เช็คอัปเดต “เงินเยียวยาเกษตรกร 2565” เงินช่วยเหลือชาวนา “ประกันรายได้ข้าว 65/66” รวมทั้งสิ้น 33 งวด โดยจะโอนเงินผ่านบัญชีของธนาคากรเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส. ภายหลังที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายและบริหารข้าวแห่งชาติ (นบข.) มีมติเห็นชอบหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และกรอบวงเงิน เพื่อใช้สำหรับจ่ายชดเชยและเป็นค่าบริหารจัดการโครงการ และมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ดังนี้
โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว (ปี4) ฤดูกาลผลิต 2565/66 พร้อมมาตรการเสริม ดังนี้
- โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี4 ซึ่งจะมีเกษตรกรได้รับประโยชน์ 4.68 ล้านครัวเรือน ใช้เงินงบประมาณ 86,740.31 ล้านบาท
- มาตรการคู่ขนาน 3 โครงการย่อย ใช้งบประมาณรวมกัน 8,022.69 ล้านบาท ประกอบด้วย
- โครงการส่งเสริมให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวชะลอการขายข้าวในช่วงระยะเวลาที่ข้าวประดังกันออกสู่ตลาดจำนวนมาก เพื่อป้องกันข้าวเปลือกราคาตก โดยจะมีเงินช่วยเหลือเกษตรกรไร่ละ 1,500 บาทต่อรายต่อข้าว 1 ตัน
- โครงการช่วยเหลือดอกเบี้ย 3% ให้กับสหกรณ์ที่ชะลอการขายข้าว หรือเก็บสต็อกข้าวไว้ เพื่อไม่ให้ข้าวที่ออกมามากจนล้นตลาด จนทำให้ข้าวราคาตก และ
- โครงการช่วยเหลือดอกเบี้ย 3% ให้กับโรงสีที่เก็บสต็อกข้าวไว้เช่นเดียวกัน
3. โครงการไร่ละ 1,000 บาท เป็นการสนับสนุนค่าบริหารจัดการ และพัฒนาคุณภาพผลผลิตให้กับเกษตรกรผู้ปลูกข้าวไม่เกินครอบครัวละ 20 ไร่ เป็นเงินรวมกันทั้งสิ้น 55,364.75 ล้านบาท
- รวมทั้งสิ้น 150,127.75 ล้านบาท
ประกันรายได้ข้าว 65/66 เงินเข้าวันไหน
- เริ่มเช็คสิทธิประกันรายได้ข้าว 65/66 ได้ตั้งแต่ 15 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป
เงินช่วยเหลือชาวนา ไร่ละ 1,000 บาท
โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2565/66 หรือเงินช่วยเหลือชาวนา 2565 ไร่ละ 1,000 บาท ชาวนารับเงินสูงสุด 2 หมื่นบาท กรอบวงเงิน 5.5 หมื่นล้านบาท อยู่ระหว่างการเข้าสู่ที่ประชุม ครม. รอการพิจารณา คาดว่าจะเป็นวันที่ 18 ตุลาคม 2565 เนื่องจาก ธ.ก.ส. นัดโอนเงิน วันที่ 19 ต.ค. สำหรับเกษตรกรที่เก็บเกี่ยวก่อนวันที่ 15 ตุลาคม 65 ในงวดแรก เช็คที่นี่
เงินเยียวยาน้ำท่วม สูงสุดไร่ละ 11,780 บาท
กรณีไม่สามารถดำเนินการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติได้ตามระยะเวลาที่กำหนด ให้ยื่นขยายระยะเวลาการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน ก่อนระยะเวลาการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินสิ้นสุดลงไม่น้อยกว่า 15 วัน และขอให้มีการบูรณาการหน่วยงานในระดับพื้นที่ เพื่อเร่งรัดดำเนินการให้ความช่วยเหลือ ผู้ประสบภัยพิบัติด้านการเกษตร
กรณีพื้นที่ทำการเพาะปลูก มีพืชตายหรือเสียหายจนไม่สามารถฟื้นฟู หรือเยียวยาให้กลับสู่สภาพเดิมได้อีก ให้ช่วยเหลือตามจำนวนพื้นที่เพาะปลูกที่เสียหายจริง ไม่เกินครัวเรือนละ 30 ไร่ ในอัตรา ดังนี้
- ข้าว ไร่ละ 1,340 บาท
- พืชไร่และพืชผัก ไร่ละ 1,980 บาท
- ไม้ผลไม้ยืนต้น และอื่น ๆ ไร่ละ 4,048 บาท
การประมง ให้ดำเนินการช่วยเหลือผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ประสบภัยพิบัติที่สัตว์ตายหรือสูญหาย ให้ดำเนินการช่วยเหลือเป็นเงิน ดังนี้
- กุ้งก้ามกราม กุ้งทะเล หรือหอยทะเล ไร่ละ 11,780 บาท ไม่เกินรายละ 5 ไร่
- ปลาหรือสัตว์น้ำอื่น ๆ ที่เลี้ยงในบ่อดิน นาข้าวหรือร่องสวน (คิดเฉพาะพื้นที่เลี้ยง)ไร่ละ 4,682 บาท ไม่เกินรายละ 5 ไร่
- สัตว์น้ำที่เลี้ยงในกระชัง บ่อซีเมนต์ หรือที่เลี้ยงในลักษณะอื่นที่คล้ายคลึงกัน ตารางเมตรละ 368 บาท ไม่เกินรายละ 80 ตารางเมตร
หากคิดคำนวณพื้นที่เลี้ยงแล้ว ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ประสบภัยพิบัติรายใดจะได้รับการช่วยเหลือเป็นเงินไม่ต่ำกว่า 368 บาท ให้ช่วยเหลือในอัตรารายละ 368 บาท
สามารถตรวจสอบสถานะขั้นตอน-ช่องทางตรวจสอบเงิน ดังนี้
- เข้าสู่เว็บไซต์ chongkho.inbaac.com ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
- กรอกเลขประจำตัวประชาชน เพื่อใช้ในการเช็ค “เงินเยียวยาเกษตรกร” หลังจากกรอกเลขบัตรประชาชน โดยจะมีรายละเอียดของบัญชี จำนวนเงิน และโครงการของเงินช่วยเหลือที่ได้รับ
- ตรวจสอบข้อมูลในแอปพลิเคชัน ธ.ก.ส. A-Mobile หลังจากตรวจสอบในเว็บไซต์แล้วเรียบร้อย หากมีข้อมูลขึ้นว่าได้รับเงินโอน สามารถเข้าไปตรวจสอบยอดเงินได้ด้วยตัวเอง
ข่าวจาก : คมชัดลึก
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ