ซีเอ็นเอ็น รายงานจากการศึกษาของนักวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารพลอสไบโอโลจี (PLOS Biology) พบว่า พืชและสัตว์ในทวีปแอนตาร์กติการ้อยละ 65 กำลังประสบปัญหา โดยเฉพาะเพนกวิน หนึ่งในสัตว์ที่เป็นสัญลักษณ์ของทวีปที่มีแนวโน้มว่าจะสูญหายภายในศตวรรษนี้ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ อุณหภูมิโลกที่สูงขึ้น รวมถึงมลพิษที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ และการปล่อยก๊าซเรือนกระจากจากเชื้อเพลิงฟอสซิล
รายงานระบุว่า คณะนักวิทยาศาสตร์สังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในแถบอาร์กติกตอนเหนือซึ่งร้อนเร็วกว่าส่วนอื่นๆ ของโลกถึง 4 เท่า ขณะที่น้ำแข็งในทวีปแอนตาร์กติกากำลังลดลงอย่างรวดเร็ว คุกคามนกทะเลหลายชนิด รวมถึงเพนกวินจักรพรรดิและเพนกวินอาเดลี หากน้ำแข็งละลายเร็วขึ้นเพนกวินจะพยายามดิ้นรนเพื่อให้วงจรการสืบพันธุ์สมบูรณ์
อีกสาเหตุหลักที่สร้างผลกระทบ คือ การเพิ่มขึ้นของจำนวนนักท่องเที่ยวในภูมิภาคนี้ที่พุ่งสูงขึ้นกว่าแปดเท่านับตั้งแต่ทศวรรษที่ 1990 ส่งผลให้เกิด ทำให้หิมะละลายมากขึ้น โดยนักวิทยาศาสตร์พบเขม่าหรือคาร์บอนดำที่เกิดจากการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ของน้ำมัน ถ่านหิน ฟืนและเชื้อเพลิงอื่นๆ ซึ่งเป็นตัวการก่อความร้อนให้โลกมากที่สุดรองจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เพราะดูดซับความร้อนจากดวงอาทิตย์ และเป็นตัวเร่งให้หิมะหลอมละลายเร็วขึ้น
การแก้ปัญหาภัยคุกคามทวีปแอนตาร์กติกา คือ ต้องลดขนาดและการจัดการกิจกรรมของมนุษย์ การขนส่ง และปรับโครงสร้างพื้นฐานใหม่ เช่นเดียวกับการปกป้องสายพันธุ์พื้นเมือง ขณะเดียวกันต้องควบคุมสายพันธุ์และโรคต่างถิ่นที่เข้ามาในภูมิภาคด้วย นอกจากนี้ยังรวมถึงการให้ความสำคัญกับนโยบายภายนอก เช่น การบรรลุเป้าหมายด้านสภาพอากาศระหว่างประเทศที่กว้างขึ้นภายใต้ข้อตกลงปารีสปี 2558 ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและป้องกันอุณหภูมิโลกที่เพิ่มสูงขึ้น
ข่าวจาก : ข่าวสด
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ