เมื่อวันที่ 28 มีนาคม นายบรรยง พงษ์พานิช ประธานกรรมการบริษัทหลักทรัพย์ ภัทร โพสต์เฟซบุ๊ก Banyong Pongpanich สนับสนุนรัฐบาลช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย เพิ่มงบประมาณสำหรับการบริหารสาธารณสุข ดูแลสภาพคล่องให้ธุรกิจ ตลาดเงิน ด้วยการออก พ.ร.ก.กู้เงิน ไม่น้อยกว่า 1 ล้านล้านบาท ไม่เกิน 1.7 ล้านล้านบาท หรือ 10% ของ GDP ดังนี้
เรากำลังสู้ศึกครั้งใหญ่……
ยังไงก็ไม่ควรเปลี่ยนม้ากลางศึก เปลี่ยนแม่ทัพกลางสงคราม
เราควรสนับสนุนรัฐบาลให้ความร่วมมือบรรลุเป้าหมายชนะศึก พักความขัดแย้งทั้งหลายไว้ก่อน
แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าต้องปิดปากสนิท ห้ามวิพากษ์วิจารณ์หรือเสนอแนะใดๆ …แต่ขอให้ทำอย่างสร้างสรร
ผมสนับสนุน ในการออกพรก.บริหารฯฉุกเฉิน สนับสนุนมาตรการเข้มงวดต่างๆที่จะต้องหยุดยั้งการแพร่ระบาดโรคให้ได้โดยเร็ว
ผมสนับสนุนให้ออกพรก.กู้เงินและเพิ่มงบประมาณฉุกเฉินอีก ไม่น้อยกว่า 1 ล้านๆ บาท (ไม่เกิน1.7ล้านล้านบาทหรือ 10%ของGDP)
โดยขอให้จัดลำดับความสำคัญของงบประมาณพิเศษดังนี้
1.เพิ่มงบสาธารณสุขให้พอเพียง ทั้งสถานพยาบาล เครื่องมือ อุปกรณ์ รวมถึงงบจ้างบุคคลากรพิเศษ (แม้ต้องจ้างต้องเชิญหมอพยาบาลจากจีนมาเสริมถ้าจำเป็นก็ควรเริ่มเตรียมการครับ) ถ้ายังหยุดโรคไม่ได้ก็ไม่มีทางเปิดเศรษฐกิจใหม่ได้ครับ
2.งบข่วยเหลือดูแลประชาชนผู้ที่ต้องเดือดร้อนจากมาตรการต่างๆตลอดอายุของมาตรการ โดยเฉพาะผู้ที่ขาดรายได้พื้นฐานในการดำรงชีวิต(ที่ทำไปแล้วยังน้อยไปมาก และยังไม่ครอบคลุมครับ)
3.งบช่วยเหลือสร้างสภาพคล่องให้กับธุรกิจที่หยุดชะงักจากผลของการระบาด และจากมาตรการของรัฐ(อย่าลืมว่ารัฐเป็นคนออกคำสั่งปิดเศรษฐกิจนะครับ)
4.งบเพื่อดูแลสภาพคล่องและช่วยเหลือให้ตลาดการเงินยังดำรงอยู่ได้ (ดูแลและrescueระบบโดยไม่ใช่อุ้มนายทุน)
ทั้งหมดนี่เพื่อฝ่าฟันทั้งวิกฤตโรคร้ายและวิกฤติเศรษฐกิจที่ตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ต้องทำเร็ว ทำมาก ทำให้ดีไว้ก่อน จะหลีกเลี่ยงหายนะ หรือไม่ก็ลดความเสียหายได้มากได้
สิงคโปร์ และสหรัฐประกาศมาตรการออกมา มีต้นทุนประมาณ 10% ของ GDP พอๆ กัน
ไทยมีวินัยทางการคลังพอสมควรตลอดมา มีหนี้สาธารณะต่อ GDP แค่ 42% เรายังมีศักยภาพเพียงพอที่จะใช้ทรัพยากรกลางได้อีกเยอะครับ (มีวินัยมาก็เพื่อการนี้แหละครับ)
ขอเพียงให้ใช้งบอย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใส และตรวจสอบได้ก็แล้วกันนะครับ เปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการติดตามตรวจสอบ
ประเทศไทยต้องชนะ (ยามนี้ยอมตามท่านนายกครับ)
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ