หมูในประเทศราคาพุ่ง-นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรลดการส่งออก ช่วงตรุษจีน





16 ม.ค.63 นายสุรชัย สุทธิธรรม นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ กล่าวถึงสถานการณ์ราคาสุกร (หมู) ในประเทศ ว่า โดยเฉลี่ยขณะนี้ราคาหมูหน้าฟาร์มเป็นในประเทศจะปรับขึ้นต่อเนื่องเป็น 80 บาท/ก.ก. และจะมีการปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อย 1-2 บาท ในช่วงประมาณสัปดาห์ที่จะถึงนี้เพราะเป็นช่วงเทศกาลตรุษจีน โดยถือว่าราคาหมูในภาพรวมถือว่าอยูในเกณฑ์ที่น่าพอใจผู้ประกอบการอยู่ได้และไม่กระทบการใช้จ่ายของผู้บริโภคมากเกินไปถือเป็นราคาที่เหมาะสมเป็นไปตามกลไกของตลาด เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมามีปัญหาการระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (Africanswinefever:ASF) ในหลายประเทศ ส่งผลให้ผู้ประกอบการไม่กล้านำเข้าพ่อแม่พันธุ์มาทดแทนที่ปลดไปส่งผลให้สุกรในระบบของไทยหายไปกว่า 15% จากเดิมที่มีสุกรในระบบประมาณ 9,504,921 ตัว ผู้เลี้ยงสุกร 191,545 ราย

ซึ่งแม้ว่าโรคดังกล่าวยังไม่ระบาดในประเทศไทยแต่เพื่อความปลอดภัยผู้ประกอบการก็ไม่เสี่ยงนำเข้าพ่อแม่พันธุ์มาทดแทน และได้ร่วมมือกับกรมปศุสัตว์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้มงวดในการป้องกันการระบาด เพราะหากมีการระบาดของโรคในประเทศ จะก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจแก่อุตสาหกรรมการผลิตสุกรไทยไม่ต่ำกว่า 63,177 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม เมื่อเร็วๆ นี้ ได้สมาคมฯ ได้หรือกับอธิบดีกรมการค้าภายใน (คน.) เนื่องจากทางกรมมีความกังวลว่าราคาเนื้อหมูจะสูงขึ้นจนกระทบต่อค่าใช้จ่ายของประชาชน ซึ่งได้ข้อสรุปร่วมกันเป็นที่น่าพอใจทุกฝ่าย โดยทางกรมขอให้สมาคมกำหนดราคาไม่เกิน 80 บาท หรือบวกลบเล็กน้อย และขอให้กำหนดโควตาส่งออกหมูเป็นไม่เกิน 4,500 ตัวต่อวัน จากที่เคยส่งออก 6,000-7,000 ตัวต่อวัน เนื่องจากราคาหมูในต่างประเทศสูงกว่าไทยมาก เช่น ราคาหมูเป็นในจีนราคาประมาณ 200 บาท/ก.ก., เวียดนาม 151 บาท/ก.ก., กัมพูชา 120 บาท/ก.ก. โดยข้อกำหนดที่ตกลงไว้กับกรมการค้าภายในกำหนดส่งออกไม่เกิน 10% ของที่บริโภคภายในประเทศ 45,000 ตัว/วัน เพื่อไม่ให้กระทบกับผู้บริโภคภายในประเทศทั้งทางด้านราคาและปริมาณ

นอกจากนี้ ปัจจัยที่ทำให้ราคาหมูสูงขึ้นก็มาจากสภาพอากาศร้อนจัดหมูโตช้า ซึ่งถือเป็นการปรับขึ้นราคาตามกลไกตลาดอย่างแท้จริง หากสถานการณ์คลี่คลายก็เชื่อว่าราคาจะปรับลดลงอย่างเหมาะสม

ทั้งนี้ ราคาหน้าเขียงในขณะนี้อยู่ที่ประมาณ 150-160 บาทต่อก.ก.  หากสูงเกินจะหารือกับสมาคมฯ เพื่อจำกัดปริมาณการส่งออกซึ่งจะช่วยให้ราคาในประเทศไม่สูงจนเกินไป

ทั้งนี้ โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรเป็นโรคติดเชื้อไวรัสที่ติดต่อร้ายแรง ถึงแม้ว่าโรคนี้จะไม่ใช่โรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน แต่ก็ถือว่า เป็นโรคที่สามารถส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรสูง เนื่องจากหากมีการระบาด ของโรคนี้ในประเทศแล้วจะกำจัดโรคได้ยากเพราะในปัจจุบันนี้ยังไม่มีวัคซีนในการป้องกันโรค กรมปศุสัตว์ได้ยกระดับ การป้องกันการระบาดของโรค เช่น ชะลอการนำเข้าสุกรและผลิตภัณฑ์สุกรจากประเทศที่มีการระบาด รวมถึง การตรวจเข้มการลักลอบเคลื่อนย้ายสุกรและซากสุกรในทุกช่องทาง ที่ผ่านมามีการตรวจพบการลักลอบ นำเข้าผลิตภัณฑ์สุกรโดยนักท่องเที่ยวในหลายครั้ง ซึ่งขณะนี้ยืนยันว่ายังไม่มีการระบาดของโรคอหิวาต์ แอฟริกาในสุกรในประเทศไทย

ข่าวจาก ข่าวสดออนไลน์

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: