ประกันสังคมเตรียมปรับ! เพิ่มเพดานค่าจ้างมาตรา 33 เป็น 1.75 หมื่น เริ่ม ม.ค. 69

Advertisement สำนักงานประกันสังคม ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำและขั้นสูงที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบกองทุนประกันสังคม พ.ศ. …. มีสาระสำคัญ เนื่องจากกฎกระทรวง ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2538) ได้กำหนดค่าจ้างขั้นสูงที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบกองทุนประกันสังคมของผู้ประกันตนมาตรา 33 ไว้ไม่เกิน 15,000 บาท ที่ใช้บังคับมาตั้งแต่วันที่ 30 มีนาคม 2538 ซึ่งค่าจ้างขั้นต่ำรายวันสูงสุดในขณะนั้นคือ 135 บาท Advertisement จึงสมควรปรับปรุงให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน และเป็นไปตามมาตรฐานเพดานค่าจ้างขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ตามอนุสัญญาฉบับที่ 102 เรื่องสิทธิประโยชน์ประกันสังคมขั้นพื้นฐาน เพื่อความเพียงพอของสิทธิประโยชน์ที่เป็นเงินทดแทนการขาดรายได้ รวมทั้งเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับกองทุนรองรับรายจ่ายค่ารักษาพยาบาลที่สูงขึ้น เพื่อการกระจายรายได้จากผู้มีรายได้มากไปสู่ผู้มีรายได้น้อยภายในระบบประกันสังคม และเพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นต่อระบบประกันสังคม สำหรับร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำและขั้นสูงที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบกองทุนประกันสังคม พ.ศ. …. มีหลักการสำคัญในการปรับเพิ่มเพดานค่าจ้างขั้นสูง ดังนี้ 1. เพื่อให้ผู้ประกันตนได้รับสิทธิประโยชน์เป็นเงินทดแทนการขาดรายได้ที่มีความเพียงพอสอดคล้องกับค่าจ้างจริง เนื่องจากฐานที่ใช้ในการคำนวณเพื่อรับสิทธิประโยชน์ดังกล่าวจะคำนวณจากค่าจ้างที่นำส่งเข้ากองทุนประกันสังคม ดังนี้ Advertisement เงินทดแทนการขาดรายได้กรณีเจ็บป่วย 50% ของค่าจ้างที่นำส่งเข้ากองทุน เงินทดแทนการขาดรายได้กรณีทุพพลภาพสูงสุด 50% ของค่าจ้างที่นำส่งเข้ากองทุน เงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร 50% ของค่าจ้างที่นำส่งเข้ากองทุน เงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิต 50% […]

ครม.ไฟเขียว 3 กฎหมายแรงงานใหม่ เพิ่มหลักประกันลูกจ้าง เริ่มบังคับใช้ปี 68

รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบร่างกฎหมาย 3 ฉบับ ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ มีเนื้อหาสำคัญ เป็นการช่วยบรรเทาความเดือดร้อนและเป็นหลักประกันในการทำงานให้กับลูกจ้างกรณีต้องออกจากงานหรือเสียชีวิต จึงต้องมีการเก็บเงินสะสมและเงินสมทบเพื่อเป็นทุนสงเคราะห์ลูกจ้างต่อไป สำหรับร่างกฎหมายทั้ง 3 ฉบับที่กระทรวงแรงานเสนอครั้งนี้ ประกอบด้วย  ร่าง พ.ร.ฎ.กำหนดระยะเวลาเริ่มดำเนินการจัดเก็บเงินสะสมและเงินสมทบเพื่อเป็นทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง พ.ศ. …. ร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราการจ่ายเงินสะสมและเงินสมทบที่จะต้องส่งให้แก่กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง พ.ศ. …. ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการสำหรับนายจ้างจัดให้มีการสงเคราะห์แก่ลูกจ้างในกรณีที่ลูกจ้างออกจากงานหรือตาย พ.ศ. …. 1.ร่าง พ.ร.ฎ.กำหนดระยะเวลาเริ่มดำเนินการจัดเก็บเงินสะสมและเงินสมทบเพื่อเป็นทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง พ.ศ. …. สาระสำคัญ : เป็นการกำหนดให้เริ่มดำเนินการจัดเก็บเงินสะสมและเงินสมทบเพื่อเป็นทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2568 เป็นต้นไป 2.ร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราการจ่ายเงินสะสมและเงินสมทบที่จะต้องส่งให้แก่กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง พ.ศ. …. สาระสำคัญ : เป็นการกำหนดอัตราเงินสะสมจากลูกจ้างและเงินสมทบจากนายจ้างที่แต่ละฝ่ายจะต้องนำส่งเข้ากองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง แบ่งเป็น 2 ช่วง ดังนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.2568 – 31 มี.ค.2573 (ระยะเริ่มต้น 5 ปีแรก) ลูกจ้างและนายจ้าง […]

เปิดชื่อ 41 จังหวัด ลดเงินสมทบประกันสังคม มาตรา 33 มาตรา 39

จากกรณีที่ สำนักงานประกันสังคม หรือ สปส.มีมาตรการเยียวยาช่วยเหลือนายจ้าง ผู้ประกันตน มาตรา 33 และ มาตรา 39 ลดอัตราเงินสมทบให้กับผู้ประกันตนเป็นเวลา 6 เดือนตั้งแต่งวดเดือน ต.ค.67 – มี.ค.68 แก่ผู้ประสบภัยน้ำท่วมในพื้นที่ 41 จังหวัด ดังนี้ กระบี่ กาญจนบุรี  กาฬสินธุ์ กำแพงเพชร ขอนแก่น  ชัยภูมิ ชุมพร เชียงราย  เชียงใหม่  ตรัง ตาก นครนายก  นครปฐม  นครพนม  นครราชสีมา นครศรีธรรมราช  นครสวรรค์  น่าน  บึงกาฬ พะเยา  พังงา พิจิตร  พิษณุโลก  เพชรบูรณ์  แพร่ ภูเก็ต มุกดาหาร  แม่ฮ่องสอน ร้อยเอ็ด ลำปาง ลำพูน เลย สตูล สระบุรี สุโขทัย  สุราษฎร์ธานี  หนองคาย หนองบัวลำภู อ่างทอง […]

error: