ด่วน! รพ.มงกุฎวัฒนะ หยุดให้บริการผู้ป่วยบัตรทอง

Advertisement 13 ธ.ค.67 นพ.เหรียญทอง แน่นหนา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมงกุฎวัฒนะ โพสต์ข้อความผ่านเพจเฟซบุ๊ก เหรียญทอง แน่นหนา ระบุ  “ด่วนที่สุด! ได้โปรดแชร์ถึงผู้ป่วยบัตรทองจากคลินิกต่างๆที่ส่งต่อมายัง รพ.มงกุฎวัฒนะ ว่า รพ.มงกุฎวัฒนะมีความจำเป็นต้องหยุดให้บริการรับส่งต่อผู้ป่วยนอก กรณี OP-REFER จากทุกคลินิกที่ส่งต่อ รพ.มงกุฎวัฒนะ ไม่ว่าจะมีใบส่งตัวหรือไม่มีใบส่งตัวตั้งแต่เช้าวันพรุ่งนี้ วันศุกร์ที่ 13 ธ.ค.67 เป็นต้นไป Advertisement การหยุดให้บริการรับส่งต่อผู้ป่วยนอก กรณี OP-REFER นี้เป็นไปตามที่ผมได้ประกาศให้ทราบทั่วกันตั้งแต่ ต.ค.67 แล้ว และ สปสช.โดยคณะทำงานได้ยืนยันว่าจะจ่ายหนี้ค้างจ่ายกรณี OP REFER ที่คลินิกคู่สัญญาของ สปสช ส่งต่อผู้ป่วยมายัง รพ.มงกุฎวัฒนะ ภายในสิ้นเดือน พ.ย.67 แต่ สปสช ไม่สามารถหาเงินมาจ่ายหนี้ค้างจ่ายกรณี OP REFER ที่คลินิกคู่สัญญาของ สปสช ส่งต่อผู้ป่วยมายัง รพ.มงกุฎวัฒนะ จำนวนเกือบ 14 ล้านบาทได้ ทั้งนี้ยังไม่นับรวมจากการที่ สปสช […]

ปู่เจ้าก็วิกฤต! รพ.ขอรับบริจาค เหตุ30บาทรัฐไม่อุดหนุน ทำขาดทุน

จากกรณี รพ.มงกุฎวัฒนะ ยกเลิกรับบัตรทองส่งต่อคลินิกปฐมภูมิ ตั้งแต่ 1 พ.ย.นี้ ด้วย เหตุ สปสช.ติดหนี้ 20 ล้าน (อ่านต่อ : https://www.thaijobsgov.com/jobs/425258/) 28 ต.ค.67 นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เปิดเผยว่า เบื้องต้นเท่าที่ดูข้อมูลตามที่ รพ.มงกุฎวัฒนะได้หารือมานี้ มองว่าเป็นปัญหาที่สามารถพูดคุยและบริหารจัดการได้ ทั้งในส่วนของค่าบริการผู้ป่วยนอกรับส่งต่อ (OP Refer) และบริการปฐมภูมิไปที่ไหนก็ได้ (OP Anywhere) รวมถึงการจ่ายค่าบริการตามรายการบริการ (Fee schedule :FS) ซึ่ง สปสช. มีขั้นตอนในการดำเนินการ โดยเฉพาะการตรวจสอบข้อมูลการเบิกจ่าย ที่อาจทำให้ในบางส่วนเกิดความล่าช้าต่อหน่วยบริการได้ รวมถึงประกาศหลักเกณฑ์และข้อบังคับต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดผลกระทบในภายหลังขี้น อย่างไรก็ดี เพื่อให้เกิดการแก้ปัญหานี้โดยเร็ว และไม่ให้ผู้ป่วยสิทธิบัตรทองได้รับผลกระทบ ได้ตั้งคณะทำงานเพื่อหารือร่วมกับ รพ.มงกุฎวัฒนะ ในการหาข้อยุติของปัญหาต่าง ๆ ร่วมกันแล้ว ทั้งในส่วนของเบิกจ่ายชดเชย การขึ้นทะเบียนหน่วยบริการ เป็นต้น และจะนำเข้าที่ประชุมบอร์ด สปสช. […]

กมธ.สาธารณสุข ศึกษาความต่าง “บัตรทอง-ประกันสังคม”

10 ต.ค. 2567 ที่อาคารรัฐสภา  นพ.ทศพร เสรีรักษ์ ประธานคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข สภาผู้แทนราษฎร(สส.) พร้อมด้วย น.ส.กัลยพัชร รจิตโรจน์ รองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่หนึ่ง ร่วมแถลงข่าว เรื่อง พิจารณาแนวทางความเหลื่อมล้ำกรณีสิทธิการรักษาพยาบาล ระหว่างกองทุนประกันสังคมและกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  โดยมีตัวแทนจากคณะกรรมการประกันสังคม ในส่วนผู้ใช้แรงงาน ตัวแทนสํานักงานประกันสังคม และสํานักงานสภาองค์กรของผู้บริโภคร่วมให้ข้อมูล  แต่ระดับผู้บริหารของสำนักประกันสังคม และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) ไม่ได้เข้าร่วมครั้งนี้ น.ส.กัลยพัชร รจิตโรจน์ รองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่หนึ่ง กล่าวว่า วันนี้ กมธ.การสาธารณสุขได้จัดประชุมพิจารณา วาระการลดความเหลื่อมล้ำระหว่างมาตรฐานบริการสุขภาพระหว่างกองทุนประกันสังคม และ สปสช. โดยจากการพิจารณาในชั้นกมธ.มีข้อสรุปเบื้องต้นดังนี้ คือ ประกันสังคมและสิทธิหลักการสุขภาพแห่งชาติหรือที่รู้จักกันในนาม “บัตรทอง” นั้นยังไม่ได้จัดบริการการรักษาพยาบาลขั้นพื้นฐานที่มีมาตรฐานที่เท่าเทียมกัน ยกตัวอย่าง กรณีของผู้ประกันตนสิทธิประกันสังคมสมทบจ่ายค่ารักษาพยาบาลแต่กลับได้รับคุณภาพการรักษาที่ยังด้อยกว่าสิทธิบัตรทอง เปิด 3 ประเด็น บัตรทอง ดีกว่า ประกันสังคม โดยมี 3 ประเด็นสำคัญ 1. การเข้าถึงบริการคัดกรองและสร้างเสริมสุขภาพหรือที่เรียกว่า PP จุดนี้สปสช.ให้การคัดกรองที่ดีกว่า ผู้ใช้สิทธิบัตรทองสามารถใช้บริการสุขภาพปฐมภูมิ […]

เปิดรายชื่อร้านยาเจ็บป่วยเล็กน้อย 16 อาการ ผู้มีสิทธิบัตรทองรับยาตามอาการ

เปิดรายชื่อร้านยาดูแลเจ็บป่วยเล็กน้อย 16 อาการ จากกรณีที่ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ร่วมกับสภาเภสัชกรรม เพิ่มบริการ “เภสัชกรรมปฐมภูมิ” โดยเภสัชกรร้านยาในชุมชนร่วมดูแล ผู้ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง 30 บาท) เมื่อมีอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย ไม่ว่าสิทธิบัตรทองจะอยู่ที่ไหน สามารถปรึกษาเภสัชกรและรับยาตามอาการได้ที่ร้านยาที่เข้าร่วม โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ประกอบด้วย 1.ไข้/ไอ/เจ็บคอ 2. ปวดข้อ 3. เจ็บกล้ามเนื้อ 4. อาการทางผิวหนัง ผื่น คัน 5. ปวดท้อง 6. บาดแผล 7. ท้องเสีย 8. ปวดหัว 9. เวียนหัว 10. ปวดฟัน 11. ท้องผูก/ริดสีดวงทวาร 12. ถ่ายปัสสาวะขัด/เจ็บ/ลำบาก 13. ปวดประจำเดือน 14. ตกขาวผิดปกติ 15. ความผิดปกติต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับตา 16. ความผิดปกติต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับหู ผู้มีสิทธิบัตรทอง […]

สปสช. สิทธิบัตรทองอยู่ที่ไหน ยื่นบัตรประชาชนใบเดียวรักษาทุกที่

บัตรประชาชนใบเดียว สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ สปสช สำหรับผู้ถือสิทธิบัตรทองอยู่ที่ไหน สามารถยื่นบัตรประชาชนใบเดียวได้ ไม่เสียค่าใช้จ่าย และ ยังสามารถใช้บริการได้ทั่วประเทศ ล่าสุด สปสช. หรือ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้ขยายบัตรประชาชนใบเดียวเฟส 2 เพิ่มขึ้นอีก 8 จังหวัด ดังนี้ เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ สิงห์บุรี สระแก้ว หนองบัวลำภู นครราชสีมา อำนาจเจริญ พังงา บัตรประชาชนใบเดียว สปสช. ใช้สิทธิอะไรได้บ้าง ใช้บริการได้ทั่วประเทศ ดังนี้ 1. ร้านยา ผู้มีสิทธิบัตรทองยื่นบัตรประชาชนใบเดียว รับบริการปรึกษาเภสัชกรและรับยาในอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย 16 อาการได้ที่ร้านยาที่เข้าร่วมโครงการได้ทั่วประเทศ ไม่เสียค่าใช้จ่าย โดยสังเกตสติกเกอร์ “ร้านยาคุณภาพของฉัน ให้บริการดูแลอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย” นอกจากนี้ คนไทยทุกสิทธิการรักษา (ยื่นบัตรประชาชนใบเดียว) สามารถใช้สิทธิรับ ยาเม็ดคุมกำเนิด ถุงยางอนามัย ชุดทดสอบการตั้งครรภ์ ยาเม็ดเสริมธาตุเหล็ก กรดโฟลิกป้องกันโลหิตจาง ตรวจคัดกรองและประเมินปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพกาย/สุขภาพจิต โดยสังเกตสติกเกอร์ “ร้านยาของฉัน ให้บริการสร้างเสริมสุขภาพ” 2.คลินิกพยาบาลชุมชนอบอุ่น ผู้มีสิทธิบัตรทอง ยื่นบัตรประชาชนใบเดียว รับบริการ ทำแผล […]

หมอรักษาผิดพลาด ผู้ป่วยขอรับเงินช่วยเหลือบัตรทองได้ เช็กขั้นตอนได้ตามนี้

ผู้มีสิทธิ “บัตรทอง” (บัตรทอง 30 บาท) หากใช้สิทธิรักษาแล้วได้รับความเสียหายจากการรักษาพยาบาลซึ่งไม่ใช่เป็นพยาธิสภาพของโรคหรือเหตุแทรกซ้อนของโรค มีสิทธิ “ขอรับเงินช่วยเหลือบัตรทอง” เบื้องต้นได้ ตามมาตรา 41 พ.ร.บ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ความเสียหายจากการรักษาพยาบาลของหน่วยบริการ ที่ไม่ใช่พยาธิสภาพของโรคหรือเหตุแทรกซ้อนของโรค “ขอรับเงินช่วยเหลือบัตรทอง” ไม่ใช่เงินชดเชย แต่คือ การบรรเทาความเดือดร้อน ลดความขัดแย้ง ไม่พิสูจน์ถูกผิด “ขอรับเงินช่วยเหลือบัตรทอง” ประเภทอัตราการช่วยเหลือเบื้องต้น  ประเภทที่ 1 เสียชีวิต/ทุพพลภาพถาวร (240,000-400,000) ประเภทที่ 2 พิการหรือสูญเสียอวัยวะ (100,000-240,000) ประเภทที่ 3 บาดเจ็บหรือเจ็บป่วยต่อเนื่อง (ไม่เกิน 100,000 บาท ใครยื่นคำร้อง “ขอรับเงินช่วยเหลือบัตรทอง” ได้บ้าง  ระเบียบระบุไว้ว่า คนที่สามารถขอรับเงินจะต้องเป็นคนที่ได้รับความเสียหาย หรือทายาท หรือผู้อุปการะ หรือหน่วยบริการที่ให้บริหาร โดยมีระยะเวลา ภายใน 2 ปี นับตั้งแต่วันที่ทราบความเสียหาย เขียนคำร้อง “ขอรับเงินช่วยเหลือบัตรทอง” อย่างไรบ้าง  1.ชื่อ-นามสกุล ผู้รับบริการที่ได้รับความเสียหาย 2.ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการรักษาพยาบาล 3.ชื่อของหน่วยบริการที่ให้การรักษาพยาบาล 4.วันที่เข้ารับการรักษาพยาบาล […]

รัฐบาลเพิ่มสิทธิบัตรทองให้ผู้สูงอายุ เข้าถึงการรักษาและป้องกันหลายโรค

นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาลมีความห่วงใยสุขภาพของพี่น้องประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ รัฐบาลได้กำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการดูแลคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข มีสุขภาพแข็งแรง สามารถดูแลตนเองได้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ ประเทศไทยปัจจุบันได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบ โดยปี 2565 มีผู้สูงอายุ 60 ปี จำนวน 12.11 ล้านคน จากประชากรทั้งประเทศ 66 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 18 รัฐบาลโดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้เข้าดูแลผู้ป่วยสูงอายุ ผ่านสิทธิตามโครงการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือบัตรทอง ที่ครอบคลุมการรักษาพยาบาลและบริการสาธารณสุขที่จำเป็น จากข้อมูลการเข้ารับบริการโดยใช้สิทธิบัตรทอง ล่าสุดในปี 2564 มีผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 9.6 ล้านคน เข้ารับบริการแบบผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกจำนวน 64.2 ล้านครั้ง จากการรับบริการในระบบบัตรทองทั้งหมด 167 ล้านครั้ง นอกจากนี้ยังพบว่าโรคที่ผู้สูงอายุเข้ารับการรักษาบ่อยได้แก่ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ข้อเข่าเสื่อม ภาวะสมองเสื่อม หลอดเลือดหัวใจตีบ มะเร็ง และโรคตา เป็นต้น […]

เช็กสิทธิทำฟัน “สิทธิบัตรทอง” ใช้ในกรณีใดได้บ้าง และอะไรบ้างที่ไม่ได้?

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ระบุ การใช้สิทธิบัตรทอง สิทธิ 30 บาท หรือสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ในด้านทันตกรรม ว่า กรณีผู้ที่มีปัญหาช่องปาก หรือ ด้านทันตกรรม สามารถเข้ารับบริการที่สถานพยาบาลประจำตามสิทธิ โดยแสดงบัตรประชาชน หากหน่วยบริการตามสิทธิเกินศักยภาพ อุปกรณ์ไม่พร้อม จะส่งต่อไปยังสถานพยาบาลที่สามารถรักษาได้ตามขั้นตอน สิทธิประโยชน์ด้านทันตกรรมคุ้มครองอะไรบ้าง และอะไรบ้างที่ไม่สามารถใช้สิทธิได้ มีดังต่อไปนี้ สิทธิประโยชน์ด้านทันตกรรม 1.การถอนฟัน 2.การอุดฟัน  อุดคอฟัน 3.ขูดหินปูน การเกลาฟันหรือเกลารากฟัน (ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของทันตแพทย์ในการรักษา) 4.ฟันปลอมฐานพลาสติก ทั้งแบบซี่ถอดได้และแบบทั้งปากถอดได้ ฟันปลอมแบบถอดได้มีอายุการใช้งาน 5 ปี หากผู้รับบริการได้รับความเห็นจากทันตแพทย์ว่ามีความจำเป็นต้องซ่อมฟันปลอมก่อน 5 ปี ผู้รับบริการสามารถใช้สิทธิได้ 5.รักษาโพรงประสาทฟันน้ำนม  (รากฟันน้ำนม) 6.ใส่เพดานเทียมในเด็กปากแหว่งเพดานโหว่ 7.ผ่าฟันคุด (ตามข้อบ่งชี้ของทันตแพทย์) 8.เคลือบหลุมร่องฟัน (เด็กโตและวัยรุ่น อายุ 6-24 ปี) 9.การทาฟลูออไรด์วาร์นิช (เด็กอายุ 9 เดือน- 5 ปี) 10.การเคลือบฟลูออไรด์ (เด็กโตและวัยรุ่น อายุ […]

มีผลแล้ว! เจอ แจก จบ-แจก ATK ที่ร้านขายยา รับเฉพาะสิทธิบัตรทอง

เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2565 ที่ประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) ที่มีนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธาน มีมติเห็นชอบปรับหลักเกณฑ์ร้านขายยาที่เข้าร่วมบริการ “เจอ แจก จบ” รับเฉพาะผู้ป่วยสิทธิบัตรทอง 30 บาท หรือสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเท่านั้น โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 4 กรกฎาคม 2565 เป็นต้นไป อีกทั้งยังรวมถึงการแจก ATK ที่ร้านขายยาที่เดิมให้ประชาชนทุกสิทธิรักษาที่มีอาการ ปรับเป็นเฉพาะประชาชนสิทธิบัตรทอง 30 บาทที่มีอาการเข้าข่ายต้องสงสัยติดโควิด-19 สามารถขอรับ ATK ได้ฟรีที่ร้านยาเพื่อตรวจด้วยตนเอง ขณะเดียวกัน เว็บไซต์ สปสช. ระบุข้อควรปฏิบัติของผู้ที่มีอาการเข้าข่ายติดเชื้อโควิด-19 และผู้ที่ตรวจพบเชื้อโควิด-19 ที่มีสิทธิบัตรทอง ดังนี้ กรณีมีอาการเข้าข่ายว่าจะติดโควิด-19 ขอรับชุดตรวจ ATK ได้ฟรี ที่ร้านขายยาที่เข้าร่วมโครงการผ่านแอปพลิเคชั่นเป๋าตัง (รับได้เฉพาะผู้ป่วยสิทธิบัตรทอง 30 บาท หรือสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเท่านั้น) ตรวจ ATK หากขึ้น 1 ขีดไม่พบเชื้อ ไม่ติดโควิด-19 (กรณีอยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูงกักตัว 5+5 […]

อัปเดตล่าสุด สิทธิบัตรทอง ครอบคลุมสิทธิประโยชน์อะไรบ้าง? เช็กเลย!

เช็คได้ที่นี่ “สิทธิบัตรทอง” ครอบคลุม ไม่ครอบคลุมสิทธิประโยชน์อะไรบ้าง? สปสช.เคลียร์ชัดว่า ครอบคลุมค่าใช้จ่ายในบริการใดบ้าง บริการใดบ้างที่ไม่ครอบคลุม “สิทธิบัตรทอง” สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือสปสช. อัพเดทล่าสุด เพื่อความชัดเจนเกี่ยวกับสิทธิในการได้รับบริการสาธารณสุขตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ว่าครอบคลุมค่าใช้จ่ายในบริการใดบ้าง รวมทั้งบริการใดบ้างที่ไม่ครอบคลุม ประเภทและขอบเขตของบริการสาธารณสุขที่มีความจำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิต ซึ่งบุคคลมีสิทธิจะได้รับรวม 13 รายการ ได้แก่ 1. บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค 2. การตรวจวินิจฉัยโรค 3. การตรวจและรับฝากครรภ์ 4. การบำบัดและการบริการทางการแพทย์ 5. ยา เวชภัณฑ์ อวัยวะเทียม และอุปกรณ์ทางการแพทย์ 6. การทำคลอด 7. การกินอยู่ในหน่วยบริการ 8. การบริบาลทารกแรกเกิด 9. บริการรถพยาบาล หรือบริการพาหนะรับส่งผู้ป่วย 10. บริการพาหนะรับส่งผู้ทุพพลภาพ 11. การฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายและจิตใจ 12. บริการสาธารณสุขด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะ 13. บริการสาธารณสุขอื่นที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิตที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนดเพิ่มเติม ส่วนบริการที่เคยเป็นข้อยกเว้น และได้รับการเสนอให้เป็นสิทธิที่จะได้รับในฉบับนี้ เช่น • การบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาและสารเสพติดที่ไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดที่มีกำหนดเกี่ยวกับการให้บริการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด • […]

1 2
error: