ภูมิธรรมเผย “พระสงฆ์” เป็นพลเมืองตามกฎหมาย รับวอลเล็ตได้!

Advertisement 25ก.ค.67 มติชนออนไลน์ รายงานว่า ที่ทำเนียบรัฐบาล นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวถึงข้อสงสัยประเด็นการจ่ายเงิน 10,000 บาท ผ่านโครงการดิจิทัลวอลเล็ต ในส่วนของพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์ถือเป็นพลเมืองได้สิทธิตามโครงการ เช่นเดียวกับผู้ป่วยติดเตียงนั้นไม่มีปัญหา ได้รับสิทธิตามปกติ โดยใช้บัตรประชาชนซึ่งจะมีเลข 13 หลักประจำบุคคลอยู่แล้วซึ่งจะมีการเปิดให้ลงทะเบียนในครั้งที่สองและจะมีการแถลงข่าวในรายละเอียดให้ทราบอีกครั้ง Advertisement Advertisement ในส่วนร้านอาหารต่างๆ นั้นก็อยู่ในขอบข่าย แต่ขอให้รอทางกระทรวงพาณิชย์จะเป็นผู้แถลงถึงความชัดเจนอีกครั้ง อย่างไรก็ตามขณะนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังดูในรายละเอียดสำหรับผู้ที่ไม่ได้ใช้สมาร์ทโฟนว่าจะใช้วิธีการและช่องทางใดบ้างในการอำนวยความสะดวก

เปิดเหตุผลและอัตราเงินเดือนสงฆ์ไทย พระสังฆราชเจ้าได้สูงสุด เดือนละ37,700 เลขาเจ้าคณะตำบลเดือนละ1,200

นิตยภัต หรือ เงินเดือนพระสงฆ์ คือ ค่าภัตตาหารที่พระมหากษัตริยถวายแก่ภิกษุสามเณร สมัยก่อน พระมหากษัตริย์จะทรงมีพระราชศรัทธาถวาย ภัตตาหาร อัฐบริขาร และพระราชทานเบี้ยหวัดเป็นรายปีแก่พระสงฆ์ ก่อนที่ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก จะโปรดให้ยุบเลิกเบี้ยหวัดรายปี เปลี่ยนเป็นเบี้ยหวัดรายเดือนแทน และทรงโปรดให้วางอัตรานิตยภัตตามลำดับชั้นสมณศักดิ์ฐานันดร ฉะนั้นการถวาย เงินเดือนพระสงฆ์ เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติศาสนกิจ ด้านการบริหาร การปกครอง การศาสนศึกษา การเผยแผ่พระพุทธศาสนา และด้านสาธารณูปการ และเป็นค่าภัตตาหารประจําตามความเหมาะสม และเป็นการทํานุบํารุงส่งเสริมพระพุทธศาสนาให้มีความเจริญมั่นคงสืบไป โดยการปรับปรุงอัตรานิตยภัตให้เหมาะสมกับสภาวะของเศรษฐกิจและสังคมในแต่ละช่วงที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี ส่วนหน้าที่เบิกจ่ายเงินเดือนพระสงฆ์เป็นของรัฐบาล อัตราเงินเดือนพระสงฆ์ (นิตยภัต) ที่ใช้อยู่ปัจจุบันอ้างอิงจากคณะรัฐมนตรีเมื่อปี 2554 ที่ให้แก่พระที่มีสมณศักดิ์ทั้งหมด 76 สมณศักดิ์ ตั้งแต่สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ไปจนถึง เลขานุการเจ้าคณะตำบล ดังนี้ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า 37,700 บาท สมเด็จพระสังฆราช 34,200 บาท ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช 30,800 บาท สมเด็จพระราชาคณะ 27,400 บาท กรรมการมหาเถรสมาคม 23,900 บาท เจ้าคณะใหญ่หนต่างๆ (ม/ธ) 23,900 […]

พระพยอมเผย พระกระโดดกำแพงช่วยโยมเจตนาดีไม่อาบัติ นานทีมีข่าวดีวงการสงฆ์บ้าง

จากกรณี เหตุพระสงฆ์ 2 รูป กระโดดข้ามกำแพงวัด หลังได้ยินเสียงร้องขอความช่วยเหลือจากหญิงสาวชาวบ้าน เพราะมีคนร้ายบุกเข้าไปทำร้ายแม่ของตัวเอง ซึ่งเมื่อคนร้ายเห็นพระ 2 รูป วิ่งเข้ามาช่วยเหลือญาติโยมที่โดนทำร้าย ทำให้ตกใจกลัว วิ่งหนีออกจากร้านชำ ก่อนจะขี่ จยย. หลบหนีไป เหตุเกิดในพื้นที่ อ.เมือง จ.ระยอง ซึ่งมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่า เป็นพระกระโดดกำแพงของจริง ตามที่ปรากฏเหตุการณ์ไปแล้วนั้น เกี่ยวกับเรื่องนี้ เมื่อวันที่ 2 มี.ค. พระพยอม กลฺยาโณ เจ้าอาวาสวัดสวนแก้ว ต.บางเลน อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี ได้ให้ความเห็นในเรื่องนี้ว่า ถือเป็นเรื่องเจตนาดี แต่ลนลานมากไปนิด เลยกระโดดข้ามกำแพง เป็นครั้งแรกเท่าที่เห็นภาพ พระเจตนาดี แต่ถ้าไปจับตัวจับต้องไปช่วยผู้หญิงต้องระมัดระวัง ถ้าเขาตกน้ำ โดดจับช่วยขึ้นมาแล้วปล่อย ไม่มีปัญหาว่าเป็นอาบัติ แต่ถ้าจับด้วยความกำหนัด จับขึ้นน้ำมาแล้วไม่ปล่อย อันนี้จะเป็นอาบัติได้ เพราะฉะนั้นการช่วยถือว่าดี ถ้าช่วยแล้วเรียบร้อยด้วยก็จะดีกว่านี้ พระวิ่ง ผู้หญิงวิ่ง ช้างศึกวิ่ง ดูไม่ดี ม้าพระราชาวิ่งกระโดดโลดเต้นก็ดูไม่ดี กรณีนี้ต้องยกเว้น เพราะว่าถ้าช้าไปอาจจะไม่ทันการ โจรอาจจะทุบตีโยมผู้หญิง […]

“พร้อมจ่ายไหม” ชายแต่งกายคล้ายพระ อ้างเป็นจนท.รัฐ เรียกเก็บภาษีป้าย

ชายแต่งกายคล้ายพระ อ้างเป็น เจ้าหน้าที่รัฐ เรียกเก็บภาษีป้ายโฆษณาหน้าร้าน ก่อนเหลือบเห็นกล้องวงจรปิด รีบเดินออกจากร้านซ้อนจักรยานยนต์หลบหนี วันที่ 27 ธ.ค.2564 ที่ร้านตี๋ ชัตเตอร์ ตั้งอยู่เลขที่ 23/2 ม.12 ชุมชนหนองบัว ต.รอบเวียง อ.เมือง จ.เชียงราย นายธิติ นายทเศรษฐ หรือ ตี๋ อายุ 33 ปี เจ้าของร้านรับถ่ายภาพพระเครื่อง พระบูชา และเครื่องรางของขลัง เปิดเผยว่า ได้เกิดเหตุการณ์ชายแต่งกายคล้ายพระอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐปลอมตัวมาเพื่อตรวจสอบการเสียภาษีป้ายโฆษณาหน้าร้าน และจะขอเรียกเก็บเงิน แต่ถูกกล้องวงจรปิดของร้านจับภาพไว้ได้ จึงรีบหนีออกจากร้านไป นายธิติ กล่าวต่อว่า โดยเหตุการณ์ดังกล่าว เกิดขึ้นเมื่อเวลาประมาณ 13.00 น.ของวันที่ 24 ธ.ค. ขณะที่ตนกำลังถ่ายภาพพระเครื่องอยู่ ก็มีชายแต่งกายคล้ายพระอายุวัยกลางคน เดินเข้ามาภายในร้าน โดยมีชายอีกคนนั่งคร่อมรถจักรยานยนต์อยู่ ซึ่งได้ถามเรื่องป้ายโฆษณาหน้าร้านว่าเสียภาษีไหม ตนก็ตอบไปว่า ยินดีจะจ่ายอยู่แล้วแต่ว่าร้านเพิ่งเปิดได้ 1 สัปดาห์ ซึ่งชายดังกล่าวบอกว่า “เขามาเก็บเอง” ตนจึงบอกว่ามี 2 กรณีที่จะไปจ่ายเองหรือรอเขามาเก็บ […]

error: