ลูกจ้างทุกคนโปรดทราบ! ทนายเผยมาทำงานสายนายจ้างไม่มีสิทธิ์หักเงิน? ฝ่าฝืนโทษถึงติดคุก!

  7 ส.ค. 61 เพจเฟซบุ๊ก "สายตรงกฎหมาย" โดยทนายรัชพล ศิริสาคร ประธานชมรมสนับสนุนการต่อสู้เพื่อความยุติธรรม ได้โพสต์ข้อกฎหมายที่ลูกจ้างควรรู้  โดยระบุว่า เชื่อว่าในสถานประกอบกิจการต่างๆ ลูกจ้างคงจะโดนหักเงินจากนายจ้างมิใช่น้อย ซึ่งจริงๆ แล้ว ตามกฎหมายเค้าห้ามนายจ้างหักเงินมั่วๆ โดยเฉพาะเมื่อมาสาย นายจ้างจะหักเงินได้แค่ที่กฎหมายกำหนด ใน พรบ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 76 ระบุว่า ห้ามมิให้นายจ้างหักค่าจ้าง นายจ้างจะหักค่าจ้างได้กรณีดังนี้ – หักภาษีหรือชำระเงินอื่นๆ ที่กฎหมายกำหนด – หักค่าสหภาพ – ชำระหนี้สหกรณ์ – หักเงินประกันบางประเภท หรือหักค่าเสียหายโดยลูกจ้างต้องยินยอม – หักเงินสะสม ดังนั้น มาสายหักเงินไม่ได้ ใครโดนก็ไปร้องเรียนได้ที่ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานครับ หากฝ่าฝืนมีโทษสูงสุด คุก 6 เดือน ปรับ 1 แสน ตามมาตรา 144   ขอบคุณข้อมูลจาก : "สายตรงกฎหมาย"

กสร.เตือนนายจ้าง! ห้ามบังคับลูกจ้างทำงานวันหยุดหากจำเป็น ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อนและต้องจ่ายค่าทำงานในวันหยุดด้วย!

  7 ก.ค.61 เว็บไซต์ thaigov.go.th ซึ่งเป็นเว็บไซต์ของรัฐบาลไทยรายงานว่า กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เตือนนายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในวันหยุดผิดกฎหมาย หากจำเป็น ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อนและต้องจ่ายค่าทำงานในวันหยุด นายอนันต์ชัย อุทัยพัฒนาชีพ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เปิดเผยว่า พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กำหนดห้ามไม่ให้นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในวันหยุด เพื่อให้ลูกจ้างได้มีโอกาสพักผ่อนหรือทำกิจธุระ  อย่างไรก็ตามหากนายจ้างมีความจำเป็นต้องให้ลูกจ้างทำงานในวันหยุดเพื่อประโยชน์แก่การผลิต จำหน่าย และบริการอาจให้ลูกจ้างทำงานได้ แต่ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อนเป็นคราว ๆ ไป ทั้งนี้เมื่อให้ลูกจ้างทำงานแล้วนายจ้างจะต้องจ่ายค่าทำงานในวันหยุดให้กับลูกจ้าง โดยจ่ายไม่น้อยกว่า 1 เท่า ของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนที่ทำ สำหรับลูกจ้างที่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุดหรือลูกจ้างรายเดือน และจ่ายไม่น้อยกว่า 2 เท่า สำหรับลูกจ้างที่ไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุดหรือลูกจ้างรายวัน นายอนันต์ชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า กรณีที่นายจ้างฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎหมายจะมีโทษสูงสุดคือ จำคุก ไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ กสร.จึงขอให้นายจ้างปฏิบัติให้ถูกต้อง หากมีข้อสงสัยหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสอบถามได้ที่ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1 ถึง 10 สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดทุกจังหวัด หรือโทรศัพท์สายด่วน 1506 กด […]

1 2
error: