กมธ.สาธารณสุข ศึกษาความต่าง “บัตรทอง-ประกันสังคม”

Advertisement 10 ต.ค. 2567 ที่อาคารรัฐสภา  นพ.ทศพร เสรีรักษ์ ประธานคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข สภาผู้แทนราษฎร(สส.) พร้อมด้วย น.ส.กัลยพัชร รจิตโรจน์ รองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่หนึ่ง ร่วมแถลงข่าว เรื่อง พิจารณาแนวทางความเหลื่อมล้ำกรณีสิทธิการรักษาพยาบาล ระหว่างกองทุนประกันสังคมและกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  โดยมีตัวแทนจากคณะกรรมการประกันสังคม ในส่วนผู้ใช้แรงงาน ตัวแทนสํานักงานประกันสังคม และสํานักงานสภาองค์กรของผู้บริโภคร่วมให้ข้อมูล  แต่ระดับผู้บริหารของสำนักประกันสังคม และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) ไม่ได้เข้าร่วมครั้งนี้ Advertisement น.ส.กัลยพัชร รจิตโรจน์ รองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่หนึ่ง กล่าวว่า วันนี้ กมธ.การสาธารณสุขได้จัดประชุมพิจารณา วาระการลดความเหลื่อมล้ำระหว่างมาตรฐานบริการสุขภาพระหว่างกองทุนประกันสังคม และ สปสช. โดยจากการพิจารณาในชั้นกมธ.มีข้อสรุปเบื้องต้นดังนี้ คือ ประกันสังคมและสิทธิหลักการสุขภาพแห่งชาติหรือที่รู้จักกันในนาม “บัตรทอง” นั้นยังไม่ได้จัดบริการการรักษาพยาบาลขั้นพื้นฐานที่มีมาตรฐานที่เท่าเทียมกัน ยกตัวอย่าง กรณีของผู้ประกันตนสิทธิประกันสังคมสมทบจ่ายค่ารักษาพยาบาลแต่กลับได้รับคุณภาพการรักษาที่ยังด้อยกว่าสิทธิบัตรทอง เปิด 3 ประเด็น บัตรทอง ดีกว่า ประกันสังคม โดยมี 3 ประเด็นสำคัญ 1. การเข้าถึงบริการคัดกรองและสร้างเสริมสุขภาพหรือที่เรียกว่า PP […]

ประกันสังคม กำลังเสี่ยง เงินบำนาญชราภาพ มีคนรับมากกว่าคนจ่าย

จำนวนผู้ประกันตน ประกันสังคม ข้อมูลจาก สำนักงานประกันสังคม(สปส.) ระบุว่า ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมทั่วประเทศ ณ เดือนเม.ย. 2567 จำนวนทั้งสิ้น 24,602,082 คน  แยกเป็น ผู้ประกันตนมาตรา 33 ลูกจ้างที่ทำงานในสถานประกอบการที่มีลูกจ้าง ตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป มีอายุตั้งแต่ 15 ปีบริบูรณ์ อายุไม่เกิน 60 ปี บริบูรณ์ โดยจะได้รับสิทธิประโยชน์คุ้มครอง 7 กรณี คือ เจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ ตาย สงเคราะห์บุตร ชราภาพ ว่างงาน จำนวน 11,857,864 คน ผู้ประกันตนมาตรา 39 ลูกจ้างที่เคยเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 นำส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน และออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน โดยจะได้รับสิทธิประโยชน์ความคุ้มครอง 6 กรณี คือ เจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ ตาย […]

“ผู้ประกันตนมาตรา 40” เช็กด่วน 3 ทางเลือก ลดส่งเงินสมทบอีกนาน 6 เดือน

“ผู้ประกันตนมาตรา 40” เช็กด่วน สำนักงารประกันสังคม ลดส่งเงินสมทบอีกนาน 6 เดือน ในอัตราใหม่ 3 ทางเลือก จ่ายน้อย แต่คุ้มครองนาน สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน แจ้งข่าวดี สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 40 ซึ่งสำนักงานประกันสังคม ประกาศลดเงินสมทบผู้ประกันตนมาตรา 40 นาน 6 เดือน เริ่มตั้งแต่เดือน ส.ค. 2564–ม.ค. 2565 ในอัตราใหม่ 3 ทางเลือก ทางเลือกที่ 1 คุ้มครอง 3 กรณี ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย จากเดิมจ่ายในอัตรา 70 บาท/เดือน อัตราใหม่ลดเหลือ  42 บาท/เดือน ทางเลือกที่ 2  คุ้มครอง 4 กรณี ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย ชราภาพ จากเดิมจ่ายในอัตรา 100 บาท/เดือน อัตราใหม่ลดเหลือ […]

สปสช.ชี้ ‘โรคซึมเศร้า’ บัตรทอง-ประกันสังคม-ข้าราชการ รักษาฟรี

โรคซึมเศร้าเป็นแล้วรักษาได้ ไม่เสียค่าใช้จ่าย เนื่องจากสิทธิรักษาพยาบาล บัตรทอง-ประกันสังคม-ข้าราชการ คุ้มครองการรักษาทั้งหมด ไทยพีบีเอสออนไลน์ มีโอกาสพูดคุยกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า พบว่าปัญหาหนึ่งที่ทำให้ผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาเพราะเข้าไม่ถึงข้อมูลบริการด้านต่างๆ รวมทั้งกังวลเรื่องค่ารักษาพยาบาล ซึ่งไม่รู้ว่าสิทธิรักษาพยาบาลของตนเอง ครอบคลุมการรักษาโรคดังกล่าวหรือไม่ ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ โฆษกสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าภายใต้สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า สามารถใช้สิทธิได้ทันที หากได้รับคำวินิจฉัยจากจิตแพทย์ ทั้งนี้ สิทธิประโยชน์ในการเข้าถึงยารักษาโรคซึมเศร้า มีจำนวน 8 รายการ “เมื่อผู้ป่วยไปที่โรงพยาบาล ค่าใช้จ่ายทั้งหมดอยู่ในสิทธิประโยชน์หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม โรคซึมเศร้ารักษาได้ฟรี” สำหรับผู้ที่ไม่แน่ใจในสิทธิการรักษาพยาบาลของตัวเอง สามารถตรวจสอบสิทธิได้ที่ สายด่วน สปสช. 1330 เมื่อโทรไปแล้ว ให้กดหมายเลข 2 พร้อมใส่เลขบัตรประชาชน ระบบจะแจ้งสิทธิมาทันที หากมีสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า จะแจ้งหน่วยงานบริการประจำ (ใกล้บ้าน) ว่าอยู่ที่ไหน เพื่อเดินทางไปรักษา ส่วนสิทธิสวัสดิการการรักษาพยาบาลข้าราชการ ครอบคลุมการรักษาโรคซึมเศร้าทั้งข้าราชการและครอบครัว หากแพทย์ตรวจแล้วระบุว่าเป็นโรคซึมเศร้าสามารถรักษาทันที ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ เพิ่มเติม ตรวจสอบสิทธิเพิ่มเติมที่ กรมบัญชีกลาง โทร. 02-127-7000 ขณะที่สิทธิประกันสังคม สำนักจัดระบบบริการทางการแพทย์ ยืนยันว่าสำนักงานประกันสังคมให้ความคุ้มครองการรักษาโรคซึมเศร้าและโรคจิตเวชทุกประเภท สามารถใช้สิทธิในโรงพยาบาลที่กำหนดไว้ในระบบประกันสังคม โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม […]

error: