ศาลทหารนัดฟังคำสั่งฟ้อง คดีรุมซ้อมพลทหารวิเชียรแล้ว สอบสวนเกิน10 ปี





ศาลทหารนัดฟังคำสั่งฟ้อง คดีซ้อมพลทหารวิเชียรจนตาย 30 ก.ย.นี้ ญาตพลทหารวิเชียรดีใจ ยุติการรอคอยนาน 10 ปี

เมื่อวันที่ 22 กันยายน น.ส.นริศราวัลถ์ แก้วนพรัตน์ หลานสาวของพลทหารวิเชียร เผือกสม ที่เสียชีวิตจากการฝึกซ้อมทหารใหม่ในค่ายทหาร เมื่อปี 2554 โพสต์ข้อความทาง facebook เปิดเผยความคืบหน้า ว่าล่าสุดมีหนังสือจากอัยการมณฑลทหารบกที่ 46 ค่ายอิงคยุทธบริหาร ลงวันที่ 22 กันยายน แจ้งความคืบหน้าเกี่ยวกับคดี โดยจะยื่นฟ้องร้อยโทกับพวกรวม 9 คนในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เป็นทหารไม่ปฏิบัติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชา และฆ่าผู้อื่นโดยไม่เจตนา ต่อศาลมณฑลทหารบกที่ 46 โดยสารได้กำหนดนัดฟังคำประทับรับฟ้อง วันที่ 30 กันยายน 2564 เวลา 13.30 น.

น.ส.นริศราวัลถ์ระบุต่อว่า จากวันที่พลทหารวิเชียร ถูกเจ้าหน้าที่ทหารรุมซ้อมทรมานทำร้ายร่างกายในหน่วยฝึกทหารใหม่ ได้รับบาดเจ็บสาหัสจนเสียชีวิต เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2554 นั้น จนวันนี้เวลาล่วงเลยผ่านมา 10 ปีกว่าแล้ว ผ่านด่านพนักงานสอบสวน + กรรมการสอบสวนของ พล.ร.15 และทัพภาคที่ 4 >> อัยการ มทบ.42 >> คณะกรรมการ ป.ป.ช. >> คณะกรรมการ ปปท. >> เจ้ากรมพระธรรมนูญ >> อัยการทหาร มทบ.46 มันก็มาถึงด่านสุดท้ายแล้วนะ >> ศาลทหาร มทบ. 46 ยังเชื่อมั่นต่อศาลทหารเสมอว่ามีความยุติธรรม วันที่ 30 เมษายน 2564 เวลา 09.00 น. ศาล มทบ. 46 มีนัดฟังคำสั่ง/ประทับรับฟ้องคดี …โดยมีผู้ต้องหาครบ 10 นาย (รวมร้อยโท) ความถูกต้องและยุติธรรมจะต้องชนะอำนาจยศฐาบรรดาศักดิ์และเงินตรา

ขอชี้แจงเพิ่มเติมถึงระยะเวลาที่ผ่านไปเกือบ 10 ปี พนง.สอบสวนทำสำนวนคดีฐานร่วมกันทำร้ายร่างกายจนเสียชีวิต ผู้ต้องหา 9 นาย (ร้อยตรีลงมา ไม่มีร้อยโท) ส่งให้อัยการทหาร มทบ.42 ซึ่งอัยการทหารได้ให้ พนง.สอบสวน สอบเพิ่มแล้วแต่ยังได้ 9 นายเท่าเดิม …ใช้เวลา 2-3 เดือน

อัยการทหาร มทบ.42 ส่งสำนวนให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. เมื่อต้นเดือน ธ.ค.54 แยกเป็น 2 สำนวน คือ สำนวนเเรกตามที่ พนง.สอบสวนทำมา ผู้ต้องหา 9 นาย (ร้อยตรีลงมา) / สำนวนที่ 2 ความผิด ม.157 กับ 10 นาย (รวมร้อยโท) … ใช้เวลา 2-3 เดือน

คณะกรรมการ ป.ป.ช.ส่งต่อสำนวนไปให้ คณะกรรมการ ปปท. (เนื่องจากยศผู้ถูกกล่าวหาอยู่ในอำนาจการพิจารณาของ ปปท.) เมื่อ พ.ค.-มิ.ย.55 …ใช้เวลา 5-6 เดือน

คณะกรรมการ ปปท.สอบพยาน รวบรวมหลักฐาน จนสามารถรวมสำนวน 2 สำนวนเข้าด้วยกันเหลือสำนวนเดียว มีมติชี้มูลความผิดทั้ง 10 นาย (ร้อยโทกับพวกรวม 10 นาย) ในความผิด ม.290 ม.157 ม.83 และประมวลกฎหมายอาญาทหาร ม.30 (4) ส่งสำนวนต่อให้อัยการทหาร มทบ.46 สั่งฟ้อง …ใช้เวลา 4 ปี

อัยการทหาร มทบ.46 (คนเก่า) มีความเห็นแย้งกับ มติ ปปท. และมีการแก้ไขความผิดประมวลกฎหมายอาญาทหาร ม.30 (4) เป็น ม.30 (2) …ใช้เวลาร่วมเกือบ 2 ปี

คณะกรรมการ ปปท.ส่งมติยืนยันฟ้องให้เจ้ากรมพระธรรมนูญชี้ขาด เมื่อ 4 ต.ค.61 และสุดท้ายเจ้ากรมฯ มีความเห็นชี้ขาดตามมติ ปปท. … ใช้เวลา 1 ปีกว่า

สำนวนกลับมาอยู่ในมืออัยการทหาร มทบ.46 (คนใหม่) ต้นปี 2563 ซึ่งเป็นช่วงสถานการณ์โควิดระบาดพอดี แต่อัยการทหารก็ได้ทำสำนวนส่งฟ้องผู้ต้องหาไปเมื่อสิ้นปี 2563 และศาลมีดุลพินิจให้ประกันด้วยหลักทรัพย์ (เนื่องจากผู้ต้องหาไม่มีพฤติกรรมจะหลบหนี) ส่วนตัวเห็นด้วยกับศาลที่ให้ประกันตัว

 

ข่าวจาก : มติชน

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: