“ซีพีเอฟ” ฟ้องหมิ่นประมาท “ไบโอไทย” กรณีปลาหมอคางดำ

Advertisement 7 ก.ย. 2567 เพจเฟซบุ๊ก “BIOTHAI” โพสต์ภาพหมายเรียก พร้อมรายละเอียดว่า “หมายเรียกจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ซีพีเอฟแจ้งความดำเนินคดี นายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ เลขาธิการมูลนิธิชีววิถี (BioThai) มาถึงแล้ว Advertisement โดยแจ้งว่าเป็นการฟ้องในข้อหา หมิ่นประมาทโดยการโฆษณา ซึ่งมีบริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหารจำกัด (มหาชน) เป็นผู้กล่าวหา มีนายเปรมศักดิ์ วนัชสุนทร เป็นผู้รับมอบอำนาจ ในหมายเรียกแจ้งให้ผู้ถูกกล่าวหาเดินทางไปที่สถานีตำรวจภูธรรัตนาธิเบศร์ ในวันที่ 12 กันยายน 2567 เวลา 13.00 น. Advertisement อนึ่งเลขาธิการไบโอไทยให้ข้อมูลว่า เพิ่งได้รับหมายเรียกนี้เมื่อเย็นวานนี้ (วันที่ 6 กันยายน 2567 หลังจากประชาชนชาวจังหวัดสมุทรสงครามพร้อมสภาทนายความเดินทางทางไปยื่นฟ้องเรียกค่าเสียหายบริษัทเอกชนเมื่อวันที่ 5 กันยายน เพียง 1 วัน) โดยที่หัวจดหมายระบุว่าเป็นหมายเรียกครั้งที่ 2 โดยมีเพียงเอกสารแผ่นเดียว ไม่พบ “รายละเอียดปรากฎตามเอกสารแนบท้ายหมายเรียกผู้ต้องหา” แต่อย่างใด โดยเลขาธิการไบโอไทยได้แจ้งรายละเอียดการได้รับหมายเรียกนี้แล้วแก่ทีมทนายความที่นำโดย มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม(EnLaw) ซึ่งได้รับมอบอำนาจ เป็นผู้ดำเนินการเกี่ยวกับคดีนี้ต่อไป

ปลาหมอคางดำ ไม่ใช่สัตว์ประหลาด อย่ามองข้ามลักลอบนำเข้า

ปลาหมอคางดำ สร้างความกังวลถึงผลกระทบต่อพันธุ์สัตว์น้ำท้องถิ่น เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ชาวประมง ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ จากนั้นจึงมีความพยายามสืบหาแหล่งต้นตอ หาผู้รับผิดชอบ โดยตั้งข้อสังเกตไปที่บริษัทเอกชนที่มีรายงานการขออนุญาตนำเข้าอย่างถูกต้อง เพียงรายเดียว (ซึ่งทางบริษัทระบุว่าได้ทำลายซากลูกปลา และมีการส่งตัวอย่างลูกปลาดองในฟอร์มาลีนให้กรมประมงตามขั้นตอนไปแล้ว) จนอาจมองข้ามความเป็นไปได้อื่น ๆ ไป นอกจากนี้ ยังมีการปั่นกระแสปลาหมอคางดำ ผ่านการนำเสนอด้วยคำว่า “เอเลี่ยนสปีชีส์” จนกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนราวกับว่าเป็นสัตว์ประหลาดที่เข้ามาทำลายแหล่งน้ำ ทั้งๆ ที่ ปลาหมอคางดำ คือ ปลาชนิดหนึ่งที่รับประทานได้ไม่แตกต่างจากปลาอื่น ๆ เมื่อเพิ่มจำนวนก็จัดการได้ด้วยการจับขึ้นมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหารต่าง ๆ เหมือนกับที่ผ่านมาประเทศไทยได้เผชิญกับสัตว์ต่างถิ่นรุกรานทั้ง ตั๊กแตนปาทังก้า และหอยเชอรี่ ที่ทุกวันนี้กลายเป็นอาหารที่มีความต้องการสูงจนถึงกับต้องเพาะพันธุ์กันแล้ว “ปลาหมอคางดำ” กลายเป็นประเด็นที่สังคมต้องการหาต้นตอที่ทำให้ปลาหลุดสู่แหล่งน้ำ โดยมี NGO ที่พุ่งเป้าไปที่การนำเข้าปลาหมอคางดำ เพื่อวิจัยของบริษัทเอกชนเพียงรายเดียว ผ่านการนำเสนอข้อมูลและภาพต่าง ๆ ผ่านเวทีสาธารณะและโซเซียลมีเดีย โดยอ้างอิงว่าได้ข้อมูลเหล่านั้นมาจากอดีตพนักงานที่ทำงานในฟาร์มวิจัยแหล่งนั้น กระทั่งบริษัทต้องออกมาแถลงข่าว ชี้ให้เห็นถึงการบิดเบือนข้อเท็จจริง และได้รวบรวมข้อมูลเพื่อเตรียมฟ้องร้องดำเนินคดีต่อไป ขณะที่ คณะกรรมการสิ่งแวดล้อม สภาทนายความ และคณะทำงานสำนักงานคดีปกครอง เตรียมยื่นฟ้องแพ่งต่อบริษัท และฟ้องคดีปกครองต่อกรมประมง จากกรณีปลาหมอคางดำ โดยใช้หลักฐาน ข้อมูลงานวิจัยสองฉบับของกรมประมง ซึ่งมีรายงานผลการศึกษา จุดที่พบการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ […]

‘หมอคางดำ’ ใส่ลังโฟมน็อคน้ำแข็ง ผ่านไป 5 ชม.ไม่ตายแค่สลบ!

3 สิงหาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ดร.สุรพล สินเกตุ นักล่าปลาหมอคางดำที่ได้ขับขี่รถจักรยานยนต์คู่ใจ ออกจากบ้านช่วงตั้งแต่เวลาตี 5 ของเช้ามืดที่ผ่านมา เพื่อออกล่าปลาหมอคางดำ ไปทำเมนูอาหาร และแจกจ่ายให้กับเพื่อนฝูงที่รู้จักทุกวัน วันนี้ไปกันที่บริเวณคลองชลประทานพงสวาย – บางป่า อ.เมือง จ.ราชบุรี หลังจากที่ปลาหมอคางดำได้หนีน้ำเสียมาจากตำบลสามเรือน ตำบลพิกุลทอง เข้ามาอาศัยอยู่บริเวณคลองบางกระดี่ และคลองพงสวาย – บางป่า ซึ่งเป็นคลองที่เชื่อมต่อกัน มาปะปนอาศัยอยู่กับปลาชนิดอื่น ๆ จำนวนมาก ดร. สุรพล เผยว่า ตอนเช้ามืดจะเห็นปลาหมอคางดำ ตัวเล็ก ตัวน้อย ตัวใหญ่ ขึ้นลอยหัวอยู่เหนือน้ำ พูดได้ว่ามีตลอดทั้งสายน้ำ เห็นแต่ปลาหมอคางดำขึ้นลอยหัว ปะปนกับปลาอื่น ๆ โดยตนได้ใช้แหเหวี่ยงแต่ด้วยพื้นที่บริเวณริมคลองเป็นป่าขึ้นรก ยากต่อการเหวี่ยงแห แต่ก็พยายามเหวี่ยงขึ้นมาได้ พบว่าได้มี ปลาหมอคางดำ ปลานิล ปลาตะเพียน ปลาสร้อย และปลาแขยง ติดขึ้นมา จากนั้นก็จะเอามาใส่ในลังโฟม ที่บรรทุกอยู่ท้ายรถจักรยานยนต์ เพื่อแช่น้ำแข็งไว้ไม่ให้ปลาเน่าเสีย แล้วก็จะย้ายที่เหวี่ยงแหไปเรื่อยๆ จนเวลาผ่านไปเกือบ 5 […]

นักล่าทำงาน ผ่าปลากะพงพิสูจน์พบกินปลาหมอคางดำจริงๆ

เมื่อเวลาประมาณ 14.00 น. ของวันที่ 24 กรกฎาคม 2567 นายเผดิม รอดอินทร์ ประมงจังหวัดสมุทรสาคร เปิดเผยว่า จุดที่พบว่าปลากะพงกินลูกปลาหมอคางดำ อยู่ที่คลองสุนัขหอน บริเวณวัดบางน้ำวน ต.บางโทรัด อ.เมือง จ.สมุทรสาคร ซึ่งพบว่าจุดดังกล่าวมีปลาหมอคางดำมากพอสมควร และหลังจากที่พบปลาหมอคางดำในท้องปลากะพง ถือว่าวิธีดังกล่าวเป็นมาตรการเสริม เพราะพิสูจน์ได้ว่าปลานักล่าที่ปล่อยไปมันกินจริง และที่เราพบนั้นปลากะพงเป็นไซส์ที่เราปล่อยไป เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา หน้าวัดกำพร้า ต.บางหญ้าแพรก อ.เมือง จ.สมุทรสาคร โดย ปลากะพง ไซส์นี้เติบโตมาโดยไซส์เกือบประมาณครึ่งกิโลกรัม หรือบางตัวมากกว่า ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งอาหาร ประมงจังหวัดสมุทรสาคร กล่าวต่อว่า จากนั้นเมื่อทางชาวประมงในพื้นที่เห็นสื่อเขาตีข่าวว่า มันจะทำไม่ได้ ปลากะพงไม่กินปลาหมอคางดำ ชาวประมงเขาก็เอามีดไปด้วยตอนจับปลา และผ่ามาให้ดู โดยพิสูจน์ด้วยความจริงและทำให้เห็น โดยการผ่าปลากะพง พบว่ากินลูกปลาหมอคางไป 3 ตัว ที่อยู่ในท้อง นอกจากนี้ตัวอื่นๆ มันก็กิน ซึ่งถือว่าเป็นการช่วยตัดวงจรการขยายพันธุ์ของปลาหมอคางดำอีกทางหนึ่ง นายเผดิม กล่าวอีกว่า ตรงนี้เราก็มีการกำชับชาวประมงเกี่ยวกับการจับปลากะพง โดยขอความร่วมมือจากชาวประมงพื้นบ้านว่า […]

“ชิปปิ้ง”กรอกข้อมูลผิด 4 ปี ส่งออกหมอคางดำ กลายเป็น “ปลาหมอเทศ”

จากข้อมูลกรมประมงพบว่า บริษัทที่ส่งออกปลาหมอคางดำมากเรียงตามลำดับจำนวนส่งออกมากไปน้อย ดังนี้ หจก.ฉาง ซิน เอ็นเตอร์ไพร์ ส่งออก 162,000 ตัว, หจก. ซีฟู้ดส์ อิมปอร์ต-เอ็กซ์ปอร์ต 30,000 ตัว, บจก.นิว วาไรตี้ 29,000 ตัว, บจก. พี.แอนด์.พี อควาเรี่ยม เวิลด์ เทรดดิ้ง 3,638 ตัว, บจก.ไทย เฉียน หวู่ 2,900 ตัว ส่วนอีก 6 บริษัท ประกอบด้วย บจก. แอดวานซ์ อควาติก บจก.เอเชีย อะควาติคส์ บจก.หมีขาว หจก. วี. อควาเรียม บจก.สยามออร์นา เมนทอล ฟิช และ หจก.สมิตรา อแควเรี่ยม มีการส่งออกจำนวน 100-900 ตัว อย่างไรก็ดี อธิบดีกรมประมง บัญชา […]

กรมราชทัณฑ์ สั่งเปลี่ยนใช้ “ปลาหมอคางดำ” ทำอาหารแทนปลาชนิดอื่น

กรมราชทัณฑ์ เผยแพร่เอกสารประกาศเปลี่ยนเมนูอาหารของผู้ต้องขังในเรือนจำ ให้เปลี่ยนเมนูปลาชนิดอื่นเป็นปลาหมอคางดำแทนทั้งหมด ระบุรายละเอียดดังนี้ จากกรณีการแพร่ระบาดของ ปลาหมอคางดำ ที่สร้างความเดือดร้อนให้ประชาชนในหลายพื้นที่ เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี สั่งการให้ทุกกระทรวง ทบวง กรม ดำเนินมาตรการเร่งด่วน เพื่อแก้ไขปัญหาการระบาดของปลาหมอคางดำ ไม่ให้ส่งผลกระทบต่อประชาชน กรมราชทัณฑ์ตระหนักดีว่าขณะนี้การแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำเป็นความเดือดร้อนของประชาชนในหลายพื้นที่ ดังนั้นกรมราชทัณฑ์จึงพร้อมนำศักยภาพขององค์กรเข้ามาช่วยสนับสนุนการแก้ไขอย่างบูรณาการกับทุกภาคส่วน และลงมือปฏิบัติการเชิงรุกในหลายมิติตามนโยบายของ พ.ต.อ. ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน ดังนี้ สนับสนุนการบริโภคปลาหมอคางดำ โดยกรมราชทัณฑ์ได้พิจารณาปรับเปลี่ยนรายการอาหารดิบรายสิ่ง โดยจะทำหนังสือไปยังหน่วยงานต่างๆ ที่เป็นคู่สัญญากับเรือนจำ เพื่อขอความร่วมมือในการจัดส่งปลาหมอคางดำไปทำอาหารแทนปลาชนิดอื่น สนับสนุนกิจกรรมจับปลาหมอคางดำ โดยนำผู้ต้องขังที่ผ่านเกณฑ์ตามระเบียบกรมราชทัณฑ์ว่าด้วยการส่งนักโทษเด็ดขาดออกไปทำงานสาธารณะ หรืองานอื่นใดเพื่อประโยชน์ของทางราชการนอกเรือนจำ พ.ศ. 2566 (มีทักษะด้านการประมง / จับปลา) ออกมาจับปลาหมอคางดำให้กับภาครัฐ ชุมชน และภาคสังคม ที่ประสบปัญหาความเดือดร้อนจากปลาหมอคางดำ โดยสามารถสอบถามมายังเรือนจำหรือทัณฑสถานในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ รวมถึงให้เรือนจำและทัณฑสถานติดต่อไปยังจังหวัด เพื่อให้ความร่วมมือในกิจกรรมดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ภารกิจดังกล่าวจะต้องปฏิบัติตามหลักมาตรฐานความปลอดภัยจากการทำงานของผู้ต้องขังนอกเรือนจำ สอดคล้องตามหลักสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานอย่างมีประสิทธิภาพ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการนำผู้ต้องขังออกทำงานสาธารณะช่วยเหลือสังคม นอกจากจะเป็นการช่วยบรรเทาทุกข์แล้ว ยังเป็นการสร้างทัศนคติที่ดีต่อสังคม และปลูกฝังจิตสาธารณะให้แก่ผู้ต้องขังได้ทำกิจกรรมตอบแทนสังคม เพื่อชดเชยความผิดที่ตนได้กระทำ พร้อมกลับตัวเป็นพลเมืองดีภายหลังพ้นโทษต่อไป  

CPF ประกาศรับซื้อ “ปลาหมอคางดำ” 2 ล้านกก. ราคากิโลกรัมละ 15 บาท

นายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ประกาศความร่วมมือกับคณาจารย์จาก 3 สถาบันการศึกษาชั้นนำ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) และมหาวิทยาลัยขอนแก่น รวมทั้งโรงงานผลิตปลาป่น เพื่อบูรณาการแก้ไขสถานการณ์ของปลาหมอคางดำ นายประสิทธิ์ เปิดเผยว่า บริษัทตระหนักดีว่า ขณะนี้การแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำเป็นความเดือดร้อนของประชาชนในหลายพื้นที่ สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับตอนนี้ คือ การร่วมมือและสนับสนุนการจัดการปัญหาเพื่อบรรเทาผลกระทบอย่างเร่งด่วน ในฐานะภาคเอกชน บริษัทสนับสนุนแผนปฏิบัติการ 5 โครงการ ร่วมแก้ไขปัญหานี้ของภาครัฐตามศักยภาพของบริษัท ต้องขอบคุณ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ที่มอบหมายให้ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเดินหน้ามาตรการแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วน ประกอบกับ นายบัญชา สุขแก้ว อธิบดีกรมประมงที่เข้มแข็งลงมือปฏิบัติการเชิงรุกอย่างเต็มรูปแบบเพื่อลดจำนวนปลาหมอคางดำไม่ให้ส่งผลกระทบต่อประชาชน “บริษัทพร้อมนำศักยภาพขององค์กรเข้ามาช่วยสนับสนุนการแก้ไขอย่างบูรณาการกับทุกภาคส่วน และลงมือปฏิบัติการเชิงรุกในหลายมิติตามแนวทางของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน โดยมีแผนปฏิบัติการเชิงรุก 5 โครงการ” ดังนี้ โครงการที่ 1 : ทำงานร่วมกับกรมประมงสนับสนุนการรับซื้อปลาหมอคางดำจากทุกจังหวัดทั่วประเทศที่มีการระบาด ราคา 15 […]

error: