“เส้นด้าย” โพสต์ภาพสุดสงสาร รปภ.ต้องนอนนอกบ้านรอการรักษาหลังติดโควิด





เพจ “เส้นด้าย” แชร์ภาพบีบหัวใจหลังรปภ.ติด “โควิด” เก็บเสื้อผ้าออกมานอนรอการรักษานอกบ้าน ถามหรือภาพเดิม ๆ กำลังจะกลับมา

จากสถานการณ์การระบาดของ “โควิด” โอไมครอนในประเทศไทยที่เริ่มมีจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยขณะนี้ไทยพบผู้ติดเชื้อเฉลี่ยประมาณวันละ 20,000-30,000 ราย รวมการตรวจหาเชื้อแบบ ATK สิ่งที่หลายคนกังวลคงเป็นเรื่องระบบสาธารณสุขที่จะสามารถรองรับไหวหรือไม่ เนื่องจากขณะนี้ฮอสพิเทล โรงพยาบาลสนามเริ่มทะยอยปิดตัวลงไปแล้ว เพราะที่ผ่านมาสถานการณ์ “โควิด” ในประเทศไทยเริ่มดีขึ้น ล่าสุด
เพจ เส้นด้าย – Zendai ได้แชร์ข้อมูลของผู้ป่วยรายหนึ่งที่ติดเชื้อโควิดแต่ต้องออกมานอนรอรับการรักษานอกที่อยู่อาศัย โดยระบุ ว่า

ในวันที่ฮอสพิเทล​หลายที่เริ่มปิดรับคนไข้
โรงพยาบาล​หลาย​แห่ง​เตียง​เริ่ม​เต็ม
คนไข้หลายคนยังรอคอยยาอยู่​ที่บ้าน….
ภาพเดิมๆเริ่มกลับมา
วันนี้ที่เราเจอ รปภท่านหนึ่ง​ต้องมานอนบริเวณ​หน้าธนาคาร​เพราะที่ห้องเช่ามีเมียและลูกเพื่อนบ้านอีกหลายชีวิต​ต้องใช้ห้องน้ำรวม หลังจากพยายาม​ติดต่อเข้ารับการรักษา​รพประกันสังคม​และเบอร์​ต่างๆไม่สำเร็จ​เนื่องจาก​ติดวันหยุด​ จึงตัดสินใจ​เก็บข้าวของเสื้อผ้า​มานอนรอการรักษา​
เบื้องต้น​อาสาเส้นด้าย​นำส่ง ศูนย์​พักคอยเราต้องรอด คันนายาว​เรียบร้อย​แล้ว

สำหรับข้อมูลจากระทรวงสาธารณสุข (18 ก.พ.) ระบุมาตรการรองรับ และสถานการณ์เตรียงว่าง และอัตราการครองเตียงของผู้ป่วย “โควิด” ไว้ดังนี้

ล่าสุดอัตราเตียงสำหรับรองรับผู้ป่วย “โควิด” ทั่วประเทศ มีอัตราเตียงว่างที่สามารถรองรับผู้ป่วยในระดับต่าง ๆ อัตราการครองเตียง (ข้อมูล ณ วันที่ 16 ก.พ. 65 ) ได้ดังนี้

  • อัตราเตียงรองรับผู้ป่วยโควิที่มีในระบบทั้งหมด 174,0239 เตียง
  • อัตราการครองเตียง 80,756 เตียง
  • อัตราเตียงว่าง 93,273 เตียง

ความสามารองรับผู้ป่วย โควิด รูปแบบ Home Isolation มีทั้งหมด 229 แห่ง สามารถรองรับจำนวนผู้ป่วยใหม่ได้ประมาณ 5,540 รายต่อวันต่อแห่ง รวมทั้งสิ้นสามารถอรองรับผู้ป่วยได้ประมาณ 43,075 ต่อวัน ส่วนต่างจังหวัดมีการเตรียมความพร้อมทั้ง Home Isolationและ Community Isolation รองรับผู้ป่วยใหม่

 

ข่าวจาก : komchadluek

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: