศ

นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทย กล่าวว่า นโยบายขึ้นค่าแรงขั้นต่ำวันะ 600 บาทและเงินเดือนผู้จบปริญญาตรี25,000 บาท ของพรรคเพื่อไทย จะเป็นภาระหนักต่อเอกชนโดยเฉพาะการขึ้นค่าแรงแม้ทยอยขึ้นใน 4 ปี หรือภายในปี 2570 เป็นการปรับขึ้นสูงถึง 40-60% หรือเฉลี่ยปีละ 10% ซึ่งเป็นสัญญาณตรงถึงภาคเอกชนที่ต้องเตรียมแบกรับภาระ รวมถึงมีโอกาสสูงที่จะทำให้นักธุรกิจต่างชาติชะลอการลงทุนในไทย เพราะข้อเสนอขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็นวันละ 600 บาท ถือเป็นการกระชากค่าแรงมากไปจึงต้องกลั่นกรองให้ดี เพื่อไม่ให้เพิ่มภาระหนักให้ภาคเอกชน ทั้งนี้ การปรับค่าแรงเป็นวันละ 600 บาท จะเป็นไปได้ถ้าเศรษฐกิจขยายตัว 7-10% และเอกชนมีรายได้เพิ่มขึ้นจากเศรษฐกิจขยายตัว ดังนั้นรัฐบาลต้องมองเป้าหมายการทำเศรษฐกิจเติบโตให้ได้ดีก่อน เพราะเมื่อเศรษฐกิจดีเชื่อว่าภาคเอกชนพร้อมขึ้นค่าแรงขั้นต่ำให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจ นอกจากนี้เห็นด้วยที่จะขึ้นค่าแรงในระดับที่เหมาะสมแต่ละพื้นที่ และควรเพิ่ม Productivityแรงงานควบคู่กัน ซึ่งรัฐบาลใหม่ควรตัดสินใจรอบด้านร่วมกับหน่วยงานรัฐ ภาคเอกชนและลูกจ้างที่ได้รับประโยชน์บนพื้นฐานของกฎหมาย ซึ่งปัจจุบันมีกลไกคณะกรรมการค่าจ้างกลางแต่ละจังหวัดพิจารณาปรับค่าแรงให้สอดคล้องเศรษฐกิจแต่ละพื้นที่ “หากขึ้นค่าแรงทันทีจะได้ไม่คุ้มเสีย วันนี้เศรษฐกิจมีความเสี่ยงหลายด้าน หากนายจ้างมีต้นทุนสูงขึ้นบางส่วนอาจรับไม่ไหว ซึ่งอาจชะลอการจ้างงานลดพนักงาน หรือธุรกิจที่ใช้แรงงานมากอาจพิจารณาย้ายฐานการผลิตรวมถึงนักลงทุนใหม่ที่อาจปรับแผนลงทุนประเทศอื่น ซึ่งจะกระทบเศรษฐกิจวงกว้าง ดังนั้นจึงต้องหารือหลายส่วนและหวังว่าจะทบทวนเพื่อให้เกิดรูปแบบที่ทุกภาคส่วนยอมรับ” แนะเลื่อนขึ้นไปปีหน้าห่วงเศรษฐกิจชะลอ นายธนิต โสรัตน์ สภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย กล่าวว่า การปรับค่าแรงขั้นต่ำจะพิจารณาจากองค์ประกอบหลายส่วน คือ 1.ภาวะเศรษฐกิจแต่ละจังหวัด […]

50ชีวิตถูกลอยแพ นายจ้างเบี้ยวค่าแรง แฉติดพนันออนไลน์ ล็อกบริษัทหนี พนง.

จากกรณีพนักงานจากบริษัทคอลเซ็นเตอร์แห่งหนึ่งกว่า 50 คน ถูกบริษัทลอยแพ ไม่จ่ายค่าแรงและค่าคอมมิชชั่นจนได้รับความเดือดร้อน ก่อนจะนำเรื่องมาร้องเรียนผ่านกลุ่มสายไหม ต้องรอด เพื่อขอความเป็นธรรม โดยระบุว่านายจ้างจ่ายเงินเดือนมาให้เพียง 10% เท่านั้น และนัดมาจ่ายที่เหลือในวันที่ 12 พฤศจิกายน 2565 แต่เมื่อมาถึง ประตูบริษัทกลับปิดสนิท ทำให้พนักงานบางคนร้องไห้ ไม่รู้จักเอาเงินที่ไหนไปซื้อกับข้าวให้ลูก และจ่ายค่าเช่าบ้าน จนบ้านจะถูกยึดอยู่แล้ว ต่อมาข่าวช่องวัน รายงานว่า จากการลงพื้นที่ไปยังซอยรามอินทรา 39 แยก 13 พบอาคารสีขาว ซึ่งบริษัทที่มาเช่าทำเป็นสำนักงานคือบริษัทบีจีเอ็ม ไทยกรุ๊ป จำกัด ทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท เป็นบริษัทที่เกี่ยวกับคอลเซ็นเตอร์ให้บริการในด้านอาหารเสริมยี่ห้อหนึ่ง มีพนักงานในบริษัทราว 50 คน หนึ่งในพนักงาน ที่ทำงานมา 7 เดือน เผยกับทีมข่าวว่า บริษัทแห่งนี้เปิดทำการมาไม่นาน มีหุ้นส่วนจำนวน 3 คน เริ่มจ่ายเงินเดือนไม่ครบตามกำหนดตั้งแต่เดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ก่อนหน้านี้เจ้าของบริษัทได้เอาสลิปการโอนเงินถอนเงิน ในการเล่นการพนันสล็อตออนไลน์มาให้ดู แต่พนักงานในบริษัทก็ไม่ได้คิดอะไร จนพักหลังมีการพูดถึงว่าเอาเงินเดือนของพนักงานในบริษัทไปเล่นการพนัน ถึงจะได้เงินมาจ่าย จนล่าสุดในเดือนตุลาคม พนักงานร่วม […]

เช็กด่วน! ตรวจสอบสิทธิรับเงินเยียวยา ม.33-นายจ้าง เปิดเงื่อนไขรับเงินช่วยพิเศษ

เช็กด่วน! ตรวจสอบสิทธิรับเงินเยียวยา ม.33-นายจ้าง เปิดเงื่อนไขรับเงินช่วยพิเศษ หลังครม.เห็นชอบมาตรการเยียวยาแรงงาน-ผู้ประกอบการเพิ่มเติม เมื่อวันที่ 17 ก.ค.64 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบมาตรการเยียวยาแรงงาน-ผู้ประกอบการเพิ่มเติม (ม.33, ม.39, ม.40 และ 9 กลุ่มอาชีพ) เป็นมาตรการช่วยเหลือในระยะเร่งด่วน กลุ่มแรงงานและผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากข้อกำหนดฉบับที่ 27 เพื่อลดผลกระทบในระยะสั้น สำหรับกลุ่มแรงงานและผู้ประกอบการ ทั้งในและนอกระบบประกันสังคม โดยเป็นการทดแทนมาตรการช่วยเหลือตามมติครม. เมื่อวันที่ 29 มิ.ย.64 ระยะเวลาการให้ความช่วยเหลือ 1 เดือน รายละเอียดดังนี้ 1. ขยายพื้นที่จากเดิม 6 จังหวัด คือกรุงเทพฯ นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร เพิ่มเติม 4 จังหวัด นราธิวาส ปัตตานี ยะลา สงขลา โดยเป็น 10 จังหวัดในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 2. เพิ่มประเภทกิจการรวม 9 […]

กระทรวงแรงงาน ฝากถึงนายจ้างต้องพึ่งพาตนเอง เจียดเงินช่วยเหลือคนงาน

กระทรวงแรงงาน ยันผึ้งไม่แตกรัง หลังคนงานแห่เดินทางกลับภูมิลำเนา เผยถ้าเตรียมการล่วงหน้าจะมีการเคลื่อนย้ายยิ่งกว่านี้ ชี้ผู้ประกอบการต้องพึ่งพาตนเอง เจียดเงินช่วยเหลือคนงาน จากกรณีที่รัฐบาลประกาศปิดแคมป์คนงานแบบปัจจุบันทันด่วน เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดโควิด 19 จนหลายฝ่ายกังวลใจว่าจะสร้างความเดือดร้อนให้ผู้ใช้แรงงาน จนเกิดเหตุการณ์ ผึ้งแตกรัง เดินทางกลับภูมิลำเนาหนีการกักตัวหรือเปล่า รายการ โหนกระแส วันที่ 28 มิถุนายน 2564 สัมภาษณ์ สุรชัย ชัยตระกูลทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงานถึงเรื่องดังกล่าว ประกาศแบบปัจจุบันทันด่วน มีเวลาเตรียมตัวน้อย แรงงานซึ่งอยู่ในแคมป์เหมือนผึ้งแตกรัง กลับไปท้องถิ่นเขาเอง แบบนี้ยิ่งทำให้กระจายเชื้อไปหรือเปล่า ? สุรชัย : ถ้าเรามีการเตรียมการล่วงหน้า การกระจายหรือเคลื่อนย้ายก็จะมากกว่านี้อีก เป็นเหตุที่ รัฐบาลจำเป็นต้องประกาศในช่วงเวลาสั้น ๆ เข้าควบคุมแรงงานต่างด้าวหรือแรงงานที่อยู่แคมป์คนงานที่มีการแพร่ระบาดโรคโควิดอย่างรุนแรง สิ่งหนึ่งที่จะบอกคือเรามีการประชุมที่กระทรวงแรงงาน เราประกาศวันที่ 25 วันที่ 26 คือวันเสาร์ กระทรวงแรงงานก็เชิญท่านปลัด อธิบดีทุกส่วนเข้ามาประชุมกัน แล้ววันที่ 27 เราก็เชิญนายกสมาคมก่อสร้างไทยมาประชุมเพื่อรับฟังปัญหาความเดือดร้อน รวมทั้งกระทรวงแรงงานเราจะเยียวยาอะไรให้เขาเป็นข้อ ๆ ที่กฎหมายรองรับและทำได้ สิ่งที่เราได้คุยกับอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย โดยสมาชิกที่มา เราได้พบว่าหลาย ๆ […]

นายจ้างกลุ้ม ! แม่บ้านหางาน เรียกเงินเดือน 2 หมื่น และมีข้อแม้

นายจ้างสิงคโปร์กลุ้ม สาวใช้เรียกเงินเดือน 2 หมื่น มีเงื่อนไขไม่ล้างรถ – ถูบ้านแบบวันเว้นวัน หากข้องใจก็ไม่ทำงานด้วย ไม่ขยันก็ยังมีงานทำ หลังแม่บ้านขาดแคลนหนักช่วงโควิด เนื่องด้วยการระบาดของโควิด 19 ส่งผลให้อาชีพแม่บ้านเป็นที่ต้องการอย่างมาก โดยเฉพาะในประเทศสิงคโปร์ เนื่องจากเป็นเรื่องยากที่จะจ้างแรงงานใหม่จากต่างประเทศ นอกจากนี้เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ก็เพิ่งมีนโยบายระงับการรับแรงงานที่มาจากที่มีความเสี่ยงโควิดสูงอีกด้วย จากความต้องการจ้างงานที่สูงสวนทางกับจำนวนที่ว่างอยู่ จึงเกิดกรณีที่แม่บ้านนั้นสามารถมีตัวเลือกในการรับงานมากกว่าที่คิด ซึ่งล่าสุด (26 มิถุนายน 2564) เว็บไซต์เอเชียวัน เผยเรื่องของนายจ้างที่สัมภาษณ์งานกับสาวใช้รายหนึ่ง เธอนั้นเป็นแรงงานจากประเทศอื่น ซึ่งระบุข้อเรียกร้องว่า เธอขอเงินเดือน 900 ดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 21,000 บาท) โดยต้องการวันหยุดอย่างน้อย 2 วัน นอกจากนี้ เธอจะไม่ล้างรถให้ รวมทั้งจะถูบ้านให้แบบวันเว้นวัน ต่อมา นายจ้างที่สัมภาษณ์งาน พยายามแจ้งว่า ที่บ้านนั้นไม่ได้มีคนแก่หรือเด็กที่คอยกวนใจ ส่วนงานที่จะให้ทำก็คือการทำอาหาร และทำความสะอาด หากแม่บ้านจะขอทำแบบวันเว้นวัน ก็สงสัยว่าวันที่เว้นไปแม่บ้านจะทำงานอะไร ส่งผลให้การเจรจาล่มในท้ายที่สุด เพราะเธอไม่ใช่นายจ้างที่แม่บ้านรายนี้อยากร่วมงานด้วย   ข่าวจาก : kapook

1 2
error: