สินเชื่อที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ (Reverse Mortgage) จาก ธอส. ทางเลือกของคนที่อยากเปลี่ยนบ้านให้กลายเป็นเงินบำนาญ เพื่อเพิ่มรายได้ในวัยเกษียณ
วัยเกษียณเป็นช่วงเวลาที่น่าจะได้พักผ่อนและใช้ชีวิตอย่างมีความสุข แต่ในความเป็นจริงยังมีผู้สูงอายุจำนวนไม่น้อยที่ประสบปัญหาเงินไม่พอใช้หลังเกษียณ เนื่องจากไม่ได้วางแผนออมเงินไว้ล่วงหน้า และอาจไม่มีลูกหลานคอยดูแลหรือช่วยซัพพอร์ตเรื่องเงิน ครั้นจะออกไปทำงานหนักเหมือนสมัยก่อน สภาพร่างกายก็ไม่เอื้ออำนวยเสียอีก ทำให้ชีวิตหลังเกษียณไม่ค่อยสุขสบายเท่าไรนัก
อย่างไรก็ดี สำหรับคนที่มีบ้านเป็นของตัวเองยังพอจะมีทางออกอยู่บ้างค่ะ เพราะปัจจุบันหลายธนาคารมีโครงการสินเชื่อที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ หรือที่เรียกกันว่า Reverse Mortgage อย่างธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ก็เปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุนำบ้านของตัวเองมายื่นกู้กับธนาคาร แล้วแปลงเป็นเงินบำนาญได้
สินเชื่อที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ คืออะไร
ปกติเวลาเราซื้อบ้านก็จะต้องขอสินเชื่อกับธนาคาร แล้วทยอยผ่อนจ่ายเงินต้นและดอกเบี้ยคืนให้ธนาคารทุกเดือนใช่ไหมคะ ขณะที่สินเชื่อที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ (Reverse Mortgage) รูปแบบการให้สินเชื่อจะเป็นแบบย้อนกลับ
นั่นก็คือ ผู้กู้จะต้องนำที่อยู่อาศัยของตัวเองไปจำนองกับธนาคาร แต่จะไม่ได้เงินก้อนใหญ่ทีเดียว เพราะธนาคารจะทยอยจ่ายเงินให้เป็นรายเดือน พูดง่าย ๆ ก็เหมือนการที่เราขายบ้านให้ธนาคารผ่อนซื้อล่วงหน้า ซึ่งเงินงวดที่ธนาคารจ่ายให้ทุกเดือนก็คล้ายกับเป็นเงินบำนาญให้ผู้สูงอายุมีรายได้เพิ่มในการดำรงชีพนั่นเอง
อย่างไรก็ตาม แม้จะนำบ้านไปจำนองกับธนาคารแล้ว ผู้กู้ก็ยังสามารถอาศัยอยู่ในบ้านได้เหมือนเดิมนะคะ และเมื่อธนาคารจ่ายเงินให้ผู้กู้ครบแล้ว บ้านหลังนั้นจะตกเป็นกรรมสิทธิ์ของธนาคาร ยกเว้นว่าผู้กู้หรือทายาทจะมาไถ่ถอนบ้านคืน
สินเชื่อที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ มีดีอย่างไร
ต้องบอกว่าสินเชื่อที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุสามารถตอบโจทย์และแก้ปัญหาทางการเงินของวัยเกษียณได้หลากหลายวัตถุประสงค์เลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็น…
- ช่วยให้ผู้สูงอายุมีเงินสดไว้หมุนเวียนใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน รวมทั้งชำระหนี้สินต่าง ๆ
- เป็นหลักประกันว่าจะมีรายได้เข้ามาทุกเดือน จึงเหมาะกับคนวัยเกษียณที่ไม่ได้รับเงินบำนาญ บำเหน็จ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือมีเงินออมไม่เพียงพอ
- ช่วยให้มีเงินเก็บสำรองไว้ใช้ยามฉุกเฉิน
- ช่วยเสริมสภาพคล่องทางการเงินได้ดียิ่งขึ้น .
- แม้จะใช้บ้านเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันกับธนาคาร แต่ก็สามารถอยู่อาศัยในบ้านได้เหมือนเดิม
- เหมาะกับผู้สูงอายุที่มีบ้านเป็นของตัวเอง แต่ไม่มีทายาท เพราะสามารถแปลงบ้านให้กลายเป็นรายได้เลี้ยงชีพจนวาระสุดท้ายของชีวิต และเมื่อเสียชีวิตไปแล้ว บ้านจะเป็นกรรมสิทธิ์ของธนาคารต่อไป
ใครขอสินเชื่อที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุได้บ้าง ?
ผู้ที่สามารถขอสินเชื่อที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุจาก ธอส. ได้ ต้องมีคุณสมบัติดังนี้
- บุคคลธรรมดา มีสัญชาติไทย อายุตั้งแต่ 60 ปี แต่ไม่เกิน 80 ปี
- เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัยโดยปลอดภาระจำนอง
- ต้องไม่เป็นผู้ไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ
- สามารถกู้ร่วมได้เฉพาะกับคู่สมรสตามกฎหมาย หรือพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันที่มีกรรมสิทธิ์ในหลักประกันเดียวกัน
- กำหนดพื้นที่นำร่องหลักประกันต้องตั้งอยู่ในเขต กทม. และปริมณฑล
ให้วงเงินกู้และระยะเวลาผ่อนเท่าไร ?
ธนาคารจะให้วงเงินกู้สูงสุดไม่เกิน 10 ล้านบาท/ราย/หลักประกัน ทั้งนี้ การยื่นกู้โดยใช้ที่ดินพร้อมอาคาร (บ้าน) ค้ำประกัน ธนาคารให้กู้ไม่เกินร้อยละ 50 ของราคาประเมินที่ดินและอาคาร ส่วนการยื่นกู้โดยใช้ห้องชุดค้ำประกัน ให้กู้ไม่เกินร้อยละ 30 ของราคาประเมินห้องชุด
ในส่วนของระยะเวลาการกู้นั้น เราสามารถกู้ได้อย่างน้อยที่สุดคือ 6 เดือน และสูงสุดไม่เกิน 25 ปี โดยอายุผู้กู้รวมกับระยะเวลาขอกู้ต้องไม่เกิน 85 ปี
คิดอัตราดอกเบี้ยเท่าไร ?
วิธีขอสินเชื่อที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุจาก ธอส.
ขั้นตอนที่ 1
ผู้สูงอายุนำที่อยู่อาศัยของตนเองที่ตรงตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารกำหนด พร้อมเอกสารหลักฐานต่อไปนี้ ยื่นขอสินเชื่อกับธนาคาร
เอกสาร
– บัตรประจำตัวประชาชน / ข้าราชการ / รัฐวิสาหกิจ
– ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
– สำเนาทะเบียนสมรส / ใบหย่า / ใบมรณบัตร (ถ้ามี)
– สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ-สกุล (ถ้ามี)
– อื่น ๆ (ถ้ามี)
เอกสารหลักประกัน
– สำเนาโฉนดที่ดิน / น.ส.3 ก. / หนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ห้องชุด (อ.ช.2) ทุกหน้า
– หลักฐานการเป็นเจ้าของบ้าน เช่น สำเนาใบคำขอ เลขหมายบ้าน สำเนาสัญญาซื้อ-ขายฉบับสำนักงานที่ดิน (ท.ด.13 หรือ อ.ช.23)
– ทะเบียนบ้านหลักประกันที่มีชื่อผู้กู้หลักเป็น “เจ้าบ้าน” หรือ “ผู้อาศัย”
– อื่น ๆ (ถ้ามี)
ทั้งนี้ ธนาคารอาจขอเอกสารต่าง ๆ เพิ่มเติม เพื่อใช้ประกอบพิจารณาการให้สินเชื่อของธนาคาร
ขั้นตอนที่ 2
ขั้นตอนที่ 3
เมื่อครบกำหนดสัญญาเงินกู้ ธนาคารจะหยุดการจ่ายเงิน และผู้กู้จะสามารถดำเนินการได้ดังนี้
กรณีผู้กู้ยังมีชีวิตอยู่ สามารถเลือกได้ 2 วิธี คือ
1. ชำระหนี้ปิดบัญชี
2. กู้เพิ่มเติมได้ตามเงื่อนไขที่ธนาคารกำหนด
กรณีผู้กู้เสียชีวิตแล้ว ทายาทของผู้กู้สามารถเลือกได้ 2 วิธี คือ
1. ให้ทายาทชำระหนี้ปิดบัญชี เพื่อไถ่ถอนบ้านคืน
2. หากทายาทไม่ต้องการไถ่ถอนบ้านคืน ธนาคารจะนำบ้านขายทอดตลาดเพื่อชำระหนี้ปิดบัญชี
– ถ้าขายบ้านได้ในราคาสูงกว่ายอดหนี้ ธนาคารจะคืนส่วนต่างให้ทายาท
– ถ้าขายบ้านได้ในราคาต่ำกว่ายอดหนี้ ธนาคารจะเป็นผู้รับผิดชอบส่วนต่างทั้งหมดเอง
ยื่นกู้วันนี้ ฟรีค่าธรรมเนียมอะไรบ้าง ?
ผู้ขอสินเชื่อที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุจาก ธอส. จะได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมการยื่นกู้ (0.1% ของวงเงินกู้) และฟรีค่าประเมินราคาหลักประกัน
สำหรับค่าธรรมเนียมอื่น ๆ ธนาคารจะเป็นผู้รับผิดชอบให้บางส่วน ตามนี้ค่ะ
– ค่าจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม (1,000 บาท/ราย)
– ค่าจดทะเบียนนิติกรรมจำนอง (1% ของวงเงินจำนอง)
– ค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย (50%)
จะเห็นว่าสินเชื่อที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ (Reverse Mortgage) จาก ธอส. เป็นผลิตภัณฑ์ที่ค่อนข้างตอบโจทย์วัยเกษียณที่มีบ้านเป็นของตัวเอง และต้องการใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ที่มีให้กลายเป็นรายได้ เพื่อสร้างความสุขในบั้นปลายชีวิต หากใครสนใจสามารถติดต่อขอสินเชื่อที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ (Reverse Mortgage) ได้ที่ ธอส. ทุกสาขา ทั่วประเทศเลยค่ะ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม Inbox : m.me/GHBank
ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ (Call Center) โทร. 0-2645-9000
www.ghbank.co.th
สนใจขอสินเชื่อกับ ธอส. คลิก หรือที่ ธอส. ทุกสาขา ทั่วประเทศ คลิก
ดูรายละเอียดสินเชื่อบ้าน ธอส. อื่น ๆ คลิก
ข่าวจาก : kapook
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ