วิชาฮวงจุ้ยถือกำเนิดมานานเป็นพันๆปี ซึ่งในขณะนั้นคงยังไม่มีเครื่องปรับอากาศหรือแอร์ใช้กันในสมัยนั้นเป็นแน่ และปรมาจารย์ในแต่ละรุ่นก็คงยังไม่รู้จักเครื่องทำความเย็นในสมัยของเราแน่นอน ฉะนั้นแม้แต่คัมภีร์ ตำราต่างๆ หรือการถ่ายทอดแบบปากต่อปาก จึงยังไม่ได้มีการบันทึกเรื่องราวใดๆที่เกี่ยวกับแอร์ แต่ผู้ที่ศึกษาในศาสตร์ของฮวงจุ้ยได้ใช้การสังเกตุ รูปลักษณ์ การทำงานของมัน แล้วจึงค่อยตีความกันออกมาว่า ควรจะเลือกใช้แอร์ชนิดไหน ตำแหน่งที่ตั้งควรอยู่จุดใด
[ads]
ก่อนอื่นเรามารู้จักแอร์ในแต่ละประเภท รวมทั้ง ข้อดีและข้อเสียกัน
แบบแขวน (Ceiling type) โดยที่จริงแล้วแอร์ชนิดนี้สามารถติดตั้งได้ทั้งแบบตั้งพื้นหรือแบบแขวน ข้อดี คือมีคอยล์เย็นขนาดใหญ่ระบายลมได้ดี ข้อเสียในทางฮวงจุ้ยหากติดตั้งในแบบแขวนเหนือโต๊ะทำงาน หรือเตียงนอนจะถือว่าเป็นคานกดทับ เสียหายในทางชัยภูมิ
แบบติดผนัง ( Wall type) แอร์ชนิดนี้สามารถที่จะติดตั้งเหนือโต๊ะทำงาน หรือเหนือหัวเตียงนอน เพราะ รูปลักษณ์มันไม่ถือว่าเป็นคาน แต่ข้อเสียก็คือคอยล์เย็นเล็กกว่าอุดตันได้ง่าย แก้ไขโดยการหมั่นล้างทำความสะอาดแอร์ ตามรอบระยะที่กำหนด
แบบตั้ง ( Floor type) เนื่องจากแอร์ชนิดนี้มีกำลังลมแรงอย่างมาก ก่อนติดตั้งควรที่จะคำนวนพลังทิศทางที่ดีประจำยุค ซึ่งต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญทางฮวงจุ้ยช่วยดูตำแหน่งให้ เพราะสามารถที่จะกระตุ้นตำแหน่งโชคลาภได้ ข้อเสีย เนื่องจากมีขนาดใหญ่ ทำให้เสียพื้นที่ใช้สอย
แบบฝังเพดาน ( Built-in type) เป็นแอร์ที่ลงตัวอย่างมากในทางฮวงจุ้ย เพราะสามารถวางในตำแหน่งใดก็ได้ เพราะปราศจากความเป็นคานโดยสิ้นเชิง เนื่องจากมีระดับเสมอกับผนังฝ้าเพดาน ข้อเสียของมันคือ การติดตั้งยาก และดูแลทำความสะอาดค่อนข้างยาก
ในส่วนของตำแหน่งที่ตั้งแอร์ควรดูถึงความเหมาะสม โดยเฉพาะสุขภาพ ของผู้ที่อยู่อาศัย มีกรณีศึกษาของลูกค้ารายหนึ่งที่ติดตั้งแอร์แบบติดผนัง(Wall Type) ในตำแหน่งหัวเตียง ซึ่งน้อยคนนักที่จะติดแอร์ในตำแหน่งนี้ เพราะโดยส่วนใหญ่มักจะติดไว้ข้างเตียงด้านซ้าย ด้านขวา หรือไม่ก็ด้านปลายเตียง แต่ลูกค้ารายนี้กลับไม่กลัวแอร์เป่าลงหัว โดยให้เหตุผลที่ว่า กระแสลมที่เป่าออกมาจากแอร์ ด้านปลายเตียงหรือข้างเตียง พัดเอาความเย็นเข้าทางจมูกโดยตรง ทำให้เขามีอาการคัดจมูก หายใจติดขัดเวลานอน แต่พอใช้วิธีนี้กลับนอนหลับสบาย
ขอบคุณเนื้อหาจาก อ.บัณฑิต แซ่ลิ้ม (WWW.FSC168.COM)
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ