จำซะใหม่!! กองสลากเผย เขียนชื่อ-นามสกุลหลังสลากฯ ไม่ได้แปลว่าเป็นเจ้าของเสมอไป!!





 

คดีสลากอลเวง 30 ล้านบาท ที่เป็นมหากาพย์ยาวนานกว่า4 เดือนที่จนถึงขณะนี้ยังไม่สามารถฟันธงได้ว่าใครเป็นเจ้าของ นำไปสู่กระแสฟีเวอร์ของผู้ซื้อสลากฯ ที่ต้องระมัดระวังตัวมากขึ้น และพยายามหาวิธีการต่างๆ เพื่อยืนยันความเป็นเจ้าของ

ทีมข่าวพีพีทีวี มีวิธีแนะนำให้การซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลสามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นของเราจริง รวมถึงเกร็ดความรู้ที่ว่า การเขียนชื่อสลักด้านหลังก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะเป็นเจ้าของสลากเสมอไป

ผศ.ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย โฆษกคณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาล กล่าวว่า สลากกินแบ่งรัฐบาลเวลาซื้อแล้วให้คิดว่าเหมือนทรัพย์สินทั่วไป ให้เก็บอย่างดีเหมือนของมีค่า เก็บให้มิดชิด ระวังไม่ให้หาย และจดจำ 3 สิ่งสำคัญคือ เลข 6 ตัวบนสลากฯ ชุด และงวดบนสลากฯ โดย 3 จุดนี้เป็นสิ่งสำคัญในการลงบันทึกประจำวันที่จะบ่งบอกว่าสลากใบนี้เราเป็นเจ้าของหากหายไป

ผศ.ดร.ธนวรรธน์ กล่าวว่า การเขียนชื่อ-นามสกุลข้างหลังสลากฯ ไม่ได้บอกว่าเป็นเจ้าของสลากฯ แต่ถือว่าเป็นผู้ครอบครอง และถือว่าเป็นหลักฐานในการมาขึ้นรางวัล หากคนขโมยสลากฯ มาขึ้นเงิน ถ้าตำรวจไม่ได้แจ้งอายัดสลากฯ ใบนี้ และไม่มีคำสั่งศาลมาถึงสำนักงานสลากฯ ก่อนสำนักงานสลากฯ ทำการออกรางวัล สำนักงานสลากฯ ก็จำเป็นต้องจ่ายเงินรางวัลให้คนมาขึ้นเงิน เพราะถือว่าไม่ได้ยักยอกมา ดังนั้นต้องมีคำสั่งศาล หรือเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือตัวเจ้าของสลากที่ไปแจ้งความสลากฯ หาย ต้องมาแจ้งที่สำนักงานสลากฯ ก่อนออกรางวัล แต่ถ้าแจ้งหลังออกรางวัล ต้องมีตำรวจขอมาอีกที โดยสำนักงานสลากฯ ดูแลได้เพียงการระงับการจ่ายรางวัลเท่านั้น

ผศ.ดร.ธนวรรธน์ ยกตัวอย่างว่า สมมตินาย ก ถูกรางวัลที่ 5 และขายสลากให้กับร้านค้ามาขึ้นรางวัลแทน ร้านค้าก็จะรวบรวมรางวัลทั้งหมดมาขึ้นเงินแทน ถ้าสลากนั้นไม่มีปัญหา สำนักงานสลากฯ ก็จะจ่ายเงินให้ทันที

ข่าวจาก : PPTV36

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: