อ่านสักนิดจะเข้าใจ จนท.มากขึ้น!! แผนกฉุกเฉิน(ER) เปิดตลอด24ชม.คุณคิดว่าเคสเเบบไหนที่เรียกว่าฉุกเฉิน?!





 

ท่ามกลางการก่นด่าการทำงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลรัฐ จะมีสักกี่คนที่เข้าใจการทำงานของเจ้าหน้าที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแผนกฉุกเฉินที่มักจะเป็นด่านแรกของการต้อนรับผู้ป่วย คุณเข้าใจว่า "ฉุกเฉิน" เป็นแบบไหน? ลองเสียสละเวลาอ่านสักนิดเพื่อทำความเข้าใจมากขึ้น

แผนกฉุกเฉิน(ER) เปิดตลอด 24 ชม. 

คุณคิดว่าเคสเเบบไหนที่เรียกว่าฉุกเฉิน !!

– ไข้ ไอ เจ็บคอ หรอ !!!
– ปวดเมื่อยมาเป็นอาทิตย์ หรอ !!!
– เครียด !! นอนไม่หลับ !! แบบนี้อ่อ 
– ปวดท้องมาเป็นอาทิตย์ ถ่ายไม่ออกมาเป็นเดือน หรอ !!
– ทำไม !! คนไข้หลายๆคนถึงอยากมาตรวจที่ ER. 
เพราะ เข้ามาแผนกนี่ เเล้วได้ตรวจไวหรอ !! เข้าแผนกนี่แล้วมีหมอมาดูเลย แบบไม่ต้องรอคิวนานอ่อ !!

– คุณดูเคสนี้สิ ( ตามภาพ ) ฉุกเฉินมากแค่ไหน…
ใช้หมอกี่คน (4-5คน) !! ใช้พยาบาลกี่คน (8-9คน) !! ใช้ผู้ช่วยกี่คน (7-8คน) !! ใช้เจ้าหน้าที่แผนกอื่นๆอีกกี่คน ใช้เวลานานแค่ไหน กับการช่วยเหลือคนไข้เคสนี้

แต่คนไข้ที่รอได้ (ไม่ได้ฉุกเฉิน) แต่กลับมาว่าเรา โวยวายใส่เรา รอนานบ้างแหละ ช้าบ้างแหละ ไม่สนใจบ้างแหละ ไม่ตามหมอมาตรวจบ้างแหละ 

– คุณลองย้อนกลับมาดูภาพนี้สิ (ตามภาพ) 
เราใช้เจ้าหน้าที่แทบจะหมดแผนก ใช้หมอไม่รู้กี่คน เพื่อช่วยเหลือเคสที่เค้าหนักจริงๆ รอไม่ได้จริงๆ ไม่ไหวจริงๆ 
– คุณเคยเห็นใจเราบ้างไหม !!! 
– คุณเคยรับฟังเราบ้างไหม !! 
– เราทำทุกๆอย่างเพื่อคนไข้ เราทำทุกอย่าง อย่างเต็มที่ด้วยใจ เพื่อให้ญาติพี่น้องของคุณปลอดภัย

– แต่สิ่งที่เราได้คือไร !! เหนื่อยมากแค่ไหน !! เวลาก็ไม่มีให้ครอบครัว !! ไม่เคยได้ดูแลครอบครัว !! ไม่เคยได้ดูแลคนที่เรารัก !!

– คุณกลับไม่เห็นใจ คุณกลับไม่คิดถึงความรู้สึกเรา คุณกลับมาชี้หน้าด่าเรา กลับมาโวยวายใส่เรา กลับมาถ่ายรูป-ถ่ายวีดีโอ เอาไปประจารในทางที่ไม่ดีต่างๆ

– คุณเคยเข้าใจเราบ้างไหม ?? (เจ้าหน้าที่ER) 
– เราก็มีหัวใจ เราก็มีความรู้สึก เราอยากได้คำพูดขอบคุณที่มาจากใจ เราอยากให้คุณเข้าใจในสิ่งที่เรากำลังทำ เราอยากได้ความรู้สึกที่ดีตอบแทนกลับบ้าง… เพราะมันจะทำให้เรามีกำลังใจ และมีความสุขกับสิ่งที่ทำ 

 

 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : Nutcha Dala

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: