เมื่อวันที่ 10 ธ.ค.62 ที่จ.ชัยภูมิ หลังเกิดกรณีของส.ส.ปารีณา ไกรคุปต์ บุกรุกที่ส.ป.ก. แต่ปรากฏว่ายังไม่มีการดำเนินคดี และมีหนังสือให้ส.ส.ปารีณาคืนที่ดิน 682 ไร่ดังกล่าว จนเกิดข้อกังขา เพราะที่ผ่านมา มีชาวบ้านหลายคนที่รุกที่ส.ป.ก.เช่นกัน แต่กลับถูกดำเนินคดี
ผู้สื่อข่าวรายงานจากจ.ชัยภูมิว่า มีกลุ่มตัวแทนชาวบ้านในพื้นที่อ.หนองบัวระเหว จ.ชัยภูมิ รวม 14 ราย ถูกสั่งดำเนินคดีเข้าไปบุกรุกทำกินในพื้นที่เขตอุทยานแห่งชาติไทรมาตั้งแต่ปี 2560 จนศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิพากษาให้จำคุกกลุ่มชาวบ้านทั้ง 14 รายๆละไม่น้อยกว่า 4 เดือน และปรับรายละ 4 หมื่นบาท ชาวบ้านจึงได้พากันยื่นขออุทธรณ์สู้คดีวอนขอความเป็นธรรมมาต่อเนื่องจนปัจจุบัน
ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายทวงคืนผืนป่าในเขตอุทยานแห่งชาติไทรทอง ซึ่งส่วนใหญ่อ้างว่าได้ทำกินมาก่อนมีการประกาศพื้นที่เขตอุทยานฯเข้ามาทับที่ทำกินชาวบ้าน มานานกว่า 2 ปี ซึ่งชาวบ้านก็มีหลังฐานทั้งการครอบครองเป็นทั้งพื้นที่ สปก. และมีหลักฐานการเสียภาษีดอกหญ้า ใบ ภ.บ.ท.5 ให้กับรัฐมาตลอด ไม่ต่างจากรณีส.ส.ปารีณา
หลังมีการประกาศเดินหน้านโยบายทวงคืนผืนป่าและประกาศเขตอุทยานแห่งชาติไทรทอง ทับที่ดินทำกินชาวบ้านที่ครั้งนี้ได้รับผลกระทบมากกว่า 170 ครอบครัว ซึ่งชาวบ้านส่วนหนึ่งเอง ที่เป็นเกษตรกรชาวบ้านในพื้นที่ต้องไม่มีที่ทำกินในครั้งนี้ไปด้วย และได้ตัดสินใจกลับเข้าไปปลูกไร่มันสำปะหลังในพื้นที่ กรณีพิพาทประกาศเขตอุทยานฯทับที่ดินทำกินครั้งนี้เกิดขึ้น
จนล่าสุดเมื่อ 15 พ.ค.62 ที่ศาลจังหวัดชัยภูมิ ศาลอุทธรณ์ได้นัด 1 ใน 14 ชาวบ้านที่ถูกสั่งดำเนินคดีจำคุกของศาลชั้นต้นดังกล่าวไปแล้ว ฟังคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ให้กับน.ส.นิตยา ม่วงกลาง ชาวบ้านเกษตรปลูกไร่มันสำปะหลังในอ.หนองบัวระเหว จ.ชัยภูมิ ซึ่งเป็นทั้งตัวแทนนักปกป้องสิทธิที่ทำกินของราษฎรในพื้นที่ด้านที่ดิน เป็นรายแรกและครั้งนี้เองศาลอุทธรณ์ก็ยังสั่งพิพากษาให้ยืนโทษจำคุก และปรับตามศาลชั้นต้นคงเดิม
ก่อนที่ได้ยื่นขอประกันตัวในชั้นศาล เพื่อขอยื่นฎีกา ขอสู้คดีขอความเป็นธรรมเป็นครั้งสุดท้ายที่ชั้นศาลฎีกาอีกครั้งต่อไป จนปัจจุบันหลังเกิดกรณีของส.ส.ปารีณา ที่ชาวบ้านทั้งหมดยังหวังว่าจะได้รับความเป็นธรรมต่อกรณีที่เกิดขึ้น ซึ่งได้รับผลกระทบจากนโยบายทวงคืนผืนป่าจากรัฐบาลในครั้งนี้ด้วย
น.ส.นิตยา ม่วงกลาง กล่าวว่า ชาวบ้านที่นี่ส่วนใหญ่มีหลักฐาน ทั้งใบ ภ.บ.ท.5 ที่มีสิทธิการเข้าอยู่ทำกิน ทำไร่ ทำสวนปลูกมันสำปะหลังเลี้ยงชีพมาก่อนมีการประกาศเขตอุทยานแห่งชาติไทรทอง เข้ามาทับที่ดินทำกินเดิมของราษฎร จนมีการพากันเข้าไปปลูกไร่มันสำปะหลังตามเดิม จึงถูกจับดำเนินคดีในข้อหาบุกรุกพื้นที่เขตอุทยานแห่งชาติไทรทองดังกล่าวขึ้น
น.ส.นิตยากล่าวว่า กลุ่มตัวแทนชาวบ้านในพื้นที่ ต่างเรียกร้องไปถึงรัฐบาลให้เร่งช่วยแก้ปัญหาที่ชาวบ้านได้รับผลกระทบจากนโยบายรัฐในการทวงคืนผืนป่าประกาศเขตอุทยานฯทับที่ดินทำกินของราษฎรที่อยู่มาเก่าก่อนในครั้งนี้มาต่อเนื่องจนมาปัจจุบัน ก่อนที่จะถูกดำเนินคดีในข้อหาบุกรุก แผ้วถางในพื้นที่อุทยานแห่งชาติไทรทอง จนถูกดำเนินคดีดังกล่าว จนศาลชั้นต้นจังหวัดชัยภูมิ และศาลอุทธรณ์ ที่ผ่านมาแล้ว 2 ศาล ก็มีคำสั่งพิพากษาจำคุก 4 เดือน ปรับ 4 หมื่นบาท ร่วมกับชาวบ้านในพื้นที่อีกรวมทั้ง 14 ราย มาตั้งแต่ปี 2560 ที่ผ่านมา
น.ส.นิตยากล่าวว่า ตอนนี้อยู่ระหว่างยื่นประกันตัวขอสู้คดีในชั้นศาลฏีกา ที่พนักงานอัยการจังหวัดชัยภูมิ ยื่นฟ้องคดีกระทำผิดตามพรบ.ป่าไม้ และพรบ.ป่าสงวนแห่งชาติ ซึ่งที่ผ่านมาตลอดช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ระหว่างที่กลุ่มชาวบ้านทั้งหมด 14 ราย ที่ถูกดำเนินคดีในครั้งนี้ต่างได้รับความเดือดร้อนเรื่องค่าใช้จ่ายที่จะมาช่วยสู้คดีจำนวนมาก ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาระหว่างถูกดำเนินคดีและต้องไปหาหยิบยืมหาเงินมาเป็นค่าใช้จ่ายค่าเดินทางมาสู้คดีมาศาลเป็นจำนวนมาก
น.ส.นิตยากล่าวต่อว่า ตอนนี้ชาวบ้านทุกคน ที่ถูกดำเนินคดีและได้รับผลกระทบจากนโยบายทวงคืนผืนป่าของรัฐก็ได้รับความลำบากเดือดร้อนตามมาอีกเป็นจำนวนมากด้วย จึงอยากให้รัฐบาลเร่งหามาตรการการแก้ไขปัญหาในจุดนี้ที่ยั่งยืนมากกว่านี้ด้วย เพราะคนที่ครอบครองที่ดินรัฐกว่า 1,700 ไร่ ไม่ผิด เป็นเรื่องที่หลายฝ่ายมองว่าเกิดกรณี 2 มาตรฐานเกิดขึ้นในครั้งนี้ด้วย
แต่ชาวบ้านที่มีที่ดินทำกินสืบทอดกันมาแต่รุ่นพ่อแม่ปู่ย่าตายายมีคนละไม่กี่ไร่พอได้มีที่ดินทำกินประกอบอาชีพกับถูกไล่จับดำเนินคดีหนักทั้งจำทั้งปรับ นายทุนคนครอบครองที่ดินจำนวนมากไม่มีใครดำเนินอะไรเลย ซึ่งอยากฝากวิงวอนถึงรัฐบาลให้ความเป็นธรรมต่อกรณีที่เกิดขึ้นด้วย
น.ส.นิตยากล่าวว่า หลังศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนคำพิพากาษตามเดิม ยืนโทษตามศาลชั้นต้นอีกครั้งให้ตนเป็นรายแรกมีโทษจำคุก 4 เดือน ปรับ 4 หมื่นตามเดิม
“ขอน้อมรับคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ ซึ่งต่อไปก็เป็นขั้นตอนขอยื่นประกันตัว เพื่อสู้คดีในชั้นศาลฎีกาได้อีกเป็นครั้งสุดท้าย เพื่อขอความเป็นธรรมให้ถึงที่สุดตามขั้นตอนตามกฎหมายต่อไป”น.ส.นิตยากล่าว
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ