ประกันสังคมเตรียมปรับ! เพิ่มเพดานค่าจ้างมาตรา 33 เป็น 1.75 หมื่น เริ่ม ม.ค. 69

Advertisement สำนักงานประกันสังคม ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำและขั้นสูงที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบกองทุนประกันสังคม พ.ศ. …. มีสาระสำคัญ เนื่องจากกฎกระทรวง ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2538) ได้กำหนดค่าจ้างขั้นสูงที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบกองทุนประกันสังคมของผู้ประกันตนมาตรา 33 ไว้ไม่เกิน 15,000 บาท ที่ใช้บังคับมาตั้งแต่วันที่ 30 มีนาคม 2538 ซึ่งค่าจ้างขั้นต่ำรายวันสูงสุดในขณะนั้นคือ 135 บาท Advertisement จึงสมควรปรับปรุงให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน และเป็นไปตามมาตรฐานเพดานค่าจ้างขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ตามอนุสัญญาฉบับที่ 102 เรื่องสิทธิประโยชน์ประกันสังคมขั้นพื้นฐาน เพื่อความเพียงพอของสิทธิประโยชน์ที่เป็นเงินทดแทนการขาดรายได้ รวมทั้งเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับกองทุนรองรับรายจ่ายค่ารักษาพยาบาลที่สูงขึ้น เพื่อการกระจายรายได้จากผู้มีรายได้มากไปสู่ผู้มีรายได้น้อยภายในระบบประกันสังคม และเพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นต่อระบบประกันสังคม สำหรับร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำและขั้นสูงที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบกองทุนประกันสังคม พ.ศ. …. มีหลักการสำคัญในการปรับเพิ่มเพดานค่าจ้างขั้นสูง ดังนี้ 1. เพื่อให้ผู้ประกันตนได้รับสิทธิประโยชน์เป็นเงินทดแทนการขาดรายได้ที่มีความเพียงพอสอดคล้องกับค่าจ้างจริง เนื่องจากฐานที่ใช้ในการคำนวณเพื่อรับสิทธิประโยชน์ดังกล่าวจะคำนวณจากค่าจ้างที่นำส่งเข้ากองทุนประกันสังคม ดังนี้ Advertisement เงินทดแทนการขาดรายได้กรณีเจ็บป่วย 50% ของค่าจ้างที่นำส่งเข้ากองทุน เงินทดแทนการขาดรายได้กรณีทุพพลภาพสูงสุด 50% ของค่าจ้างที่นำส่งเข้ากองทุน เงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร 50% ของค่าจ้างที่นำส่งเข้ากองทุน เงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิต 50% […]

ก.แรงงาน ยืนยัน 1 ม.ค.2568 ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท ทั่วประเทศ

แหล่งข่าวจากกระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึงนโยบายการขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ หรือค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาทต่อวัน ตามนโยบายรัฐบาล ว่า กระทรวงแรงงานพร้อมผลักดันการปรับขึ้น 400 บาทต่อวัน ทั่วประเทศ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2568 เพื่อเป็นหนึ่งในของขวัญปีใหม่ให้กับผู้ใช้แรงงาน เนื่องจากขณะนี้ในขั้นตอนการดำเนินงานมีความชัดเจนแล้ว โดยเฉพาะการจัดตั้งคณะกรรมการค่าจ้าง หรือบอร์ดไตรภาคีชุดใหม่ ทั้งนี้ในการจัดตั้งคณะกรรมการค่าจ้างชุดใหม่เพื่อทดแทนชุดเดิมนั้น กระทรวงแรงงงาน ได้ข้อสรุปว่า จะเสนอรายชื่อผู้ดำรงตำแหน่งกรรมการฝ่ายรัฐ 2 คนที่ว่างอยู่ให้กับที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา ในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2567 นี้ โดยในส่วนของกรรมการที่เป็นอดีตผู้บริหารของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) นั้น กระทรวงแรงงานจะแก้ปัญหาด้วยการส่งกรรมการฝ่ายรัฐเป็นผู้แทนจากกระทรวงการคลังไปแทน ทั้งนี้หากที่ประชุมครม.เห็นชอบรายชื่อคณะกรรมการทั้ง 2 คนที่กระทรวงแรงงานเสนอแล้ว ในขั้นตอนต่อไป คณะกรรมการค่าจ้าง จะเริ่มต้นนัดประชุมกันนัดแรกอย่างเร็วที่สุดคือในเดือนธันวาคม 2567 นี้ และจะเร่งสรุปรายละเอียดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของคณะอนุกรรมการค่าจ้างจังหวัดที่เสนอมา โดยตั้งเป้าหมายการปรับขึ้นอัตราค่าจ้าง หรือค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาทต่อวัน ภายในวันขึ้นปีใหม่ 2568 เป็นต้นไป “ตอนนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้รับทราบรายละเอียดทั้งหมดแล้ว และจะเสนอที่ประชุมครม.ได้ในวันที่ […]

แรงงานพม่ากว่า “2ล้านคน” อาจหลุดระบบ เหตุสู้รบยังดุเดือด

12 ต.ค.67 มติชนออนไลน์ รายงานว่า นายอดิศร เกิดมงคล ผู้ประสานงานเครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ (MWG) กล่าวถึงเรื่อง มติคณะรัฐมนตรี 24 กันยายน 2567 กรณีการจดทะเบียนแรงงานข้ามชาติที่มีสถานะไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ทั้งกลุ่มที่ต้องขึ้นทะเบียนใหม่และกลุ่มต่ออายุ ใบอนุญาตทำงานของคนต่างด้าวที่ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางตามมติคณะรัฐมนตรีที่ได้รับอนุญาตทำงานถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 ในลักษณะ MOU (พิเศษ) นายอดิศรกล่าวว่า ความกังวลหลักประเด็นแรกคือ กลุ่มต่ออายุใบอนุญาตทำงานอยู่ที่วิธีการตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ซึ่งระบุให้ดำเนินการในลักษณะ MOU หมายถึงการนำเข้าคนงานใหม่ โดยให้แจ้งบัญชีรายชื่อก่อน หากได้รับการอนุมัติจะต้องเดินทางกลับไปยังประเทศต้นทางหรือตามจุดที่กรมการจัดหางานกำหนด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของแรงงานจากประเทศพม่า ซึ่งมีประมาณ 2 ล้านคน กรณีที่รัฐบาลทหารพม่ากำหนดให้แรงงานพม่าส่งเงินกลับบ้าน 25% และเสียภาษีอีก 2% ซึ่งต้องมีหลักฐานไว้แสดงว่าได้จ่ายภาษีหรือได้โอนกลับบ้านแล้ว ถ้าหากไม่ดำเนินการตามก็จะไม่ต่อหนังสือเดินทางให้ หรือไม่อนุญาตให้ออกนอกประเทศโดยเงื่อนไขนี้ ทำให้แรงงานกังวลใจและสะท้อนว่าถ้าเกิดใช้ระบบเช่นนี้จะมีปัญหาหรือไม่ เท่าที่ได้ฟังผู้ประกอบการก็มีความกังวลว่าการที่ต้องมาบริหารจัดการเรื่องคนจำนวนมากและต้องเดินทางไปติดต่อจะสามารถทำได้หรือไม่ ขณะที่ระยะเวลาค่อนข้างสั้นเพราะจะต้องยื่นเอกสารเพื่อรอให้ประเทศต้นทางแจ้งกลับมาภายในวันที่ 13 กุมภาพันธุ์ 2568 จนวันนี้ยังไม่มีตัวประกาศที่เกี่ยวข้องออกมา แม้ว่ามีมติ ครม.แต่ก็ต้องประกาศของกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงแรงงานซึ่งขณะนี้ยังไม่มีออกมา ที่ยังเป็นปัญหาพอสมควรอยู่ก็คือกลุ่มผู้ติดตาม (บุตร)  ปัญหาที่ผ่านมาก็คือระบบจดจะมีความไม่ชัดเจนจะให้นายจ้างไปยืนยันกับทางจัดหางานว่ามีผู้ติดตามกี่คน นายจ้างส่วนใหญ่ก็ไม่ไปยืนยัน […]

กสร. แจงลูกจ้างโพสต์บ่นนายจ้าง สามารถเลิกจ้างได้ โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

กสร. แจงลูกจ้างโพสต์บ่นนายจ้าง ต้องดูข้อความที่โพสต์สร้างความเสียหาย ต่อนายจ้างหรือไม่ หากไม่เสียหาย นายจ้างเลิกจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ชี้แจงกรณีลูกจ้างโพสต์บ่นนายจ้าง สามารถเลิกจ้างได้ โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ต้องพิจารณาว่าข้อความที่โพสต์มีเจตนาหมิ่นประมาทนายจ้างจนได้รับเสียหายหรือไม่หากไม่ใช่ถ้อยคำที่สร้างความเสียหายต่อชื่อเสียง หรือกิจการของนายจ้าง นายจ้างเลิกจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย นายนิยม สองแก้ว อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เปิดเผยถึงกรณีที่มีข่าวเผยแพร่บนสื่อออนไลน์ว่าลูกจ้างโพสต์บ่นนายจ้าง สามารถเลิกจ้างได้ โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ทางกรมฯได้ตรวจสอบข้อมูลจากประเด็นดังกล่าวเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และขอชี้แจงให้ทราบว่าการที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ด้วยเหตุที่ลูกจ้างโพสต์บ่นนายจ้าง ต้องดูว่าข้อความที่โพสต์เป็นข้อความที่หมิ่นประมาทนายจ้างจนได้รับเสียหายต่อชื่อเสียง หรือจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายต่อกิจการหรือไม่ หากข้อความที่โพสต์เป็นข้อความที่เข้าข่ายหมิ่นประมาทนายจ้าง หรือจงใจให้นายจ้างได้รับความเสียหายตามมาตรา 119 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กรณีนี้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างได้ โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง แต่หากข้อความที่โพสต์เป็นเพียงถ้อยคำที่ไม่สุภาพไม่ถึงกับเป็นการเสียดสี เหยียดหยาม หรือดูหมิ่นนายจ้าง จึงไม่ถือเป็นเรื่องร้ายแรงหากนายจ้างเลิกจ้าง โดยที่ไม่เคยตักเตือนลูกจ้างเป็นหนังสือก่อน นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้กับลูกจ้าง นายนิยม สองแก้ว อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กล่าวเพิ่มเติมว่า การที่จะเลิกจ้างลูกจ้างต้องดูความเหมาะสมแล้วแต่กรณี หากไม่ใช่การกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อนายจ้าง แล้วนายจ้างกลับเลิกจ้าง ก็จะเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมได้ ทั้งนี้ นายจ้าง หรือลูกจ้าง มีข้อสงสัยเกี่ยวกับปัญหาด้านแรงงาน สามารถขอคำปรึกษาได้ที่ […]

“พิพัฒน์” ถกด่วน แก้ปัญหาโรงพยาบาลเอกชนแห่ออกจากระบบประกันสังคม

กรณี “โรงพยาบาลเอกชน” ทยอยขอถอนตัวออกจากการเป็นคู่สัญญากับสำนักงานประกันสังคม กลายเป็นปัญหาที่สังคมกำลังเฝ้าจับตาอย่างกว้างขวาง โดยที่ผ่านมามี 2 โรงพยาบาลเอกชน คือ โรงพยาบาลกรุงเทพสุราษฎร์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี และโรงพยาบาลซีจีเอช สายไหม กรุงเทพมฯ ประกาศถอนตัวออกจากประกันสังคมไปแล้ว และมีแนวโน้มว่าจะมีโรงพยาบาลเอกชนอีกจำนวนหนึ่งกำลังรอดูท่าทีอยู่เช่นกันว่าจะออกหรือไม่ ล่าสุด นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยกับฐานเศรษฐกิจ ว่า รัฐบาลได้รับทราบปัญหาแล้ว โดยในวันที่ 9 ตุลาคม 2567 นี้ กระทรวงแรงงาน ได้นัดหารือร่วมกับทางโรงพยาบาลเอกชน เพื่อร่วมกันพิจารณาและหาข้อสรุปเกี่ยวกับปัญหาการให้บริการแก่ผู้ประกันตนของโรงพยาบาลเอกชนเครือข่ายประกันสังคม “ปัญหาที่มีมาทั้งหมดจะได้ข้อสรุป โดยขอหารือกันก่อน เพราะเรื่องนี้เคยได้สั่งการไปยังสำนักงานประกันสังคมไปแล้ว” นายพิพัฒน์ ระบุ   ข่าวจาก : ฐานเศรษฐกิจ

ขึ้นค่าแรง 400 บาท ปลัดแรงงานชี้ปรับบางกิจการ ต้องดูกำลังจ่ายนายจ้าง

6 กันยายน 2567 มติชน รายงานว่า นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการค่าจ้าง ชุดที่ 22 (บอร์ดค่าจ้าง) เปิดเผยว่า ตามที่บอร์ดค่าจ้างจะต้องมีการประชุมในทุกเดือนนั้น แต่เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่าน ไม่มีการประชุมเนื่องจากอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัด ยังส่งตัวเลขค่าจ้างขั้นต่ำรายจังหวัดมาไม่ครบ ทำให้ต้องเลื่อนการประชุมออกมา ล่าสุด ในเดือนกันยายนนี้ อนุจังหวัดฯ ได้ส่งตัวเลขเข้ามาครบแล้ว จึงมีกำหนดการประชุมประจำเดือนออกมาแล้ว โดยในวันที่ 9 กันยายน จะมีการประชุมของคณะอนุกรรมการวิชาการและกลั่นกรอง เพื่อนำตัวเลขค่าจ้างขั้นต่ำในทุกจังหวัดมาพิจารณาในรายละเอียด ว่าการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำในภาพรวมของประเทศ ควรจะขึ้นเท่าไหร่ ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานได้สำรวจประเภทกิจการที่ให้ค่าจ้างขั้นต่ำมากกว่า 400 บาทต่อวัน มาเพื่อพิจารณาประกาศปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำในกิจการประเภทดังกล่าวก่อน แต่ก็ต้องดูมติของคณะอนุกรรมการกลั่นกรองฯ ก่อน ส่วนบอร์ดค่าจ้างชุดใหญ่จะมีการประชุมกันในวันที่ 16 กันยายน เมื่อถามว่าในการประชุมของคณะอนุกรรมการกลั่นกรองฯ จะมีการกำหนดสูตรการคำนวณค่าจ้างขั้นต่ำเลยหรือไม่ นายไพโรจน์ กล่าวว่า ยัง แต่จริง ๆ สูตรไม่ใช่ประเด็นสำคัญ เพราะการคิดคำนวณสูตรเป็นเพียงองค์ประกอบหนึ่งเท่านั้น เนื่องจากเราต้องพิจารณาหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ ภาวะเงินเฟ้อ ราคาสินค้า ภาวการณ์จ้างงาน ไปจนถึงความสามารถในการจ่ายค่าจ้างของนายจ้างด้วย […]

หนุ่มสาวใจสู้ 500 ชีวิต แห่เข้าคิวสมัครงานบริษัทดัง ตั้งแต่ 3 ทุ่ม

กลายเป็นภาพที่สร้างความฮือฮาอย่างมาก เมื่อมีหนุ่มสาวกว่า 500 คน มาต่อคิวยาวเหยียดเพื่อสมัครงานที่หน้าบริษัท มอนเด นิสซิน ประเทศไทย จำกัด ซึ่งตั้งอยู่ใน ตำบลหนองไม้แดง อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี โดยวันที่ 18 ธันวาคม 2566 ทางด้านเพจเฟซบุ๊ก ที่นี่อมตะนครชลบุรี ได้เผยภาพบรรยากาศผู้ที่เดินทางไปเข้าคิวรอสมัครงานแถวยาวสุดสายตา จากภาพจะพบว่ามีหนุ่มสาวคาดว่าจำนวนกว่า 500 คน มาต่อคิวยาวเหยียดเพื่อสมัครงานที่บริษัท มอนเด นิสซิน ประเทศไทย จำกัด ตั้งแต่ช่วงเวลา 3 ทุ่มของคืนก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม ยังไม่ทราบว่าบริษัทดังกล่าวรับสมัครงานกี่อัตรา ผู้ที่มาสมัครทุกคน ล้วนมีความมุ่งมั่นและตั้งใจ สู้ไม่ถอย อดทนรอคิว เพื่อคว้าโอกาสในการมีงานทำ แม้จะต้องรอคิวนานแค่ไหนก็ตาม ท่ามกลางชาวเน็ตได้เข้ามาให้กำลังใจพี่น้องแรงงานจำนวนมาก อาทิ ขับผ่ามเมื่อคืนตี1 ผมนี้ตกใจเลย หางแถวถึงสามแยกบาทเดียว นึกว่าเขาออกมานั่งเล่นหลังร้านเหล้าปิด 555 แท้นั่งรอสมัครงาน สู้ๆพี่น้อง  สู้ๆนะครับทุกคน ขอให้ได้งานครับ เลิกงานเจอพอดีเลย  เราผู้เลิกงานออกมาตอนตี 4 เห็นนอนกะขอบฟุตบาทเรียงกันยาวเลย เห็นแล้วน้ำตาไหล […]

น่าห่วง แรงงาน 3.9 หมื่นตกงาน หลังบริษัทผลิตรถสันดาปยอดดิ่ง

7 มิถุนายน ผู้สื่อข่าวได้รับการเปิดเผยข้อมูลจาก นางสุวรรณา ขันติวิศิษฎ์ สวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จ.ฉะเชิงเทรา ว่า ในวันนี้เวลา 15.00 น. ได้นัดตัวแทนฝ่ายนายจ้างโรงงานผลิตหลอดไฟฟ้าแอลอีดีรายหนึ่ง ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมเกตเวย์ซิติ้ ต.หัวสำโรง อ.แปลงยาว จ.ฉะเชิงเทรา ให้เดินทางมาเจรจาและให้ข้อเท็จจริงจากทางฝ่ายนายจ้าง หลังจากสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (สร.) จ.ฉะเชิงเทรา ได้รับคำร้องเรียนจากลูกจ้างของสถานประกอบการแห่งนี้ จำนวน 98 คน จาก 104 คน ที่ถูกบอกเลิกจ้างงาน แต่ยังไม่ได้รับค่าตอบแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยจากการบอกเลิกจ้างตามที่กฎหมายกำหนด ทั้งที่หลังการบอกเลิกจ้างอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรได้เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 30 เม.ย.67 ที่ผ่านมา ตามที่ฝ่ายนายจ้างได้ตกลงว่าจะจ่ายเงินตามมาตรา 75 ซึ่งเป็นค่าทดแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยในวันที่ 30 พ.ค.67 แต่เมื่อถึงวันกำหนดนัดแล้ว ฝ่ายนายจ้างยังไม่จ่ายเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่ฝ่ายลูกจ้าง รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 2,570,059 บาท จึงทำให้ฝ่ายลูกจ้างได้รับความเดือดร้อน ไม่มีค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน รวมถึงค่าเช่าบ้าน ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าผ่อนสินค้าและยานพาหนะ ได้พากันเริ่มทยอยเข้ามาพบพนักงานตรวจแรงงานยังที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จ.ฉะเชิงเทรา เพื่อยื่นคำร้องทุกข์ (คร.7) เมื่อวันที่ 31 […]

“วันแรงงานแห่งชาติ” 1 พฤษภาคม เปิดที่มาของวันหยุดสำคัญประจำปี

ทุกวันที่ 1 พฤษภาคม ของทุกปี เป็น “วันแรงงานแห่งชาติ” หรือที่เรียกว่า “Labour Day” ถือเป็นวันหยุดประจำปีที่มีผลมาจากการเคลื่อนไหวของสหภาพแรงงาน เพื่อเฉลิมฉลองผลงานทางเศรษฐกิจและสังคมของผู้ใช้แรงงาน จุดเริ่มต้นของ “วันแรงงานแห่งชาติ” ในสมัยก่อนประเทศแถบยุโรปจะถือเอา “วันเมย์เดย์” (May Day) เป็นวันเริ่มต้นฤดูใหม่ทางเกษตรกรรม จึงมีพิธีเฉลิมฉลองและทำการบวงสรวงขอให้ปลูกพืชได้ผลดี รวมถึงขอให้ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุข อีกทั้งทางภาคเหนือของยุโรปก็จะมีการจัดงานรอบกองไฟในวันนี้ด้วย ซึ่งประเพณีนี้ในประเทศอังกฤษก็ยังมีสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบันนี้ จากตอนแรกที่เป็นเพียงวันหยุดพักผ่อนประจำปี ต่อมาประเทศอุตสาหกรรมหลายประเทศจึงถือเป็นวันหยุดตามประเพณีทั่วไป โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเตือนใจให้ประชาชนตระหนักถึงผู้ใช้แรงงานที่ได้ทำประโยชน์แก่เศรษฐกิจของประเทศ ความหมายของ วันเมย์เดย์ (May Day) จึงเปลี่ยนไปจากเดิม จนเมื่อปี พ.ศ. 2433 ได้มีการเรียกร้องในหลายประเทศทางตะวันตกให้ถือเอาวันที่ 1 พฤษภาคม เป็น “วันแรงงานสากล” ทำให้หลายประเทศได้เริ่มฉลองวันแรงงานเป็นครั้งแรกในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2433 และได้สืบทอดมาจนถึงในปัจจุบัน ที่มา “วันแรงงานแห่งชาติ” ในไทย ในประเทศไทย เมื่้ออุตสาหกรรมได้ขยายตัวขึ้น ผู้ใช้แรงงานมีปัญหามากขึ้น รวมทั้งแรงงานมีความสลับซับซ้อนยิ่งขึ้น จึงทำให้ในปี พ.ศ. 2475 ประเทศไทยริเริ่มมีการบริหารจัดการแรงงาน […]

กระทรวงแรงงานจัดงบ 80 ล้าน ตั้งกองทุนปล่อยกู้ให้ผู้ใช้แรงงาน-ลูกจ้าง

นายภูมิพัฒน์ เหมือนจันทร์ โฆษกกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า กระทรวงแรงงานจัดเตรียมงบประมาณกองทุนเพื่อผู้ใช้แรงงาน 80 ล้านบาท เพื่อเป็นเงินทุนให้ผู้ใช้แรงงานหรือลูกจ้างได้กู้ยืม มีรายได้หรือใช้ปลดเปลื้องหนี้สินจากการกู้ยืมเงินนอกระบบ โดยเฉพาะผู้ที่ไม่สามารถหาหลักทรัพย์ค้ำประกันการกู้ยืมเงินจากธนาคารพาณิชย์ทั่วไปได้ ภายใต้โครงการเงินกู้กองทุนเพื่อผู้ใช้แรงงาน Micro Finance ลดหนี้ เติมทุน สร้างสุขแรงงาน เป็นไปตามนโยบายของ นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ที่ต้องการดูแลผู้ใช้แรงงานและครอบครัวให้มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจและมีคุณภาพชีวิตที่ดี สำหรับผู้ใช้แรงงานหรือลูกจ้างที่ประสงค์จะขอกู้ให้ติดต่อที่สหกรณ์ออมทรัพย์หรือเครดิตยูเนี่ยนในสถานประกอบกิจการหรือรัฐวิสาหกิจที่ตนเป็นสมาชิก โดย เงินกู้ระยะสั้นกรณีปกติ อัตราดอกเบี้ย 2.75% ต่อปี กำหนดชำระคืนไม่เกิน 1 ปี เงินกู้ระยะยาวกรณีปกติ อัตราดอกเบี้ย 3% ต่อปี กำหนดชำระคืน 1 – 5 ปี นอกจากนี้ยังมีเงินกู้เพื่อบรรเทาผลกระทบจากภัยธรรมชาติ อัตราดอกเบี้ย 2% ต่อปี และเงินกู้สร้างสุข ปลดทุกข์หนี้นอกระบบ อัตราดอกเบี้ย 0.5 – 1.5% ต่อปี พิเศษดอกเบี้ย 0% ในช่วง 3 เดือนแรกสำหรับสหกรณ์ที่ไม่เคยใช้บริการมาก่อน […]

1 2
error: