ขณะนี้คนไทยนิยมบริโภคเกลือเพิ่มขึ้น เช่นอาหารรสจัด ที่จะมีเกลือมากกว่าอาหารทั่วไปโดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ผลไม้จิ้มเกลือ”
ผลไม้ต่างๆ เช่น ฝรั่ง องุ่น มะม่วง นำมาคลุกจิ้มกินกับเกลือที่มีสารอันตรายอย่างโซเดียม คือ เกลือแกง หรือ โซเดียมครอไรต์ และที่ไม่แสดงรสเค็มแต่มีโซเดียม เช่น ผงชูรส หรือ โมโนโซเดียมกลูตาเมท อีก
[ads]
ผู้ที่ชอบกินเค็มจึงมักพบว่าเสี่ยงต่อการเกิดภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วนได้ง่าย โดยสัญญาณที่บอกว่าจะติดรสเค็ม คือ
1.กินอาหารแปรรูปเป็นประจำ
2.บวม สังเกตจากท้องป่อง หน้าบวม แขนบวม กดแล้วคืนตัว
3.ชอบอาหารรสจัด เช่น กินเผ็ดจัดก็จะกินเค็มตามมา
4.ชอบขนมกรุบกรอบ จำพวกมันฝรั่งทอด ถั่วทอด
5.ชอบเติมเครื่องปรุงหรือซอส และ
6.ตรวจพบภาวะโซเดียมในเลือดสูง คอแห้ง กระหายน้ำ ปวดศีรษะ หงุดหงิด ความดันสูง ฯลฯ
วิธีปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดกินเค็ม คือ เลือกกินอาหารสดจากธรรมชาติ เน้นผัก ผลไม้สด ลดกินอาหารแปรรูป อ่านฉลากโภชนาการ กินน้ำเปล่าแทนน้ำหวานหรือน้ำผลไม้ ชิมรสชาติอาหารก่อนปรุง ตั้งเป้ากินเพื่อลดความเค็ม ทั้งนี้ การได้รับโซเดียมสูงในระยะยาวเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด ภาวะกระดูกผุ และโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร หากลดเค็มต้องเริ่มทีละขั้นตอนช้าๆ เพื่อให้ร่างกายได้ปรับเปลี่ยนและเกิดความเคยชินจะได้ผลในระยะยาว
[ads=center]
Illustration & Reference by:
[online] www.huffingtonpost.com
[online] www.foxnews.com
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ