ใช้มานาน แต่ไม่เคยจะรู้! เปิดแอร์กี่ทีก็ไม่เย็นฉ่ำ หนำซ้ำค่าไฟบาน เพราะลืมศึกษาข้อมูลต่อไปนี้!





 

วัตถุประสงค์หลักๆของการใช้งานแอร์ในบ้านเรา ก็เพื่อลดอุณหภูมิภายในห้องให้ต่ำลง และให้อุณหภูมิในห้องอยู่ในระดับคงที่ ซึ่งการใช้งานแอร์ก็อาจจะได้ประโยชน์ทางอ้อมในการควบคุมความชื้นเข้ามาร่วมด้วย แต่โดยพื้นฐานแล้วเราก็ต่างต้องการใช้แอร์ในการทำความเย็นเป็นหลัก อันเป็นผลมาจากสภาพอากาศของบ้านเราที่เป็นเมืองร้อนนั่นเอง แต่แอร์ที่ผลิตและจำหน่ายในทุกวันนี้ รูปแบบการทำงานหลักๆนั้นไม่ได้มีเฉพาะแค่การทำความเย็นแต่อย่างเดียว

 

 

ซึ่งรูปแบบการทำงานของแอร์นั้น ในแอร์รุ่นปัจจุบัน เราสามารถปรับเลือกรูปแบบการทำงานได้ง่ายๆ เพียงกดเลือกรูปแบบการทำงาน จากปุ่มปรับเลือกโหมดการทำงานหลัก (MODE) ที่มีอยู่บนรีโมทคอนโทรล  โดยเมื่อได้ทำการกดปุ่มเลือกโหมดการทำงานหลักแล้ว แอร์ก็จะจดจำการเลือกโหมดนั้นไว้ และสั่งการให้เครื่องมีการทำงานตามโหมดการทำงานที่กำหนด ต่อเนื่องกันไปตลอดที่ระยะเวลาที่แอร์ยังคงทำงาน จนกว่าจะมีการกดเปลี่ยนโหมดการทำงานอีกครั้งหนึ่ง

 

 

และผู้ใช้งานแอร์บางท่าน โดยเฉพาะในกรณีที่ผู้ใช้งานเป็นผู้สูงอายุ ซึ่งอาจจะไม่ค่อยเข้าใจในรายละเอียดการทำงานมากนัก และอาจจะมีบางกรณีที่เคยเผลอกดเลือกโหมดการทำงานหลักผิดไปจากเดิม แล้วพบว่าแอร์ที่เปิดอยู่นั้นกลับไม่เย็นดังที่ต้องการ จนบางครั้งก็อาจจะคิดไปไกลถึงขั้นที่ว่าแอร์เสียแล้ว แต่อันที่จริงเป็นเพียงการปรับเลือกโหมดการทำงานหลักผิดไปจากเดิมเท่านั้น

ซึ่งผู้เขียนเคยพอเคสดังกล่าวเมื่อนานมาแล้ว เป็นกรณีที่คุณป้าท่านหนึ่งอยู่บ้านกับหลานชายที่ยังเด็ก ซึ่งคุณป้าท่านนั้นได้ตามช่างแอร์ให้มาเช็คแอร์ที่บ้าน เพราะแอร์ที่เปิดไม่มีความเย็นออกมาเลย มีแต่ลมธรรมดาเป่าออกมา เมื่อช่างไปถึงก็ปรากฏว่าแอร์ถูกตั้งให้ทำงานในโหมด Fan ช่างจึงลองปรับกลับมายังโหมด Cool แอร์ก็กลับมาทำความเย็นได้ดีตามปกติ ส่วนสาเหตุก็คาดว่าหลานชายตัวเล็ก เป็นผู้กดรีโมทปรับเล่น และคุณป้าเจ้าของบ้านก็ไม่เข้าใจในเรื่องนี้ ที่ผ่านมาการใช้งานก็กดแค่ปุ่มเปิดปิดเครื่องกับปุ่มเลื่อนระดับอุณหภูมิขึ้นลงเท่านั้น เคสนั้นจึงจบลงแค่เพียงการกดปรับโหมดกลับคืนให้ และได้ให้ช่างสอนการใช้งาน พร้อมทั้งเขียนวิธีปรับโหมดแบบพอเข้าใจและอธิบายว่าแต่ละโหมดคืออะไรใส่กระดาษแปะไว้ให้

ในส่วนของโหมดการทำงานหลัก ที่มีในแอร์ทั่วไปผู้ผลิตแอร์ในปัจจุบัน ได้ใส่โหมดการทำงานพื้นฐานมาให้ โดยโหมดการทำงานที่ว่านี้มีอยู่ด้วยกันราวๆ 4 โหมดการทำงาน ได้แก่ โหมด Auto, Cool, Fan, Dry และในแอร์รุ่นใหม่ๆ โดยเฉพาะแอร์ระบบอินเวอร์เตอร์รุ่นที่มาพร้อมด้วยฟังชั่นเสริมมากมาย ก็อาจจะมีอีกหนึ่งโหมดการทำงานเพิ่มเข้ามานั่นก็คือโหมด Heat

โดยในแต่ละโหมดการทำงานก็ถูกออกแบบให้มีการทำงานที่ต่างกันออกไป เพื่อให้ได้ผลที่ต่างกัน รายละเอียดของแต่ละโหมดก็มีดังต่อไปนี้

 

 

โหมด Auto     
สำหรับโหมดการทำงานแบบ Auto หรือการทำงานแบบอัตโนมัติ ในแอร์บางยี่ห้ออาจจะเรียกว่าโหมด I FEEL เมื่อกดปุ่ม Mode บนรีโมทคอนโทรล แล้วเลือกการทำงานในโหมดAuto แอร์จะตั้งอุณหภูมิและความเร็วพัดลมโดยอัตโนมัติ ระบบจะเป็นฝ่ายกำหนดอุณหภูมิและความเร็วพัดลมให้เอง ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิห้องที่เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิตรวจพบได้ในขณะนั้น

โหมดการทำงานอาจจะสลับกันเองระหว่างโหมด Cool กับ Dry ยกตัวอย่างเช่น หากอุณหภูมิที่ตั้งอยู่ที่ 24 องศาเซลเซียส เมื่อระบบตรวจพบว่าอุณหภูมิห้องสูงเกินกว่า 25 องศาเซลเซียส ก็จะเลือกการทำงานในโหมด Cool เพื่อทำความเย็นให้กับในห้อง และระบบจะสลับไปทำงานในโหมด Dry โดยอัตโนมัติ เมื่ออุณหภูมิห้องลดลงมาต่ำกว่าค่าของอุณหภูมิที่ตั้งไว้

ซึ่งโหมดการทำงานแบบ Auto มีกลไกลการทำงานแบบอัตโนมัติที่ค่อนข้างซับซ้อน แต่ก็ไม่ค่อยจะมีประโยชน์อะไรมากในการใช้งานแอร์แบบที่เราใช้กันทั่วๆไป

 

 

โหมด Cool    
โหมดการทำงานแบบ Cool หรือโหมดทำความเย็น เป็นโหมดการทำงานที่เรานิยมใช้กันมากที่สุด โดยเมื่อกดปุ่ม Mode บนรีโมทคอนโทรล แล้วเลือกการทำงานให้อยู่ในโหมด Cool แอร์จะเข้าสู่รูปแบบการทำงานสำหรับทำความเย็น และคงระดับอุณหภูมิให้อยู่ในขอบเขตที่เรากำหนด โดยผู้ใช้งานมีอิสระในการปรับตั้งอุณหภูมิได้ตามที่ต้องการ รวมทั้งยังสามารถปรับระดับความเร็วพัดลมได้อีกด้วย

ในกรณีของแอร์แบบที่จำหน่ายกันอยู่ในกลุ่มประเทศเขตหนาวที่มีฤดูหนาวยาวนานกว่าฤดูร้อน โหมด Cool จะเป็นโหมดสำหรับใช้งานเฉพาะในช่วงฤดูร้อนเท่านั้น แต่ในบ้านเราที่อากาศค่อนข้างจะร้อนตลอดทั้งปี โหมด Cool จึงถือเป็นโหมดการทำงานหลักที่เราใช้งานกันมากที่สุด 

โหมด Dry   
โหมดการทำงานแบบ Dry หรือโหมดลดความชื้น ซึ่งแทนด้วยสัญลักษณ์รูปหยดน้ำ โดยเมื่อกดปุ่ม Mode บนรีโมทคอนโทรล แล้วเลือกการทำงานให้อยู่ในโหมด Dry ผู้ใช้งานจะไม่สามารถปรับตั้งอุณหภูมิได้ เมื่ออยู่ในโหมดลดความชื้น และแอร์ก็จะทำหน้าที่เป็นเหมือนเครื่องลดความชื้นในอากาศ โดยใช้การควบแน่นของความชื้นในอากาศที่เกิดขึ้นบนแผงอีวาปอเรเตอร์หรือแผงทำความเย็น เพราะโดยหลักการพื้นฐานที่แอร์ใช้ทำความเย็น ใช้สารทำความเย็นในระบบที่ถูกทำให้ไหลไปตามท่อเพื่อให้มันเป็นตัวกลางในการถ่ายเทความร้อน ซึ่งนี่จึงทำให้แผงที่บริเวณที่อยู่ในชุดคอยล์เย็นจะมีอุณหภูมิต่ำมาก จนความชื้นในอากาศพากันมาควบแน่นและกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ ไหลออกไปตามท่อน้ำทิ้ง 

และเมื่อแอร์ถูกกำหนดให้ทำงานในโหมดลดความชื้น แม้ว่าคอมเพรสเซอร์ที่อยู่ในชุดที่ติดตั้งอยู่นอกอาคารยังคงทำงานอยู่ แต่พัดลมที่อยู่ในชุดคอยล์เย็นอาจจะมีการทำงานสลับกับการหยุดทำงานเป็นช่วงๆ เพื่อเป็นการดึงความชื้นในอากาศให้ถูกกลั่นตัวเป็นหยดน้ำให้ได้มากที่สุด และนำเอานำที่กลั่นตัวจากความชื้นปล่อยทิ้งออกมาทางท่อน้ำทิ้ง

โหมดลดความชื้นนี้หากไม่ได้ใช้งานในห้อง ที่ต้องการควบคุมความชื้นโดยเฉพาะก็ถือว่าไม่จำเป็นสักเท่าไหร่กับการใช้ในบ้านทั่วๆ ไป

 

 

โหมด Fan
ในโหมด Fan หรือโหมดพัดลม เมื่อกดปุ่ม Mode บนรีโมทคอนโทรล แล้วเลือกการทำงานให้อยู่ในโหมด Fan ระบบจะตัดการทำงานในส่วนของชุดคอนเด็นซิ่งยูนิตที่อยู่นอกอาคารออกไป เหลือไว้แต่เพียงชุดแฟนคอยล์หรือคอยล์เย็นในอาคารที่จะยังคงทำงานอยู่ พัดลมคอยล์เย็นจะยังคงทำงานอยู่ ผู้ใช้งานก็สามารถปรับความเร็วพัดลมได้ แต่ไม่สามารถตังอุณหภูมิได้ และลมที่ออกมาจากชุดคอยล์เย็นก็อยู่ในระดับของอุณหภูมิห้อง ไม่ใช่ลมเย็น เพราะการทำความเย็นในชุดคอนเด็นซิ่งยูนิตถูกตัดการทำงานออกไปทันทีที่กดเลือกโหมด Fan จึงทำให้คอมเพรสเซอร์ไม่ทำงาน และไม่มีน้ำยาแอร์ไหลวนเข้ามายังชุดคอยล์เย็น

โหมด Fan แม้จะเป็นอีกหนึ่งโหมดการทำงาน ที่โดยปกติเราไม่ค่อยจะใช้งานกันอยู่แล้ว แต่ก็เป็นอีกหนึ่งโหมดการทำงานที่ค่อนข้างมีประโยชน์ ซึ่งหากท่านใดเจอปัญหากลิ่นเหม็นอับที่ออกมาจากแอร์ ก็ลองใช้งานโหมดนี้ดูได้ โดยการใช้งานนั้นเมื่อเราใช้แอร์เสร็จ หรือเป็นช่วงที่ใกล้จะปิดแอร์ ก่อนจะปิดแอร์หากเราเปลี่ยนให้แอร์ทำงานในโหมด Fan ต่อไปอีกสัก 15-20 นาที แล้วจึงปิดเครื่อง ก็จะช่วยเป่าแผงคอยเย็นด้านใน ลดความชื้นสะสม ซึ่งสามารถช่วยลดกลิ่นอับที่ไม่พึงประสงค์ได้

 

 

โหมด Heat   
โหมดการทำงานแบบ Heat หรือโหมดทำความร้อน ซึ่งในรีโมทแอร์บางยี่ห้อจะแทนโหมดนี้ด้วยสัญลักษณ์รูปดวงอาทิตย์ เป็นโหมดการทำงานที่เพิ่งมีการนำเข้ามาใส่ในแอร์บางรุ่นที่ขายในบ้านเรา โดยเมื่อกดปุ่ม Mode บนรีโมทคอนโทรล แล้วเลือกการทำงานให้อยู่ในโหมด Heat เมื่อเข้าสู่โหมดนี้ การทำงานของเครื่องจะเป็นการเพิ่มอุณหภูมิเพื่อทำความร้อนให้กับภายในห้อง โดยส่วนใหญ่การทำงานในโหมดนี้ จะใช้เทคโนโลยีการทำความร้อนที่เรียกว่า Heat Pump ซึ่งหากจะเปรียบให้พอเข้าใจได้ง่ายๆ ก็คือเป็นการทำงานแบบกลับทิศทาง สลับหน้าที่กันระหว่างแผงคอยล์ร้อนและแผงคอยล์เย็น เพื่อให้ชุดภายในอาคารเป่าลมร้านออกมา โดยเทคโนโลยีนี้ มีมานานสักระยะหนึ่งแล้ว และมันเป็นที่รู้จักและใช้งานกันแพร่หลายในกลุ่มประเทศที่มีอากาศหนาว ซึ่งนำมาใช้งานเพื่อให้ความอบอุ่นในครัวเรือน และยังสามารถสลับมาทำความเย็นได้ในช่วงที่มีอากาศร้อน

โหมด Heat ที่มีมาให้ ในแอร์ที่จำหน่ายในบ้านเรานั้น ปัจจุบันยังคงจำกัดเฉพาะในแอร์รุ่นท็อประดับบนๆของแต่ละยี่ห้อเท่านั้น ซึ่งมันก็เป็นอีกโหมด ที่ถือว่าไม่จำเป็นในการนำมาใช้งานทั่วๆไป เพราะแม้แต่พื้นที่ ที่มีอากาศหนาวสุดในประเทศไทยก็มีช่วงที่หนาวจัดติดต่อกันไม่นานสักเท่าไหร่ ดูแล้วอาจจะไม่ค่อยคุ้มค่าที่จะต้องจ่ายแพงกว่าเพื่อซื้อแอร์รุ่นท็อป

9 วิธีใช้แอร์ ค่าไฟไม่พุ่ง แบบเย็นใจ สบายกระเป๋า มีเงินเหลือใช้!

1. ต้องประหยัดไฟเบอร์ 5
จากสถิติการใช้ไฟฟ้าหลาย ๆ ปีจะพบว่าช่วงเดือนเมษายนจะเป็นช่วงเวลาที่เมืองไทยใช้พลังงานไฟฟ้ามากที่สุดเสมอ เพราะเป็นช่วงเวลาที่เมืองไทย อากาศร้อนสุด ๆ สถิตินี้สะท้อนให้เห็นแล้วว่าเมืองไทยใช้พลังงานไฟฟ้าเพื่อสร้างความเย็นให้ที่อยู่อาศัยมากเป็นอันดับต้น ๆ การเลือกแอร์ที่ประหยัดไฟ จึงเป็นปัจจัยแรกที่ควรนึกถึงทุกครั้งที่เลือกซื้อ เป็นที่ทราบกันดีค่ะว่า ฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 เป็นระดับความประหยัดไฟฟ้าสูงที่สุดออกโดยกระทรวงพลังงาน และจะมีตรากระทรวงประทับอยู่บนฉลากเสมอ แอร์ประหยัดไฟเบอร์ 5 จึงเป็นแอร์ที่ควรได้รับการพิจารณาเป็นอันดับต้น ๆ เมื่อเลือกซื้อแอร์ติดตั้งภายในบ้าน ไม่ว่าจะเป็นแอร์แบบฝังในเพดาน แอร์ติดผนัง หรือแอร์เคลื่อนที่

2. ติดตั้งในตำแหน่งที่เหมาะสม
เป็นเรื่องสำคัญอันดับต้นๆ สำหรับตำแหน่งการติดตั้งแอร์ เพราะหากอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมแล้วจะสามารถลดค่าไฟฟ้าในแต่ละเดือนได้ ตำแหน่งที่เหมาะสมในการติดตั้งแอร์ FCU (ตัวเครื่องที่ติดตั้งภายในห้อง) ในบ้านมีดังนี้

บริเวณที่ติดตั้งสามารถกระจายลมได้ทั่วถึงทั้งห้อง ไม่มีสิ่งกีดขวาง และไม่ควรติดตั้งในมุมอับ หลีกเลี่ยงการติดตั้ง FCU ในบริเวณที่ใกล้กับประตู หน้าต่าง หรือพัดลมดูดอากาศเพราะจะทำให้อากาศเย็นภายใน ถูกความร้อนภายนอกไหลเข้ามาแทนที่ได้ง่าย

อย่าติดชิดผนังที่รับแดดจัด หรือทิศตะวันตก เพราะจะทำให้แอร์ทำงานหนัก ยิ่งเป็นห้องนอนที่ต้องอยู่อาศัยในช่วงเย็นด้วยแล้ว ยิ่งควรหลีกเลี่ยงตำแหน่งดังกล่าว

3. เลือกขนาดที่พอดีกับพื้นที่ภายในห้อง
อาจจะได้ยินกันมาบ้างสำหรับค่า BTU (British Thermal Unit) คือหน่วยวัดปริมาณความร้อน โดยในเครื่องปรับอากาศจะใช้หน่วยวัดพลังเป็น BTU/hr. (บีทียูต่อชั่วโมง) หรือจะเรียกง่าย ๆ ว่า BTU เทานั้น อาทิ เครื่องปรับอากาศขนาด 12,000 BTU/hr. หมายความว่าเครื่องปรับอากาศเครื่องนี้สามารถดูดความร้อน BTU ภายในหนึ่งชั่วโมง เครื่องปรับอากาศแต่ละรุ่นจะมีค่า BTU ต่างกันเริ่มตั้งแต่ 9,000-80,000 BTU ซึ่งถือเป็นค่าสูงสุด การเลือกขนาด BTU ตามความเหมาะสม ควรเลือกตามขนาดของห้อง สามารถคำนวณโดยใช้สูตร

  • พื้นที่ห้อง x ค่า Cooling Load Estimation = ค่า BTU ที่เหมาะสม
  • ค่าประเมิน Cooling Load Estimation ที่เหมาะสมกับแต่ละห้อง
  • ห้องนอน 700-750 BTU/ตารางเมตร
  • ห้องนั่งเล่น 750-850 BTU/ตารางเมตร
  • ห้องทานอาหาร 800-950 BTU/ตารางเมตร
  • ห้องครัว 900-1000 BTUตารางเมตร
  • ห้องทำงาน 800-900 BTU/ตารางเมตร
  • ห้องประชุม 850-1000 BTU/ตารางเมตร

สูตรข้างต้นใช้คำนวณในกรณีที่ความสูงของเพดานที่สูงไม่เกิน 3 เมตรเท่านั้น หากห้องมีความสูงมากกว่าและมีปัจจัยอื่น ๆ เพิ่มขึ้น อาทิ จำนวนผู้อยู่อาศัย เครื่องใช้ไฟฟ้า หรือพื้นที่กระจกภายในห้อง จะต้องบวกค่า BTU เพิ่มด้วย หากเลือกขนาดของ BTU มากติดตั้งในห้องขนาดเล็กก็จะเปลืองพลังงานโดยใช่เหตุ

 

4. ตั้งอุณหภูมิให้พอเหมาะ
โดยทั่วไปแล้วเรามักจะเข้าใจว่าอุณหภูมิภายในห้อง ที่เหมาะต่อการอยู่อาศัยอยู่แล้วรู้สึกสบายนั้น จะอยู่ที่ 25-26 องศา หากเกินนี้จะรู้สึกร้อนเกินไป แต่หากเลือกเปิดแอร์ที่อุณหภูมิ 28-30 องศา แล้วเลือกเปิดพัดลมเพื่อเพิ่มความเร็วลมในห้อง เราจะยังรู้สึกเย็นสบายอยู่เช่นเดิมและช่วยประหยัดพลังงานได้มากเพราะเครื่องปรับอากาศจะทำงานเบาลง หากเป็นช่วงเวลานอนควรตั้งอุณหภูมิไว้ ไม่ต่ำกว่า 28 องศา เนื่องด้วยในช่วงเวลาที่เราหลับร่างกายจะไม่สามารถปรับอุณหภูมิตามสภาพอากาศได้จึงควรตั้งอุณหภูมิที่สูงไว้ เป็นการช่วยประหยัดพลังงานได้อีกทาง

5. เครื่องใช้ไฟฟ้า เอามันออกไป
เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่จำเป็นต้องอยู่ในห้อง อย่างเช่น ตู้เย็น เครื่องทำน้ำร้อน เครื่องถ่ายเอกสาร หม้อ หุงข้าว เครื่องชงกาแฟ กาต้มน้ำไฟฟ้า รวมทั้งการเปิดไฟมากเกินความจำเป็น คือสาเหตุหนึ่งที่ทำให้อุณหภูมิห้องสูงขึ้นและทำให้เครื่องปรับอากาศต้องทำงานหนักขึ้นด้วย ดังนั้นชิ้นไหนไม่จำเป็น จึงควรย้ายออกจากห้องและควรเปิดไฟแต่พอดี เพื่อให้ห้องเย็นสบาย

6. งดกิจกรรมทำความร้อน
อ๊ะ!! อย่าคิดลึกนะคะ กิจกรรมทำความร้อนที่ว่า คือการสูบบุหรี่ภายในห้องปรับอากาศ เนื่องด้วยการสูบบุหรี่ในห้องปรับอากาศจะต้องเปิดพัดลมระบายอากาศเพื่อระบายควันและกลิ่นออกจากห้อง การถ่ายอากาศส่วนหนึ่งออกจากห้องและปล่อยให้อากาศภายนอกเข้ามาทดแทนจะทำให้เครื่องปรับอากาศทำงานหนักขึ้น เพี่อปรับอุณหภูมิภายในห้องให้เย็นเท่าเดิม

7. เสื้อผ้าใส่สบายเข้าไว้
เคยเห็นกันบ้างใช่ไหมคะ ออฟฟิศบางแห่งตั้ง อุณหภูมิห้องไว้ที่ 20 องศาแล้วบางท่าน (โดยเฉพาะ คุณผู้หญิง) ต่างโหมประโคมใส่เสื้อผ้าชุดกันหนาว ประดุจดั่งอยู่เมืองนอกเมืองนา บ้างก็ใส่สูทตัวหนาเพื่อให้ร่างกายอบอุ่น ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานั้น เป็นตัวอย่างที่ไม่ดีมากๆ ค่ะ เพราะเป็นการสิ้นเปลืองพลังงานโดยใช่เหตุ เราสามารถปรับอุณหภูมิให้อยู่ที่ 25 องศาแล้วใส่ เสื้อผ้าสบายๆ ให้ได้รับความเย็นที่กำลังพอดีได้ ในบ้านก็เช่นกันหากเลือกใส่เสื้อผ้าที่สบายๆ แล้วเราตั้งอุณหภูมิไว้ที่ 28 องศา จะช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าไปอีกแรง

8. ผ้าม่านช่วยได้เยอะ
ไม่ใช่แค่ความสวยงามเท่านั้น ผ้าม่านยังทำหน้าที่กันความร้อนอีกชั้นไม่ให้เข้าสู่พื้นที่ภายในบ้าน โดยทั่วไปแล้วม่านหน้าต่างจะนิยมติดตั้ง 2 โดยชั้นแรกจะเป็นม่านกรองแสงที่ช่วยบังตาจากภายนอก ส่วนอีกชั้นจะเป็นผ้าม่านหนาที่นอกจากจะช่วยสร้างความงามให้ห้องด้วยลวดลายสีสันที่หลากหลายแล้ว ม่านหนานี้ยังทำหน้าที่กันความร้อนจากภายนอกไม่ให้เข้าสู่ภายในห้องโดยตรง ยิ่งปัจจุบันผ้าม่านมีนวัตกรรมมากมายทั้งเก็บความเย็นภายในบ้าน ป้องกันแสงยูวี และอายุการใช้งานก็คงทนลวดลายคงอยู่ยาวนานด้วย

และให้นำตู้มาตั้งชิดผนังด้านตะวันออกหรือตะวันตก

ผนังห้องฝั่งทางทิศตะวันออก/ตก จะร้อนเป็นพิเศษ เพราะถูกแดดส่องตลอดค่ะ ทำให้ห้องนั้นๆ ต้องตั้งอุณหภูมิที่ต่ำกว่าปกติ เช่น 21-22 องศา บางทียังไม่เย็นขึ้นเลย แนะนำให้ลองนำตู้ไปตั้งชิดผนัง จะช่วยป้องกันการแผ่รังสีความร้อนจากผนังได้ ทำให้สามารถตั้งอุณหภูมิที่ 25อาศา ก็จะเย็นสบายเพียงพอแล้วค่ะ

9. ตั้งอุณหภูมิ 28 องศาเซลเซียส แล้วเปิดพัดลมเสริม
ตั้งอุณหภูมิ 28 องศาเซลเซียส แล้วเปิดพัดลมเสริม
ความเย็นสบาย หรือความสบายเชิงความร้อน (Thermal Comfort) เกิดขึ้นได้จากการมีปัจจัยหลัก 3 ประการที่สมดุลกัน คือ

1. อุณหภูมิ
2. ความชื้นสัมพัทธ์
3. ความเร็วลม

หากต้องการระดับความสบายเท่าเดิม เมื่อปัจจัยหนึ่งเปลี่ยนก็สามารถเปลี่ยนปัจจัยอื่นเป็นการทดแทนได้ การตั้งอุณหภูมิในห้องสูงขึ้น จะประหยัดพลังงานได้ โดยปกติแล้วก็จะตั้งได้สูงสุดประมาณ 25-26 C มิฉะนั้นจะร้อนเกินไป แต่ถ้าเราเปิดพัดลมช่วย "เพิ่มความเร็วลม" ในห้อง เราจะสามารถตั้งอุณหภูมิได้สูงถึง 28-30 C (เพิ่มอุณหภูมิ) โดยยังเย็นสบายเหมือนเดิม (มีระดับความสบายเชิงความร้อนเท่ากัน) โดยจะช่วยประหยัดพลังงานได้มา

อแถมเล็กน้อยค่ะ น่าจะเป็นประโยชน์กับ ออฟฟิศหรือห้างร้านขนาดใหญ่ ซึ่งจะใช้ "ระบบปรับอากาศแบบน้ำเย็น หรือ Chiller" ซึ่งใช้พลังงานประมาณ 1 หน่วย / ตัน / /ชั่วโมง ตัวอย่างเช่นเครื่องปรับอากาศขนาด 5 ตัน เปิดใช้งาน 4 ชั่วโมง จะใช้พลังงานไฟฟ้าประมาณ 1 x 5 x 4 = 20 หน่วย คิดเป็นเงินประมาณ 20 x 3 = 60 บาท (ค่าไฟเฉลี่ยประมาณ 3 บาทต่อหน่วย) หากเรารู้วิธีคำนวนในลักษณะนี้ให้เหมาะสมกับแอร์ที่เราใช้ จะช่วยให้คำนวนค่าไฟได้แม่นยำขึ้นค่ะ

ขอบคุณที่มา : bloggang.com

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: