กล้องโทรทรรศน์ประสิทธิภาพสูงของชิลี สามารถวิเคราะห์หาค่าวงโคจรของดาวพลูโตได้อย่างแม่นยำ โดยพบว่ามันใช้เวลาเท่ากับ 248 ปีของโลกเรา ในการวนรอบดวงอาทิตย์ครบ 1 รอบ การค้นพบนี้จะช่วยในการนำทางยานสำรวจอวกาศของสหรัฐ ที่กำหนดเดินทางถึงดาวพลูโตในปี พ.ศ.2558
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงซันติอาโก ประเทศชิลี เมื่อวันที่ 6 ส.ค. ว่า นักวิทยาศาสตร์จากหอดูดาวแห่งชาติสหรัฐ (National Radio Astronomy Observatory) เผยว่า กล้องดูดาวอะทาคามา ลาร์จ มิลลิเมเทอร์ ซับมิลลิเมเทอร์ แอร์เรย์ (อัลมา) ซึ่งเป็นกล้องโทรทรรศน์ศักยภาพสูง ตั้งอยู่ในทะเลทรายอะทาคามา ทางตอนเหนือของประเทศชิลี สามารถหาค่าที่แท้จริงของวงโคจรดาวพลูโตได้ โดยมันใช้เวลาเท่ากับ 248 ปีของโลกมนุษย์ ในการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ การค้ยนพบนี้จะช่วยในการคำนวณเส้นทางและเป้าหมาย ในการสำรวจของยานอวกาศ "นิว ฮอไรซันส์" ขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐ (นาซา) ที่กำหนดเดินทางถึงดาวพลูโตในปี พ.ศ.2558
ดาวพลูโตถูกค้นพบตั้งแต่ปี พ.ศ.2473 แต่ด้วยระยะทางที่อยู่ห่างจากโลกมหาศาล นักวิทยาศาสตร์จึงยังไม่สามารถระบุตำแหน่งและระยะวงโคจรที่แท้จริงของมันได้ นักวิทยาศาสตร์จากห้องปฏิบัติการฟิสิกส์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยจอห์นส ฮอปกินส์ ซึ่งเป็นเจ้าของโครงการสำรวจของยานนิว ฮอไรซันส์ กล่าวว่า เนื่องจากข้อมูลของดาวพลูโตที่มีอยู่อย่างจำกัด จึงเป็นไปได้ว่าตำแหน่งของมันที่เราทราบตอนนี้ อาจผิดจากความเป็นจริงไปหลายพันกิโลเมตร
ข้อมูล เดลินิวส์ออนไลน์ 6 สิงหาคม 2557
photo : astrobob.areavoices.com (not related to the article)
ค้นหา ความรู้ทั่วโลก เพิ่มเติม ที่ > EDUZONES KNOWLEDGE สาระน่ารู้ ความรู้รอบตัวทั่วโลก
เรื่องก่อนหน้า : จีนทำรถไฟฟ้าลอดตึก ประหยัดพื้นที่
เรื่องถัดไป : —
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ