เปิดสถิติ ธปท. ปรับดอกเบี้ย 8 ครั้ง ใน 2 ปี จากระดับ 0.50% ดีดขึ้น 2.50%





8 มกราคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ช่วง 1 ปีที่ผ่านมา อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยเรียกว่าอยู่วงจรขาขึ้น หลังจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) โดยคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เริ่มปรับอัตราดอกเบี้ยตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2565 จากระดับ 0.50 % สู่ระดับปัจจุบันที่ 2.50 % ซึ่ง กนง.ปรับขึ้นติดต่อกัน 8 ครั้ง โดยให้เหตุผลว่าต้องการควบคุมอัตราเงินเฟ้อที่เคยแตะระดับสูงสุดที่ 8% ในปี 2565 และการขยายตัวของเศรษฐกิจมีแนวโน้มดีขึ้น จึงทยอบปรับอัตราดอกเบี้ยสอดคล้องกับเศรษฐกิจ

รวมถึงเศรษฐกิจไทยยังทยอยฟื้นตัวแม้เป็นไปในลักษณะเปราะบางสะท้อนผ่านตัวเลขจีดีพีในไตรมาส 3/2566 ที่ขยายตัวต่ำกว่าคาด กนง. จะคงดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 2.50% ไปทั้งปี 2567 และเงินเฟ้อทรงตัวในกรอบ 1-3%

ทั้งนี้ โดยปกติ กนง. จะมีการประชุมเพื่อวิเคราะห์เศรษฐกิจและมีการพิจารณาเรื่องอัตราดอกเบี้ยใน 1 ปี จะมีการประชุม 6 ครั้ง สำหรับตารางการประชุม กนง. ปี 2567 ดังนี้ 1.วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2.วันที่ 10 เมษายน 3.วันที่ 12 มิถุนายน 4.วันที่ 21 สิงหาคม 5.วันที่ 16 ตุลาคม และ 6.วันที่ 18 ธันวาคม

สำหรับสถิติการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายตั้งแต่ปี 2565 – 2566 ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ณ วันที่ 8 ธันวาคม 2566

อัตราดอกเบี้ยนโยบาย 2565

ม.ค. = 0.50%
ก.พ. = 0.50%
มี.ค. = 0.50%
เม.ย. = 0.50%
พ.ค. = 0.50%
มิ.ย. = 0.50%
ก.ค. = 0.50%
ส.ค. = 0.75%
ก.ย. = 1.00%
ต.ค. = 1.00%
พ.ย. = 1.25%
ธ.ค. = 1.25%

อัตราดอกเบี้ยนโยบาย 2566

ม.ค. = 1.50%
ก.พ. = 1.50%
มี.ค. = 1.75%
เม.ย. = 1.75%
พ.ค. = 2.00%
มิ.ย. = 2.00%
ก.ค. = 2.00%
ส.ค. = 2.25%
ก.ย. = 2.50%
ต.ค. = 2.50%
พ.ย. = 2.50%
ธ.ค. = 2.50%

 

ข่าวจาก : มิติชน

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: