ฉางอาน ทุบราคารถไฟฟ้าสูงสุด 2 แสน ลูมิน เหลือ 3.79 แสนบาท

Advertisement จากกรณีมี ผู้บริโภค โพสต์โปรลดราคารถไฟฟ้าค่ายฉางอัน ซึ่งเป็นรุ่น S07 จากราคา 1.399 ล้านบาท เหลือ 1.19 ล้านบาท ซึ่งลดลงไปกว่า 2.8 แสนบาทนั้น Advertisement เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน แหล่งข่าวดีลเลอร์ฉางอานในเขตพื้นที่ กทม. เปิดเผยกับ ประชาชาติธุรกิจ ว่า ล่าสุดทางฉางอานได้แจ้งปรับลดราคาขายลง โดยดีพอลทั้ง 2 รุ่น ประกอบด้วย S07 และ L07 ขยับราคาลง 2 แสนบาท จากเดิม S07 ราคา 1.39 ล้านบาท เหลือ 1.19 ล้านบาท และ L07 จากราคา 1.32 ล้านบาท เหลือ 1.12 ล้านบาท ส่วนฉางอาน ลูมิน จากราคา 4.79 […]

“สุริยะ”ขอศึกษาไม่ถึงปี​ “เก็บภาษีรถติด” จ่อคิดเก๋งคันละ40-50

22 ต.ค.67  ที่ทำเนียบรัฐบาล นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คมนาคม​ กล่าวชี้แจงกรณีที่พรรคเพื่อไทย​โพสต์สำรวจความเห็นด้วย​ เรื่องเก็บค่าธรรมเนียมรถติด เพื่อทุกคนได้ใช้รถไฟฟ้า​ 20​ บาทตลอดสาย​ว่า​ รัฐบาลมีความพยายามขยายไปให้มีรถไฟฟ้า 20 บาทในเส้นอื่นๆ​ และกำลังเร่งดำเนินการเรื่อง​ พ.ร.บ.ตั๋วร่วม จะเริ่มได้กันยายนปี 2568​ เมื่อพูดถึงเรื่องการตั้งกองทุนเพื่อจะซื้อรถไฟฟ้าทุกสายนั้น การจะซื้อรถไฟฟ้าทุกสายได้ การขนส่งทางรางก็ต้องมีแหล่งรายได้ด้วย เพื่อที่จะมีเงินไปซื้อรถไฟฟ้า และเมื่อดูการศึกษาในหลายประเทศ เรื่องแก้ปัญหาเรื่องรถติดก็พบว่า​มีการเก็บเงิน หรือเรียกว่าภาษีรถติด​ ดังนั้น​ ตอนนี้กระทรวงคมนาคม​กำลังศึกษาว่าจะเก็บที่ไหนอย่างไร ให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชน เชื่อว่าหากประชาชนใช้รถไฟฟ้าในราคาถูกมาก ๆ​ ก็จะมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น อีกทั้งปัจจุบันเราก็รู้ดีว่า​การใช้รถยนต์ของตัวเองมีค่าใช้จ่ายจำนวนมาก​ และกว่าจะกลับถึงบ้านก็ใช้เวลานานมาก​ ความสุขในครอบครัวก็ไม่มี อย่างไรก็แล้วแต่​ เรื่องของการเก็บภาษีรถติดเราจะให้มีการศึกษาก่อนว่า​ผลออกมาดี หรือไม่ดีอย่างไร หลังจากนั้นก็จะอธิบายให้ประชาชนฟัง ทั้งนี้​ ผลการศึกษาดังกล่าวน่าจะใช้เวลาประมาณสัก 6 เดือน ถึง ​1 ปี​ แต่เรื่องของรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายต้องทำให้เสร็จก่อน โดยยืนยันว่า​ปีหน้าได้แน่นอน​ สำหรับตุ๊กตาที่วางไว้มีตั้งแต่ 40-50 บาท​ต่อวัน​ โดยเป้าหมายจะเก็บในเส้นทางที่มีรถไฟฟ้า เพราะเมื่อมีรถไฟฟ้าแล้ว […]

สุริยะ ดึงงบ รฟม. 1.6 หมื่นล้าน ทำรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ทุกสี

10 กันยายน นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า สำหรับความคืบหน้านโยบาย 20 บาทตลอดสายนั้น ขณะนี้กระทรวงคมนาคมกำลังตั้งคณะการทำงาน เพื่อเร่งรัดการดำเนินงานในรายละเอียดต่างๆ ที่จะทำให้นโยบายมาตรการค่าโดยสารรถไฟฟ้าสูงสุด 20 บาทตลอดสายเกิดขึ้นได้จริงกับรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล ทุกสี ทุกสาย ตามเป้าหมายในเดือน กันยายน 2568 เพื่อช่วยลดค่าครองชีพให้กับประชาชน นายสุริยะเผยว่า ตั้งแต่เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2566 กระทรวงคมนาคมได้นำร่องมาตรการดังกล่าวกับรถไฟฟ้าแล้ว 2 สาย ได้แก่ รถไฟชานเมืองสายสีแดง (รถไฟฟ้าสายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน และรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง ช่วงเตาปูน-บางใหญ่ ซึ่งประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี และปริมาณผู้โดยสารทั้ง 2 สายเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นายสุริยะกล่าวอีกว่า นอกจากมีการตั้งคณะการทำงานแล้วนั้น ยังได้มอบหมายคณะแบ่งกันติดตามดูแลรายละเอียดในแต่ละเรื่องว่ามีติดขัดตรงไหน อย่างไรบ้าง จะทำให้งานเดินหน้าได้เร็วขึ้น อาทิ การผลักดันร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม และการจัดหาเงินเข้ากองทุนส่งเสริมระบบตั๋วร่วม สิ่งเหล่านี้ต้องเร่งดำเนินการ โดยเฉพาะร่างกฎหมายตั๋วร่วม ซึ่งจะต้องพยายามผลักดันให้มีผลบังคับใช้ก่อนเดือนกันยายน 2568 […]

“สุริยะ” ลุยตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐานซื้อสัมปทานรถไฟฟ้าตั๋ว 20 บาทตลอดสาย

การลงทุนโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลกระทรวงคมนาคม มีเป้าหมายพัฒนาครอบคลุมการเดินทางในทุกพื้นที่ เพื่อรองรับประชาชนเข้าสู่ระบบการเดินทางด้วยรถไฟฟ้าร่นระยะเวลาเดินทาง ลดการสูญเสียพลังงานเชื้อเพลิง เพื่มมูลค่าทางเศรษฐกิจประเทศ ขณะเดียวกันหากรถไฟฟ้ามีอัตราค่าโดยสารที่สูง อาจกระทบต่อการใช้บริการ อย่างไรก็ตามรัฐมีนโยบายกำหนดอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายในทุกเส้นทาง แต่ในทางปฏิบัติสามารถดำเนินการได้เฉพาะเส้นทางที่รัฐลงทุน ได้แก่รถไฟฟ้าสายสีแดง และสายสีม่วงนับตั้งแต่รัฐบาลเศรษฐาซึ่งเป็นหนึ่งในนโยบายหาเสียงของพรรคเพื่อไทย ที่ตอกย้ำความเป็นไปของรถไฟฟ้าราคาถูก และสามารถทำได้จริง “ทักษิณ”ตอกย้ำรถไฟฟ้า20บาท เมื่อ ดร. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี โชว์วิสัยทัศน์ บนเวทีงาน Dinner Talk Vision for Thailand 2024 จัดโดย เนชั่น เมื่อค่ำของวันที่ 22 สิงหาคมที่ผ่านมา โดยระบุว่า “รถไฟฟ้า 20 บาท คงต้องทําเพราะ หัวหน้าพรรคเพื่อไทยยืนยันว่า พูดไปแล้วต้องทําให้ได้ เพราะฉะนั้น อาจจะต้องเวนคืนรถไฟฟ้าที่เอกชนบริหาร กลับมาเป็นของรัฐแล้วจ้างเอกชนเป็นคนบริหารแล้วกําหนด ค่าตั๋วเอง เพราะไม่เช่นนั้นเอกชนจะมุ่งเรื่องของกําไร เป็นสิ่งที่เราจะต้องทําต้องตั้งอินฟราสตรัคเจอร์ฟันด์ หรือว่ากองทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน และเก็บค่าธรรมเนียมรถติด“ ทั้งนี้ดร.ทักษิณมองว่าการทําให้ประชาชนสามารถเดินทางในราคาถูกขึ้นได้นั้นเป็นเรื่องที่ดี เพราะวันนี้คนที่เดินทาง ถ้าเดินทางโดยรถไฟฟ้านอกจากสะดวกรวดเร็วแล้ว คุณภาพชีวิตดีขึ้นมาก อย่างไรก็ตามวิสัยทัศน์ดังกล่าวถูกพูดถึงเป็นวงกว้าง ล่าสุดกระทรวงคมนาคม […]

คมนาคมออกกฎ “ประกันประชาชน” กรณีเสียหายจากการเดินทางด้วยรถไฟฟ้า

วันที่ 27 เมษายน 2567 นางรัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาล โดยกระทรวงคมนาคม (คค.) คำนึงถึงความปลอดภัยสูงสุดของประชาชน เพื่อให้ได้รับการบริการจากรัฐอย่างปลอดภัย ครอบคลุม และมีหลักประกันได้รับการชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้น เนื่องมาจากการให้บริการของรถไฟฟ้า โดยเฉพาะในบริเวณที่มีการใช้ตั๋วโดยสารให้ได้รับความคุ้มครองที่เหมาะสม และให้ครอบคลุมไปถึงผู้รับสัมปทานกิจการรถไฟฟ้า รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า สำหรับการดำเนินการโครงการรถไฟฟ้าของ รฟม. ที่ไม่ได้ให้สัมปทาน ซึ่งยังไม่มีกฎกระทรวงรองรับเกี่ยวกับประกันความเสียหายที่เกิดแก่ชีวิตและร่างกายของคนโดยสารแต่อย่างใด ดังนั้น เพื่อเป็นหลักประกันให้คนโดยสารได้รับการชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการให้บริการรถไฟฟ้า ในบริเวณที่มีการใช้ตั๋วโดยสารที่ รฟม. ดำเนินการเอง และให้ครอบคลุมถึงกรณีผู้รับสัมปทานกิจการรถไฟฟ้า จึงได้มีการออกกฎกระทรวงเพื่อรองรับการดำเนินการดังกล่าวให้ได้รับความคุ้มครองที่เหมาะสม โดย กระทรวงคมนาคม (คค.) ได้ยกร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกันความเสียหายที่เกิดแก่ชีวิตและร่างกายของคนโดยสาร พ.ศ. …. เพื่อเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกันความเสียหายที่เกิดแก่ชีวิตและร่างกายของคนโดยสารให้ได้รับการชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการให้บริการรถไฟฟ้า โดยเฉพาะในบริเวณที่มีการใช้ตั๋วโดยสารให้ได้รับความคุ้มครองที่เหมาะสม ซึ่งมีสาระสำคัญ อาทิ การกำหนดให้ รฟม. จัดให้มีการประกันภัยกับผู้รับประกันภัยตั้งแต่ 2 รายขึ้นไป สำหรับความเสียหายที่เกิดแก่ชีวิตและร่างกายของคนโดยสารซึ่งอยู่ในบริเวณที่มีการใช้ตั๋วโดยสาร ในวงเงินความคุ้มครองที่เหมาะสม โดยอย่างน้อยต้องคำนึงถึงลักษณะและประเภทของโครงการรถไฟฟ้า ตลอดระยะเวลาการให้บริการรถไฟฟ้า […]

“BTS” ย้ำข้อห้ามใช้รถไฟฟ้าช่วงสงกรานต์ บอกชัด ตัวเปียกน้ำขึ้นได้หรือไม่

9 เมษายน 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เฟซบุ๊ก “รถไฟฟ้าบีทีเอส” โพตส์ข้อห้ามในการใช้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอสในช่วงสงกรานต์ ระบุข้อความว่า ข้อห้ามในระบบบีทีเอสช่วงเทศกาลสงกรานต์ เพื่อความปลอดภัยในการเดินทาง แอดมินขอย้ำเตือนข้อปฏิบัติที่สำคัญในระบบรถไฟฟ้าบีทีเอสอีกครั้งครับ ห้ามนำสิ่งเหล่านี้เข้ามาในระบบรถไฟฟ้า พลุ ประทัด ดอกไม้ไฟ ลูกโป่ง อาวุธ ของมีคม ปืนบีบีกัน เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือ แอลกอฮอล์มากกว่า 500 มล. วัตถุไวไฟ/วัตถุอันตราย และห้ามสูบบุหรี่ในระบบรถไฟฟ้า นอกจากนี้ ยังมีข้อแนะนำ 3 ข้อปฏิบัติ ในการใช้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอสช่วงสงกรานต์ ดังนี้ เทน้ำ เทแป้ง ออกก่อน ทางเข้าสถานีจะมีถังให้เทน้ำ และแป้งออกให้หมด ก่อนเข้าระบบรถไฟฟ้า ตัวไม่เปียก เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน หากตัวเปียกโชก เจ้าหน้าที่อาจขอให้ผู้โดยสารยืนรอสักครู่ครับ เพื่อความปลอดภัยในการใช้บริการ เช็ดตั๋ว เช็ดน้ำ และแป้งบนบัตรโดยสาร ออกให้หมดก่อนนำไปใช้งาน เพราะอาจทำให้อุปกรณ์มีปัญหาได้ เนื่องจากไม่อนุญาตให้ผู้โดยสารเล่นน้ำสงกรานต์ในระบบเดินทาง   ข่าวจาก : ไทยรัฐออนไลน์

เปิดสาเหตุ “รถไฟฟ้าสายสีเหลือง” ขัดข้อง ชาวบ้านพบน็อตร่วงหล่นจากราง

เผยสาเหตุ รถไฟฟ้าสายสีเหลืองขัดข้อง ชาวบ้านได้ยินเสียงดังสนั่น พบชิ้นน็อต เศษพลาสติก ชิ้นส่วนต่าง ๆ ร่วงหล่นจากราง ด้านแอปฯ THE SKYTRAINs รายงาน เกิดจากกระแสไฟฟ้าขัดข้อง หลังจากที่มีรายงาน รถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลือง เกิดขัดข้อง และประกาศปิดให้บริการทุกสถานีเป็นเวลาชั่วคราว เมื่อช่วงเช้าของวันที่ 28 มี.ค. 67 โดยเจ้าหน้าที่ระบุว่า เริ่มขัดข้องในเวลา 08.30 น. ก่อนที่จะประกาศปิดให้บริการเวลาประมาณ 08.52 น. จนต่อมาเวลา 10.00 น. พบรถไฟฟ้าสายสีเหลือง จอดนิ่งสงบกลางทาง ด้านล่างมีเจ้าหน้าที่คอยตามเก็บชิ้นส่วนที่ตกหล่นตลอดทาง เป็นระยะทางนับกิโลเมตรนั้น ล่าสุด ผู้อยู่อาศัยใกล้เคียง เล่าว่า เมื่อเวลา 8:00 น ตนได้ยินเสียงระเบิดดังมากตลอดทาง แต่ไม่คิดว่าเป็นอันตรายอะไร จนต่อมาได้รู้จากคนขับรถผ่านไปมา บนเส้นทางบริเวณก่อนถึงศรีนครินทร์ 39 มุ่งหน้าซีคอน ศรีนครินทร์ ว่ามีชิ้นน็อต เศษพลาสติก และชิ้นส่วนต่าง ๆ ตกลงมาใส่รถที่ขับผ่านไปผ่านมา ซึ่ง […]

สุริยะ ผุดไอเดียขึ้นภาษีน้ำมัน กทม.-ปริมณฑล จูงใจประชาชนใช้รถไฟฟ้า

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า หลังจาก พ.ร.บ.ตั๋วร่วม ผ่านการพิจารณา กระทรวงฯ จะหารือร่วมกับกระทรวงพลังงานเพื่อจัดตั้งกองทุนตั๋วร่วม วงเงินประมาณ 7,000-8,000 ล้านบาท โดยมีแนวคิดว่าปรับขึ้นภาษีสรรพสามิตน้ำมัน เบนซิน ในปั๊มน้ำมันในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ซึ่งจะมีผลต่อราคาน้ำมัน ที่จะสูงกว่าปกติประมาณ 0.50 บาทต่อลิตร เพื่อจูงใจให้ประชาชนมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะเพิ่มขึ้น และเป็นการนำเงินจากภาษีดังกล่าวเข้ากองทุน เพื่อนำมาสนับสนุนค่าใช้จ่ายตามนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาท ต่อไป “ในส่วนของการเจรจากับเอกชนในการร่วมนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายนั้น ทางกระทรวงฯ ไม่ได้มีการบังคับภาคเอกชนให้ร่วมดำเนินการ เนื่องจากเอกชนมีสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าอยู่แล้ว ซึ่งภาครัฐไม่สามารถขอให้เอกชนลดราคาค่าโดยสารได้ ทำให้ต้องใช้ พ.ร.บ.ตั๋วร่วม เข้ามาสนับสนุนในเรื่องนี้” นายสุริยะ กล่าว ด้าน นายปัญญา ชูพานิช ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวว่า ปัจจุบัน สนข.อยู่ระหว่างจ้างบริษัทที่ปรึกษา ศึกษาเรื่องพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ตั๋วร่วม พ.ศ. … ในเรื่องของการหาที่มาของแหล่งเงินในกองทุนตั๋วร่วม ว่าจะนำมาจากแหล่งทุนใด หากดำเนินการแล้วเสร็จ หลังจากนั้น […]

BYD ชี้แจงฉบับที่2 กรณีเก๋งไฟไหม้ พบชุดสายไฟเชื่อมต่อแบตเสียหาย เตรียมเปลี่ยนอะไหล่ใหม่ให้

กรณีเจ้าของรถยนต์ไฟฟ้า BYD ATTO 3 ป้ายแดง นำรถไปจอดชาร์จไฟหน้าห้างใน จ.อุดรธานี ขณะพาครอบครัวมาซื้อของ เมื่อชาร์จถึง 50 เปอร์เซ็นต์ พบควันลอยออกมาจากฝากระโปรงรถ จึงเรียกเจ้าหน้าที่ควบคุมสถานการณ์ ต่อมา BYD ส่งวิศวกรชาวจีนเดินทางตรวจสอบ พร้อมนำรถเข้าศูนย์ และมอบรถสำรอง ซึ่งเป็นรถไฟฟ้าให้ลูกค้าใช้ จนกว่าจะซ่อมเสร็จ เบื้องต้น BYD และเรเว่ ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 1 ยืนยันว่า จะหาเหตุผลอย่างตรงไปตรงมา ไม่บิดเบือนข้อมูล เพื่อหวังผลทางการค้า หากเกิดจากความผิดปกติจากตัวรถจริง เรเว่จะน้อมรับความผิดนี้ และจะชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้น พร้อมหาแนวทางแก้ไข ความคืบหน้า เมื่อวันที่ 5 ก.ย.66 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บริษัท เรเว่ ออโต โมทีฟ ออกแถลงการณ์ ฉบับที่ 2 เรียนลูกค้าทุกท่าน (ฉบับที่2) ขอเรียนแจ้งความคืบหน้ากรณีรถยนต์ไฟฟ้า BYD ATTO 3 มีควันเกิดขึ้นบริเวณฝากระโปรงหน้า ขณะกำลังชาร์จไฟ DC อยู่ที่สถานีชาร์จไฟนั้น […]

“ชัชชาติ”โชว์ผลงาน 1 ปีหลังรับตำแหน่ง เคลียร์หนี้ BTS ก้อนแรก 2 หมื่นล้าน

ภายหลังการเข้ารับหน้าที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ของนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ครบ 1 ปี ได้มีการหารือเพื่อติดตามการแก้ปัญหาโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวที่บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้รับสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว หรือ รถไฟฟ้า BTS และเป็นผู้รับจ้างเดินรถไฟฟ้าส่วนต่อขยาย ก่อนที่นายชัชชาติ ระเข้ารับตำแหน่งมีการเสียงถึงแนวทางการแก้ปัญหาหนี้รถไฟฟ้าสายสีเขียวทั้งส่วนที่ต้องจ่ายให้ BTS และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) รวมถึงราคาค่าโดยสารที่ 59 บาท และการเก็บค่าโดยสารส่วนต่อขยายหมอชิต-คูคต เพื่อเป็นรายได้ของกรุงเทพมหานครที่จะใช้ชำระหนี้ ล่าสุดนายชัชชาติ ได้หารือกับผู้บริหาร BTS ถึงแนวทางการแก้ปัญหาการชำระหนี้ให้กับ นายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) วงเงินรวม 50,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นปัญหาที่นำมาสู่การฟ้องร้องศาลปกครอง นายชัชชาติ เปิดเผยภายหลังการหารือว่า การหารือครั้งนี้เพื่อหาทางออกร่วมกันว่าจะมีแนวทางปฎิบัติมีความเป็นไปได้เกี่ยวกับการใช้หนี้ให้กับภาคเอกชนอย่างไรบ้าง เนื่องจากปัญหาสะสมมานาน และได้เห็นแล้วว่าภาคเอกชนต้องแบกรับต้นทุนจากการลงทุนให้บริการ ซึ่งโครงข่ายรถไฟฟ้าได้เปิดให้บริการและแก้ไขปัญหาการเดินทางของประชาชนจริง กทม.ได้แบ่งปัญหาเกี่ยวกับรถไฟฟ้าสายสีเขียวไว้ 2 เรื่อง คือ 1. หนี้ที่เกิดจากค่าจ้างเดินรถและซ่อมบำรุง O&M (Operation […]

1 2 3
error: