เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง หลังจากเฟซบุ๊กของ ทนายเกิดผล แก้วเกิด ได้โพสต์ข้อมูลในแง่มุมให้ความรู้ทางกฎหมาย เกี่ยวกับการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ โดยมีภาพของข้อความบนกล่องสินค้ามีการระบุ พ่อค้าแม่ค้า ส่งสินค้าให้ลูกค้า มีการติดสติกเกอร์หน้ากล่องพัสดุว่า “#กรุณาถ่ายวิดีโอขณะเปิดกล่องพัสดุ เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการเคลมสินค้า #ไม่มีหลักฐานงดเคลมทุกกรณี “ ปรากฏว่า คดีที่ศาลจังหวัดอุดรธานีคดีหนึ่ง ผู้ซื้อสินค้า รับสินค้าไว้ แต่ไม่ได้ถ่ายคลิปวิดีโอ ไว้เป็นหลักฐาน เมื่อเปิดกล่องพัสดุ ผลคือ สินค้าแตกหัก ขอคืนสินค้า แต่ผู้ขายปฏิเสธ เพราะผู้ซื้อไม่ได้ถ่ายคลิปเป็นหลักฐานในขณะรับสินค้า ลูกค้าจึงนำคดีมาฟ้องเป็นคดีผู้บริโภค
ศาลชั้นตั้น (ศาลจังหวัดอุดรธานี ) พิพากษาว่า “…ข้อความดังกล่าวนี้ถือเป็น ข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม สัญญาที่ฝ่ายหนึ่งได้เปรียบ คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งมากเกินสมควร ประกอบกับคู่สัญญาไม่ได้รับความยินยอมในสัญญาตั้งแต่ต้น ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 มาตรา 4 วรรคสาม #ข้อตกลงดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะตามมาตรา 11 สิ่งที่ควรกระทำผู้จัดส่งควรถ่ายวิดีโอขณะแพ็กสินค้า ผู้รับควรถ่ายวิดีโอขณะแกะสินค้า เมื่อมีการชำรุด แตกหัก ร้านค้าต้องรับผิดชอบในเบื้องต้น และเรียกค่าเสียหายจากผู้ขนส่งมิใช่เป็นการผลักภาระให้ผู้บริโภคฝ่ายเดียว…”
คดีลักษณะนี้ ในลักษณะติดประกาศแต่เพียงฝ่ายเดียว เช่น รถหายในห้าง โดยห้าง ติดประกาศว่า #รถหายห้างจะไม่รับผิดชอบ ศาลฎีกา เคยพิพากษาว่า ข้อความดังกล่าว เป็นการแสดงเจตนาฝ่ายเดียว เป็นสัญญาที่ไม่เป็นธรรม เป็นโฆฆะ ตามมาตรา 11 (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10570/2557)
ส่วนคดี ที่จังหวัดอุดรธานี ยังไม่ถึงที่สุด แต่มีข้อความประกาศในลักษณะคล้ายกับคดี ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10570/2557 จึงเชื่อว่า น่าจะพิพากษาให้ผู้ขายหรือขนส่งรับผิดเข่นกัน
ภายหลังจากข้อความของทนายเกิดผลถูกเผยแพร่ออกไป ปรากฏว่ามีคนเข้ามาสอบถามข้อสงสัย หลากหลายประเด็นที่เกี่ยวกับทางซื้อขายออนไลน์ แล้วไม่ได้รับความเป็นธรม โดยเฉพาะประเด็นที่ผู้ขายมีคลิปตอนแพ็กของส่งให้ลูกค้า ซึ่งฝ่ายทนายเกิดผล ได้ชี้แจงว่า ตรงนี้สามารถไปเรียกค่าเสียหายกับฝ่ายบริษัทขนส่งได้.
ข่าวจาก : dailynews
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ