22 ก.ย. 2565 รศ.ดร.วีรชัย พุทธวงศ์ หรืออาจารย์อ๊อด อาจารย์ภาควิชาเคมี คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์ข้อความเผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว “Weerachai Phutdhawong” ถึงกรณีเกิดเหตุการณ์สารเคมีรั่วไหล ที่โรงงานบริเวณถนนพุทธมณฑลสาย 7 ว่า เบื้องต้น ทราบแล้วว่าเป็นสารกลุ่มอะโรมาติกเบนซิน Aromatic Benzene ที่ใช้ในการทำพลาสติก คาดว่าน่าจะเป็น Toluene
โทลูอีน (Toluene) มีคุณสมบัติหลาย ๆ อย่างคล้ายเบนซิน (Benzene) เป็นพิษคล้ายกันแต่อ่อนกว่าเบนซิน จึงมักถูกนำมาใช้แทนเบนซิน
โทลูอีน เป็นของเหลวใส มีกลิ่นคล้ายเบนซิน ไวไฟเหมือนกัน และมีชื่อเรียกอีกหลายชื่อ เช่น โทลูอีน,เมทิลเบนซิน และเมทิลเบนซอล เป็นต้น เป็นส่วนประกอบในน้ำมันเบนซิน (Benzine)
ขณะที่โทลูอีน 1 เปอร์เซ็นต์ ใช้ในตัวทำลายสี หมึก กาว หรือใช้เป็นสารสำหรับชะล้าง ในอุตสาหกรรมจะมีการใช้โทลูอีนเป็นสารตั้งต้นสำหรับสังเคราะห์สารอื่นๆ มากมาย เช่น ใช้ทำโฟม ยูรีเทน ใช้สังเคราะห์สีย้อม ผลิตภัณฑ์ยาและเครื่องสำอางค์ และใช้ทำลายพยาธิปากขอ
ผลต่อสุขภาพเหมือนเบนซิน คือทำลายระบบประสาทส่วนกลาง ถ้าสูดดมนาน ๆ หรือเข้าผิวหนังอย่างเช่น พวกดมกาว ระยะยาวมีผลต่อไขกระดูกและโลหิต อาจกลายเป็นมะเร็งในเม็ดเลือด และทำให้เกิดการกลายพันธุ์ได้
การสูดดมระยะสั้น ๆ เช่นอยู่ในโรงงานที่มีไอระเหยจางๆ ทำให้อ่อนเพลีย อาการเหมือนมึนเมา คลื่นใส้ ความจำเสื่อมและในเยื่ออาหาร แม่ว่าจะสูดเข้าไปเดี๋ยวเดียว แต่ถ้าไอเข้มข้นมากก็ทำให้วิงเวียน หมดสติ และอาจตายได้ เพราะหายใจไม่ออก คนสูบบุหรี่และผู้เป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง จะมีความเสี่ยงต่อพิษโทลูอีนมากกว่าคนทั่วไป
สำหรับผิวหนังถ้าถูกโทลูอีนเป็นเวลานานซ้ำที่เดิมจะเป็นแผลอักเสบ เพราะโทลูอีนละลายไขมันตามธรรมชาติบนผิวหนังจนเกิดการอักเสบ ในที่ทำงานไม่ควรปล่อยให้มีการระเหยฟุ้งกระจาย ต้องระบายอากาศให้บริสุทธิ์อยู่เสมอ จะได้ไม่สูดดมเข้าไป ถ้าหกให้ใช้ทรายซับ และเก็บในถังมิดชิด แล้วนำไปเผาทิ้งในที่ปลอดภัย ประการสำคัญอย่าลืมว่าโทลูอีนไวไฟด้วย ต้องระวังไม่ให้มีการจุดไฟ หรือประกายไฟในบริเวณใกล้เคียง
ข่าวจาก : ข่าวสด
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ