รมว.รับทราบ! สั่งตรวจสอบด่วน หนุ่มไอทีปลิดชีพเพราะภาระงาน

Advertisement น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยถึงกรณีที่มีข่าวพนักงานอายุ 35 ปี สังกัดสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) มีภาวะเครียดจากงาน ก่อเหตุจบชีวิตในรถยนต์ บริเวณลานจอดรถมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งใน จ.ปทุมธานี Advertisement อ่านเพิ่มเติม : สลดหนุ่มไอทีปลิดชีพ แม่ร่ำไห้เผย ลูกบ่นเครียดงาน แต่ลาออกไม่ได้ หลังจากได้ทราบข่าว ตนได้สั่งการให้คณะกรรมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (กวทช.) ซึ่งกำกับดูแล สวทช. และคณะอนุกรรมการบริหารทรัพยากรบุคคลเข้าไปตรวจสอบสาเหตุว่าเกี่ยวข้องกับงานและการบริหารงานหรือไม่ Advertisement รวมถึงให้ ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล ปลัดกระทรวง อว. เข้าติดตามและตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อหาต้นตอของปัญหาและหาทางแก้ไข โดยให้รายงานผลการตรวจสอบมาที่ตนโดยด่วน ขอแสดงความเสียใจ และขอฝากความห่วงใยไปยังครอบครัวผู้เสียชีวิต การสูญเสียที่เกิดขึ้น ตนและกระทรวง อว. ไม่ได้นิ่งนอนใจ เพราะเป็นการสูญเสียทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่าขององค์กร หากสาเหตุการเสียชีวิตเกิดจากปัญหาการบริหารภายในองค์กรจริง ก็จะต้องมีการแก้ไขอย่างจริงจัง เพื่อดูแลบุคลากรของกระทรวง อว. ให้ดีที่สุด และไม่ให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำรอยอีก ข่าวจาก ข่าวสดออนไลน์

กสร.เตือนนายจ้าง! ห้ามบังคับลูกจ้างทำงานวันหยุดหากจำเป็น ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อนและต้องจ่ายค่าทำงานในวันหยุดด้วย!

  7 ก.ค.61 เว็บไซต์ thaigov.go.th ซึ่งเป็นเว็บไซต์ของรัฐบาลไทยรายงานว่า กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เตือนนายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในวันหยุดผิดกฎหมาย หากจำเป็น ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อนและต้องจ่ายค่าทำงานในวันหยุด นายอนันต์ชัย อุทัยพัฒนาชีพ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เปิดเผยว่า พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กำหนดห้ามไม่ให้นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในวันหยุด เพื่อให้ลูกจ้างได้มีโอกาสพักผ่อนหรือทำกิจธุระ  อย่างไรก็ตามหากนายจ้างมีความจำเป็นต้องให้ลูกจ้างทำงานในวันหยุดเพื่อประโยชน์แก่การผลิต จำหน่าย และบริการอาจให้ลูกจ้างทำงานได้ แต่ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อนเป็นคราว ๆ ไป ทั้งนี้เมื่อให้ลูกจ้างทำงานแล้วนายจ้างจะต้องจ่ายค่าทำงานในวันหยุดให้กับลูกจ้าง โดยจ่ายไม่น้อยกว่า 1 เท่า ของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนที่ทำ สำหรับลูกจ้างที่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุดหรือลูกจ้างรายเดือน และจ่ายไม่น้อยกว่า 2 เท่า สำหรับลูกจ้างที่ไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุดหรือลูกจ้างรายวัน นายอนันต์ชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า กรณีที่นายจ้างฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎหมายจะมีโทษสูงสุดคือ จำคุก ไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ กสร.จึงขอให้นายจ้างปฏิบัติให้ถูกต้อง หากมีข้อสงสัยหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสอบถามได้ที่ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1 ถึง 10 สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดทุกจังหวัด หรือโทรศัพท์สายด่วน 1506 กด […]

error: