นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี(ครม.) มีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ(ฉบับที่…)พ.ศ…. ซึ่งกำหนดให้กองทุนผุ้สูงอายุมีอำนาจในการกักเก็บเงินของกองทุน จากผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีสรรพสามิต ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับค่าสุราและยาสูบ ตามกฎหมายที่ว่าด้วยภาษีสรรพสามิตในอันตรา 2% รวมไปถึงสุรา เบียร์ ยาสูบ เพื่อให้มีรายได้เพียงพอต่อการดำเนินการวงเงินปีละไม่เกิน 4,000 ล้านบาท เพื่อจัดสรรเงิน ให้เป็นไปตามรายได้ของกองทุนผู้สูงอายุหรือจัดสรรเพิ่มเติมจากเบี้ยคนชราเดิมที่ได้รับ
นอกจากเก็บเงิน 4,000 ล้านบาท ที่จะได้จากการเพิ่มภาษีสรรพสามิตอัตรา 2% แล้ว ยังมีการจัดโครงการให้ผู้ที่มีเบี้ยยังชีพในปัจจุบันบางส่วนที่มีรายได้สูง หรือ คนรวย มีรายดี สามารถแสดงเจตจำนงค์บริจาคให้กับกองทุนนี้ กฎหมายฉบับนี้จึงมีให้สามารถรับเงินบริจาคจากผู้ที่สูงอายุ และจะตัดสิทธิ์เบี้ยยังชีพนี้โดยสมัครใจ คาดว่าส่วนนี้จะมีเงินอีก 4,000 ล้านบาท ซึ่งกระทรวงการคลังกำลังคิดว่าจะมีมาตราการชักจูงใจและเชิดชูผู้ที่เสียสละเงินดังกล่าวให้ผู้ที่ต้องการใช้เงินและผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อย ทั้งหมดนี้เป็นการเก็บภาษีตามแผนที่มา อยากเห็นเบี้ยยังชีพในผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อยเท่านั้น
ขณะนี้ประเทศไทยกำลังเข้าสู่งสังคมผู้สูงวัย และมีผู้สูงอายุจำนวนมาก และในส่วนนี้เป็นผู้ที่มีรายได้น้อย หรือคนแก่ที่ยากจน จากการสำรวจผู้มีรายได้น้อยในปี 2559 พบว่า มีผู้สูงอายุที่ลงทะเบียนรายได้น้อยมีจำนวน 2.3 ล้านคน จากจำนวนผู้สูงอายุทั้งหมด 3.5 ล้านคน ซึ่งคิดว่าปีนี้จะมีผุ้สูงอายุที่มีรายได้น้อยเพิ่มขึ้นถึง 3 ล้านคน ซึ่งผู้สูงอายุและมีรายได้น้อยเหล่านี้ ก็มีรายได้ไม่เพียงพอ โดยปกติจะมีหนี้ยังชีพในระดับขั้นบันไดอาทิ อายุ 60 -69 ปี จะได้เงิน 600 บาท/เดือน และ 70-79 ได้เงิน 700 บาท/เดือน และอายุ80-89 ปี ได้เงิน 800 บาท/เดือน และอายุ 90 ปีขึ้นไปได้เบี้ย 1,000 บาทต่อเดือน
ขณะที่ผู้ชราบางส่วนเป็นผู้ที่มีรายได้ไม่เพียงพอในการยังชีพหรือถูกทอดทิ้ง หรือขาดผู้อุปการะเลี้ยงดูไม่สามารถประกอบอาชีพได้ด้วยตัวเอง ก็จะได้รับเงินสงเคราะห์การยังชีพเพิ่มเติมรายละ 300 บาท ตามกฎเกณฑ์ของกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจ่ายเงินของการสงเคราะห์เพื่อการยังชีพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งรวมแล้วได้ 900-1,300 บาท
“รัฐบาลเห็นว่า ผู้สุงอายุ หรือคนแก่ของไทยมีตจำนวนเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และหลายคนไม่มีคนเลี้ยงดู รายได้ที่ให้จากรัฐบาลไม่เพียงพอต่อการใช้จ่าย ต้องออกไปเก็บขยะเพื่อหารายได้ประทังชีวิต ดังนั้น ครม.จึงมีมติเพิ่มภาษีบาป เพื่อจ่ายเพิ่มรายได้คนชรา แบบออนท็อปจากเดิมที่ได้อยู่แล้ว แต่กฏหมายฉบับนี้ คงจะมีผลประมาณต้นปี 2561 อยู่ระหว่างรอกฏหมายมีผลอย่างเป็นทางการจนผ่าน สนช.ประมาณ 5-6 เดือน”นายกอบศักดิ์ กล่าว
ข่าวจาก : ข่าวสดออนไลน์
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ