ไม่ใช่แค่ท้ายกระบะที่ห้าม!! ในแคปก็โดนด้วย!! พล.ต.ท.วิทยา ชี้แคปมันมีไว้บรรทุกของ ไม่ได้มีไว้นั่ง!!





 

กลายเป็นกระเเสวิพากวิจารณ์อย่างมากเกี่ยวกับการออกกฎหมายต่างๆที่มีความเกี่ยวข้องกับเทศกาลสงกราน เกี่ยวการใช้รถกระบะในการขับขี่สัญจรต่างๆ โดยใช้ ม.44 ในการบังคับในครั้งนี้ ซึ่งกฎหมายที่บางคนอาจมองว่าถูกต้องเเละควรเป็นเช่นนั้น เเต่ถ้ามองกลับมาในด้านการใช้ชีวิตของประชาชนบางกลุ่มที่มีความจำเป็นที่ต้องใช้เเละทำจริงๆเเต่ก็ต้องถูกสั่งห้ามเพราะกฎหมายไม่ให้ทำเช่นนั้น กฎหมายนั้นคือ สั่งห้ามนั่งท้ายกระบะเด็ดขาด โดยทางด้าน คสช. ได้ออกมาบอกว่า ท้ายกระบะนั้นเป็นที่บรรทุกสิ่งของเพียงอย่างเดียวไม่ให้มีผู้ใดนั่งตรงนั้นเพื่อเป็นการเดินทางโดยเด็ดขาด เเละที่นั่งข้างในรถนั้นต้องเป็นที่นั่งที่มีที่คาดเข็มขัดเท่านั้นไม่ให้มีผู้ใดไปนั้งเบียดเสียดกันเพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุ เเล้วเเบบนี้ชาวบ้านที่มีอาชีพที่ต้องใช้รถกระบะในการบนนทุกเเรงงานละจะไม่ลำบากหรอ?

 

 

โดยทางด้าน พล.ต.ท.วิทยา ประยงค์พันธุ์ ได้ออกมาชี้เเจงถึงข้อกฎหมายที่ว่า ห้ามนั่งท้ายกระบะ เด็ดขาด โดยให้เหตุผลว่า

1. กระบะด้านหลังไม่มีที่นั่งอยู่เเล้ว

2. ไม่มีที่คาดเข็มขัดนิรภัย เเละให้มองย้อนในการเกิดอุบัติเหตุขึ้นมาเเละเมื่อมีผู้เสียชีวิตเกิดขึ้นละใครจะรับผิดชอบ เเละยังได้โยงไปถึงการเดินทางด้วยเเท็คซี่นั้นในรถต้องมีผู้ด้วยสารไม่เกิน 4 คนเพราะที่นั่งในรถนั้นต้องนั่งตรงที่มีที่คาดเข็มขัดเท่านั้น

เเละได้ยกตัวอย่างว่าเมื่อมีผู้โดยสารอยู่ 6 คนก็ต้องเเบ่งกันใช้รถเพียง 3 คนเท่านั้นเเต่ถ้าฝ่าฝืนทางเจ้าหน้าที่ตำรวจก็ขอใช้กฎหมายต่อไป เเละมองกลับมาในการใช้รถกระบะนั้น ผู้ที่มีความจำเป็นในการใช้อนุโลมให้ใช้ในเส้นทางสัญจรทั่วไปที่ไม่ใช่เส้นทางถนนสายหลัก เมื่อพบจะถูกดำเนินตามกฎหมาย

ส่วนเรื่องการคาดเข็มขัดนิรภัยในรถบางคันที่ไม่ได้ติดให้มีเข็มขัดนิรภัยไว้สำหรับเบาะหลัง เช่น รถยนต์รุ่นเก่าๆ นั้น เรื่องนี้ก็มีข้อยกเว้นรถยนต์ตาม ระยะเวลา ซึ่งมีเกณฑ์ตาม พ.ร.บ.รถยนต์ และทางขนส่งทางบกกำหนดในการประกอบรถขายในประเทศไว้อยู่แล้ว ซึ่งจะมีเกณฑ์กำหนดไว้ เช่น รถหลังปี 2531 มีที่นั่งแบบไหน หลังปี 2535 มีที่นั่งรัดเข็มขัดแบบไหน แต่ส่วนมากรถหลายๆ คันมีความพร้อม แต่ตนคิดว่าจริงๆ แล้วการออกกฎหมายบังคับเข้มงวดเรื่องการคาดเข็มขัดนั้นเพราะรัฐบาลเป็นห่วงเรื่องของรถตู้ เพราะที่ผ่านมาในช่วงปีใหม่หรือวันหยุดยาวจะเกิดอุบัติเหตุกับรถโดยสารสาธารณะมาก เช่น ปีใหม่ที่ผ่านมาเห็นได้ชัด รถตู้เกิดอุบัติเหตุสร้างประเด็นทางออกใช้ออกไม่ได้ ประตูฉุกเฉินไม่มี ผู้โดยสารแน่นเกิน ประตูหลังเปิดไม่ได้ หรือบางคนกระเด็นออกนอกรถเพราะไม่คาดเข็มขัด เรื่องนี้เราจึงเป็นการมุ่งเน้นไปที่รถตู้ ซึ่งต้องช่วยกันหลายฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นขนส่งฯ กรมทางหลวง ตำรวจทางหลวง และตำรวจนครบาล สงกรานต์ปีนี้บุคลากรจะทำงานตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งหลังออกกฎหมายมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบกออกมา ตนเชื่อว่าอย่างน้อยในช่วงสงกรานต์ ภายในเขต บช.น.จะต้องลดลงแน่นอน เพราะเราจะเน้นควบคุมเรื่องความเร็วและด่านตรวจแอลกอฮอล์

เเละได้มีการตั้งคำถามกันขึ้นว่า เเล้วเจ้าหน้าที่ตำรวจละครับเมื่อคุมตัวผู้ต้องหาที่มีจำนวนมากกว่า 5 ขึ้นไปละ ก็ต้องให้นั่งตรงท้ายรถกระบะอยู่ดี  ท่าน พล.ต.ท.วิทยา ก็ได้ตอบไปว่า เรื่องดังกล่าวกำลังจะหารือกันอีกที 

ตามที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีแจงมาตราตามมาตรา 44 ฉบับที่ 14/2560 เรื่องมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้กฏหมายว่าการจราจรเพื่อควบคุมวินัยจราจรอย่างเข้มข้นนั้น เพื่อความปลอดภัยช่วงเทศกาลสงกรานต์จึงขอชี้แจ้งเพิ่มเติมดังนี้

1. การนำรถปิกอัพขนน้ำไปสาดกันช่วงสงกรานต์ โดยมีการนั่งกระบะท้ายผ่านไปตามถนนหลวงนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจคงไม่สามารถอนุญาตได้ แต่พร้อมจะอะลุ้มอล่วย โดยให้รถบรรทุกน้ำและมีผู้โดยสารอยู่ที่กระบะท้ายได้ เฉพาะในกรณีที่อยู่ในพื้นที่โซนที่อนุญาตให้เล่นน้ำและให้รถเคลื่อนตัวไปอย่างช้าๆ เท่านั้น

2.ขณะขนน้ำไป ขอให้นั่งในรถและเมื่อถึงที่แล้ว ขอให้จอดรถแล้วค่อยลงมาเล่นที่กระบะหลัง

3.หากจะเล่นสาดน้ำแบบวิ่งไปด้วย ก็ขอให้เล่นอยู่ภายในพื้นที่หมู่บ้าน หรือชุมชนอย่าขึ้นไปเล่นบนถนนหลวงสายหลัก จึงขอความร่วมมือในการปฏิบัติตามตามกฎจราจรและมาตรการต่างๆ อย่างเคร่งครัด เพื่อความปลอดภัยในการสัญจรทางถนนของส่วนรวม

 

 

 

 

 

 

 

 

ข่าวจาก : True4U News Online

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: