อะไรทำให้กระทรวงศึกษาธิการ เปิดโอกาสให้คนที่ไม่ได้เรียนครู มาสอบเพื่อบรรจุเป็นครูได้ ซึ่งไม่เคยมีมาก่อน คำตอบจากปลัดกระทรวงศึกษาฯ คือเพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนครู แต่เมื่อดู สถิติ ผู้จบการศึกษาวิชาชีพครูตั้งปี 2556-2560
ปี 2556 จำนวน 29,844 คน
ปี 2557 จำนวน 40,437 คน
ปี 2558 จำนวน 56,382 คน
ปี 2559 จำนวน 71,530 คน
ปี 2560 จำนวน 61,329 คน
รวมทั้งสิ้น 259,522 คนในขณะที่ อัตราบรรจุข้าราชการครูต่อปีนั้น มีครูเกษียณอายุ 10,000 คน และต้องการครูบรรจุทดแทน 20,000 คน เปรียบเทียบกับจำนวนผู้ที่จบการศึกษาวิชาชีพครูข้างต้น ก็นับว่าเพียงพอแต่เดี๋ยวก่อน มาดูที่ 5 อันดับสาขาวิชาครูที่จบมากที่สุด นับจากปี 2556-2560
1. พลศึกษา สุขศึกษา 54,542 คน
2. การปฐมวัย 27,136 คน
3. ภาษาอังกฤษ 24,748 คน
4. สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม 22,884 คน
5. คณิตศาสตร์ 22,656 คนการสมัครสอบครูครั้งนี้ เปิดสอบใน 61 สาขาวิชา มี 25 สาขาวิชาที่เปิดให้คนที่ไม่ได้เรียนครูสอบเป็นครู
หนึ่งในนั้นคือวิชาคณิตศาตร์ ซึ่งอยู่ใน 8 สาขาวิชาที่ สพฐ. ระบุว่าขาดแคลนครูเรื้อรังมานานแล้ว ปลัดกระทรวงศึกษาบอกว่า หลายคนเข้ามาสอบเป็นครูคณิตศาสตร์ แต่ไม่ผ่านการทดสอบ !! โรงเรียนหลายโรงจึงขาดครูสอนคณิตศาสตร์โดยตรง ยิ่งโรงเรียนห่างไกลต้องแก้ปัญหาให้ครูภาษาไทย หรือครูสังคม มาสอนคณิตศาสตร์แทน พ่อแม่ผู้ปกครองพากันตั้งคำถามว่า แล้วเด็กๆ จะเรียนเลขรู้เรืองหรือไม่สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลตอนนี้ ส่งเสริมเทคโนโลยีนวัตกรรม แต่ยังขาดครูสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์นับจากวันรับสมัครสอบครูวันนี้ (29/3/2560) ถึงวันที่ 4 เมษายน ต้องรอดูตัวเลขของผู้ที่เข้ามาสมัครว่ามีจบครูกี่คน และไม่ได้จบครูกี่คน และในวันประกาศผลสอบ 28 เมษายน คนที่ไม่ได้จบครูจะสอบเป็นครูได้กี่คนถ้ามีคนที่ไม่ได้จบครูมาสมัครน้อย ก็น่าตั้งคำถามถึงคุณภาพชีวิตและสวัสดิการครูว่าไม่ดีพอหรือไม่ คนถึงไม่อยากเป็นครูและถ้าคนที่ไม่ได้จบครู สอบติดได้มากกว่าคนที่เรียนครูมา คณะครุศาสตร์ ศึกษาศึกษา ก็ถึงคราวต้องทบทวนตัวเอง
ภาพและข้อมูลจาก : nationtv.tv
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ