ท้องผูก? ทุเรียนช่วยได้!





เมื่อพูดถึงทุเรียน นอกจากจะนึกถึงหนามบนเปลือกอันแข็งแกร่งของทุเรียนแล้ว สาวๆ หลายคนคงจะกำลังนึกถึงคอเลสเตอรอลและไขมันเป็นแน่ ทุเรียนถูกยกย่องให้เป็น ราชาแห่งผลไม้ไทย ที่เลื่องชื่อในเรื่องของกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ เมื่อพูดในแง่ของประโยชน์ของทุเรียน คงมีมากมายสารพัดไม่แพ้ผลไม้อื่นๆ เพราะเมื่อได้ขึ้นชื่อว่าเป็น “ผลไม้” แล้วล้วนแต่มีประโยชน์ด้วยกันทั้งสิ้น แต่ประโยชน์อีกอย่างที่อาจจะยังไม่ทราบกัน ก็คือ ทุเรียนสามารถช่วยแก้อาการท้องผูก ถ่ายไม่ออกได้เช่นกัน! นอกจากจะได้ลิ้มรสความหวาน หอม อร่อยแล้ว ใครที่มีปัญหาระบบขับถ่ายอยู่ ก็ได้ประโยชน์ไปอีกเต็มๆ

image1

               ในทุเรียนมีเส้นใยไฟเบอร์เล็กๆ เป็นชนิดไม่ละลายน้ำ เป็นกากที่ทำให้รู้สึกอิ่มเร็ว เพราะเป็นเส้นใยที่จะถูกย่อยช้ากว่าอาหารทั่วไปเมื่อเจอกรดในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก เส้นใยไฟเบอร์เหล่านี้จะช่วยทำให้ลำไส้ทำงานเป็นปกติ ซึ่งก็จะช่วยให้การขับถ่ายดีขึ้น และทำให้ความเสี่ยงที่จะเกิดโรคที่เกี่ยวกับลำไส้น้อยลงอีกด้วย

               และอย่างที่ทราบกันดีว่า อาหาร ผัก ผลไม้ทุกอย่างที่มีประโยชน์ หากรับประทานในปริมาณที่มากเกินไปก็สามารถเกิดโทษได้ทั้งนั้น ดังนั้นในการทานทุเรียนให้เกิดประโยชน์นั้น ก็ควรทานเท่าที่ร่างกายควรได้รับเท่านั้น ตามข้อมูลที่เรายกมาให้ จากกคุณหมอหมี (Dr.CareBear) นั่นเอง

               – ผู้ชายที่อายุน้อยกว่า 50 ปี ประมาณไฟเบอร์ที่ควรได้รับต่อวัน: 38 กรัม
               – ผู้ชายที่อายุมากกว่า 50 ปี ประมาณไฟเบอร์ที่ควรได้รับต่อวัน: 30 กรัม
               – ผู้หญิงที่อายุน้อยกว่า 50 ปี ประมาณไฟเบอร์ที่ควรได้รับต่อวัน: 25 กรัม
               – ผู้หญิงที่อายุมากกว่า 50 ปี ประมาณไฟเบอร์ที่ควรได้รับต่อวัน: 21 กรัม

image2

               ดังนั้นอย่าลืมศึกษาการทานทุเรียนที่ถูกต้องเพื่อผลประโยชน์สูงสุด ที่สำคัญการทานทุเรียนควบคู่ไปกับการดื่มน้ำทีละนิด จะยิ่งทำให้ระบบขับถ่ายทำงานคล่องเป็นปกติมากขึ้น ถือเป็นเคล็ดลับที่ดีมากๆ สำหรับคนที่กำลังประสบปัญหาท้องผูกอยู่ เพราะทุเรียนจัดว่าเป็นผลไม้ที่มีกลิ่นและรสหอมหวานชวนรับประทานมากๆ คงจะเป็นที่โปรดปรานของสาวๆ ไม่มากก็น้อยเลยทีเดียว

 

เรียบเรียงโดย thaijobsgov.com

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: