วันที่ 8 พ.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในยุคที่การใช้เส้นทางการเดินทางทางอากาศ หรือเครื่องบินเป็นที่นิยมในสังคม อาจเป็นเพราะ ปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงได้มากขึ้น ทั้งราคาค่าโดยสารที่ถูกลง สายการบินที่มีให้เลือกหลากหลาย รวมไปถึงสนามบินที่ผุดขึ้นตามเมือง หรือจังหวัดทั่วประเทศ ตัวเลขจำนวนผู้ใช้บริการจึงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
ปฏิเสธไม่ได้ว่า สนามบินแต่ละแห่ง ของแต่ละประเทศ เปรียบเสมือนประตูบ้านที่เปิดต้อนรับนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก เป็นหน้าเป็นตา และสิ่งประทับใจแรกที่ชาวต่างชาติสัมผัส ดังนั้นงบประมาณ และการจัดการระบบ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้บริการ จึงมีความสำคัญมาก รวมไปถึงการออกแบบ ความสะอาด และการบริการอย่างมีประสิทธิภาพด้วย
‘สนามบินสุวรรณภูมิ’ หรือ ‘สนามบินดอนเมือง’ ที่บริหารจัดการโดย บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ เอโอที (AOT) คงเป็นสิ่งที่คุ้นเคยสำหรับคนไทย และชาวต่างชาติเป็นอย่างดี เพราะ เป็นสนามบินหลักของประเทศ ซึ่งตั้งแต่เริ่มเปิดใช้บริการ สนามบินทั้ง 2 แห่ง ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากผู้ใช้บริการหลายกรณี ทั้งกระเป๋าสัมภาระตกหล่น ของถูกขโมยระหว่างโหลดลงเครื่อง ห้องน้ำสกปรก หรือการบริการที่ขัดข้องบ่อยครั้ง เป็นต้น ก่อนจะถูกนำไปเปรียบเทียบกับสนามบินของประเทศอื่นทั้ง เกาหลี ญี่ปุ่น หรือสิงคโปร์
จึงเกิดเป็นข้อสงสัยว่า การจัดการที่ไม่เป็นระบบ และปัญหาที่เกิดขึ้นนั้น มาจากสาเหตุใด เป็นไปได้หรือไม่ว่า งบการบริหารจัดการไม่เพียงพอ หรือบริษัทขาดทุนในการดำเนินกิจการ จนไม่มีงบเพื่อนำมาพัฒนา หรือจัดการระบบได้
ล่าสุดเพจเฟซบุ๊กที่ใช้ชื่อว่า ลงทุนแมน ได้เปิดเผย รายได้จากผลประกอบการของ AOT ของไทย โดยเปรียบเทียบกับบริษัท Japan Airport Terminal (JAT) ซึ่งเป็นบริษัท ที่บริหารจัดการสนามบินนานาชาติ ฮาเนดะ อยู่ในจังหวัดโตเกียว ว่า JAT มีมูลค่าบริษัทประมาณ 1 แสนล้านบาท มีขนาดเป็นแค่ 1 ใน 10 ของบริษัท AOT ของไทย ที่มีมูลค่า 1 ล้านล้านบาท (อาจเป็นเพราะ AOT บริหารจัดการหลายสนามบิน) และ ปี 2017 บริษัท AOT มีรายได้ 56,744 ล้านบาท ใกล้เคียงกับ JAT แต่กลับมีกำไรมากถึง 20,739 ล้านบาท ซึ่งเป็น 10 เท่าของ JAT
จึงกลายเป็นข้อสงสัยว่า เหตุใดบริษัทที่มีกำไรสูงขนาดนี้ ยังคงไม่สามารถทำให้ผู้ใช้บริการพึงพอใจเท่ากับบริษัทที่ทำกำไรน้อยได้
เนื้อความจากเพจ ลงทุนแมน
สนามบินญี่ปุ่นกำไรเท่าไร เมื่อเทียบกับไทย / โดย ลงทุนแมน
เคยสงสัยกันรึเปล่าว่า
กิจการที่ผูกขาดอย่างธุรกิจสนามบิน
ที่ต่างประเทศ เขาบริหารกันอย่างไร
และ สามารถทำกำไรได้ขนาดไหน
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
เวลาเราไปเที่ยวต่างประเทศ
แล้วมีโอกาสได้ใช้บริการสนามบินนานาชาติของประเทศนั้น
และญี่ปุ่น น่าจะเป็นประเทศที่คนไทยชอบไปกันมากที่สุด
สำหรับสนามบินญี่ปุ่นเองต้องบอกว่าค่อนข้างที่จะแตกต่างจากไทย เพราะว่า สนามบินแต่ละที่จะมีบริษัทที่ดูแลแตกต่างกันไป ซึ่งประเทศไทยเราจะเห็นแค่บริษัทเดียวดูแลเกือบทุกสนามบิน
บริษัท Japan Airport Terminal (JAT) ก่อตั้งขึ้นในปี 1953
ถือหุ้นใหญ่โดย MSIP CLIENT SECURITIES และ Japan Airlines
บริษัทนี้บริหารจัดการสนามบินนานาชาติ ฮาเนดะ อยู่ในจังหวัดโตเกียว
ส่วนสนามบินนานาชาติ นาริตะ ซึ่งอยู่ในจังหวัดชิบะ และ สนามบินนานาชาติ คันไซ ซึ่งอยู่ในจังหวัดโอซาก้า ถึงแม้จะไม่ได้อยู่ในการบริหารของ JAT แต่มีส่วนที่เป็น Duty Free ที่ JAT เข้าไปดูแล
ปี 2015 JAT รายได้ 50,591 ล้านบาท กำไร 1,938 ล้านบาท
ปี 2016 JAT รายได้ 58,966 ล้านบาท กำไร 2,562 ล้านบาท
ปี 2017 JAT รายได้ 59,202 ล้านบาท กำไร 1,989 ล้านบาท
สัดส่วนรายได้
ค่าเช่าและการให้บริการสนามบินฮาเนดะ 26.7 %
Duty Free และ บริการอื่นๆในสนามบิน 64.3 %
บริการอาหาร และ ร้านอาหารในสนามบิน 9 %
แสดงว่ารายได้หลักของบริษัทนี้มาจากการขาย Duty Free
ตอนนี้ JAT มีมูลค่าบริษัทประมาณ 1 แสนล้านบาท มีขนาดเป็นแค่ 1 ใน 10 ของบริษัท AOT ของไทย ที่มีมูลค่า 1 ล้านล้านบาท
ที่เป็นแบบนี้ก็อาจเป็นเพราะ AOT จัดการหลายสนามบิน แต่ JAT จัดการแค่สนามบินเดียว รวมถึง AOT ควบคุมค่าใช้จ่ายได้ดีกว่า
ปี 2017 บริษัท AOT มีรายได้ 56,744 ล้านบาท ใกล้เคียงกับ JAT แต่กลับมีกำไรมากถึง 20,739 ล้านบาท ซึ่งเป็น 10 เท่าของ JAT
ที่น่าสนใจคือ ถึงแม้ว่าบริษัทสนามบินญี่ปุ่นมีกำไรที่น้อย แต่ระดับความพึงพอใจของผู้ใช้สนามบินกลับติดอยู่ในลำดับที่สูง
รางวัลสนามบินที่ได้รับความพึงพอใจสูงสุดในปี 2018 (SKYTRAX AWARD)
สนามบิน ฮาเนดะ ติดอันดับที่ 3
สนามบิน นาริตะ ติดอันดับที่ 11
สนามบิน คันไซ ติดอันดับที่ 13
ส่วน สนามบินสุวรรณภูมิ ติดอันดับที่ 36
คำถามที่น่าคิดคือ
สนามบินที่ไม่ค่อยได้กำไร แต่ได้รับความพึงพอใจจากผู้ใช้บริการ
หรือ
สนามบินที่ได้กำไรมาก แต่ผู้ใช้บริการไม่ค่อยถูกใจเท่าไร
อย่างไหนจะดีกว่ากัน?
———————-
สนามบินมีหลายที่ บทความลงทุนแมนก็มีหลายแพลตฟอร์ม
ติดตามบทความลงทุนแมน ได้ที่
-บล็อกดิท blockdit longtunman.com/app
-อินสตาแกรม instagram.com/longtunman
-ทวิตเตอร์ twitter.com/longtunman
-ไลน์ line.me/R/ti/p/%40longtunman
———————-
Reference
-https://www.airport-technology.com/pr…/narita-international/
-http://www.settrade.com/C04_03_stock_companyhighlight_p1.js…
-http://www.worldairportawards.com/…/world_airport_rating.ht…
[6155].
ขอบคุณข้อมูลจาก : ลงทุนแมน, ข่าวสดออนไลน์
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ