วันนี้ (1 ธันวาคม 2567) ถือเป็นวันแรกของการสแกนใบหน้าขึ้นเครื่องบิน ไม่ต้องโชว์พาสปอร์ตและบัตรโดยสาร โดยบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ AOT เริ่มต้นเปิดการให้บริการระบบพิสูจน์อัตลักษณ์บุคคล หรือ Biometric สำหรับผู้โดยสารภายในประเทศและระหว่างประเทศ
สำหรับการสแกนใบหน้าขึ้นเครื่องบิน ไม่ต้องโชว์พาสปอร์ตและบัตรโดยสาร ในวันที่ 1 ธันวาคม 2567 จะเริ้มต้นใช้ ณ สนามบินทั้ง 6 แห่งของ AOT ดังนี้
- ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
- ท่าอากาศยานดอนเมือง
- ท่าอากาศยานเชียงใหม่
- ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย
- ท่าอากาศยานภูเก็ต
- ท่าอากาศยานหาดใหญ่
ทั้งนี้เพื่อให้ผู้โดยสารได้รับความสะดวกสบาย รวดเร็ว รวมทั้งจะช่วยลดระยะเวลาในการใช้บริการของแต่ละจุดบริการภายในท่าอากาศยานของ AOT เหลือประมาณ 1 นาที จากเดิมประมาณ 3 นาที
สำหรับผู้โดยสารที่ต้องการใช้งานระบบ Biometric สามารถลงทะเบียนใช้งานเมื่อมาเช็คอินที่สนามบิน ได้ 2 วิธี ดังนี้
1. เช็กอินที่เคาน์เตอร์เช็กอินของสายการบิน
ผู้โดยสารแจ้งเจ้าหน้าที่สายการบินให้ลงทะเบียนใบหน้าในระบบ Biometric ผ่านเครื่องตรวจบัตรโดยสาร
โดยระบบฯ จะดำเนินการบันทึกข้อมูลใบหน้าและข้อมูลเอกสารการเดินทางของผู้โดยสาร สแกนใบหน้าขึ้นเครื่องบิน ไม่ต้องโชว์พาสปอร์ตและบัตรโดยสาร
2. เช็กอินที่เครื่องเช็กอินด้วยตนเองอัตโนมัติ (เครื่อง CUSS: Common Use Self Service)
ผู้โดยสารสามาถทำการกดปุ่มเลือกสายการบินที่เดินทาง ตามด้วยการกดเลือกให้ความยินยอมลงทะเบียนใบหน้าในระบบ Biometric (Consent Notice) และดำเนินการเช็กอินผ่านระบบจนได้รับบัตรโดยสารขึ้นเครื่อง (Boarding Pass)
จากนั้นทำการสแกน barcode ในบัตรโดยสารขึ้นเครื่อง (Boarding Pass) แล้วเสียบหนังสือเดินทาง (Passport) หรือบัตรประชาชน และสแกนใบหน้าเป็นขั้นตอนสุดท้าย ถือเป็นการเสร็จสิ้นการลงทะเบียน
ทั้งนี้ระบบฯ จะดำเนินการบันทึกข้อมูลใบหน้าและข้อมูลเอกสารการเดินทางของผู้โดยสาร และหากผู้โดยสารมีความประสงค์จะโหลดกระเป๋าสัมภาระ สามารถทำผ่านเครื่องรับกระเป๋าสัมภาระอัตโนมัติ (เครื่อง CUBD : Common Use Bag Drop) รวมทั้งผ่านจุดตรวจค้น และขั้นตอนขึ้นเครื่อง โดยผู้โดยสารไม่ต้องแสดง Passport และ Boarding Pass อีกต่อไป
อย่างไรก็ตามข้อมูลของผู้โดยสารที่ถูกบันทึกไว้จะถูกลบทิ้งภายใน 48 ชั่วโมงนับจากเริ่มลงทะเบียน ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคล และ ข้อกำหนดของกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data Protection Act: PDPA) ของประเทศไทย
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ