มาส่องกันชัดๆ ของดีในป่า ‘เห็ดถอบ’เขาไปหากันยังไง ทำไมถึงแพง!(คลิป)





 

“เห็ดเผาะ” หรือที่หลายคนเรียกกันว่า “เห็ดถอบ” เป็นเห็ดพื้นบ้านที่จะขึ้นเองตามธรรมชาติในบางพื้นที่ โดยเฉพาะในเขตภาคเหนือและภาคอีสาน และจะมีผลผลิตออกมาให้กินในช่วงต้นฤดูฝนแบบนี้ (ราวเดือน พ.ค.-มิ.ย.) มีปีละครั้ง ราคาค่อนข้างสูง

 

 

ลักษณะทั่วไปของเห็ดเผาะ
เห็ดเผาะ (Barometer Earthstars) นั้นจะเป็นลูกกลมๆ แต่เมื่อดอกเห็ดโตขึ้นจะกลายเป็นรูปดาว บริเวณผิวจะมีสีขาวนวลเรียบ และมีรอยเปื้อนของดิน

 

 

ซึ่งเห็ดชนิดนี้จะไม่มีรากและลำต้น มีเปลือก 2 ชั้น โดยหากเป็นเห็ดอ่อนนั้นจะมีสีขาวนวลๆ ห่อหุ้มด้วยสปอร์ แต่หากเป็นดอกแก่จะมีเปลือกเป็นสีน้ำตาลหรือดำ  ส่วนถ้าใครจะไปหาซื้อที่ตลาดมาทำกิน จะต้องเลือกแบบที่ยังอ่อนอยู่ โดยสังเกตให้สีผิวของเห็ดไม่ดำมาก เห็ดต้องไม่แช่น้ำหรือล้างน้ำมาก่อน แต่พอซื้อมาแล้ว ก่อนจะนำไปประกอบอาหารต้องล้างน้ำให้สะอาดหลายๆ น้ำ จนหมดดิน

 

ถ้าเห็ดยังอ่อน ข้างในจะเป็นสีขาว

 

พื้นที่ไหนที่เคยออกประจำทุกปีก็จะมีชาวบ้านมาหาเห็ดกันเป็นจำนวนมาก ซึ่งบางจุดชาวบ้านต้องเดินเท้าไปตามภูเขาต่างๆที่สูงชันและจะต้องมีอุปกรณ์ในการหาเห็ดก็คือไม้หรือเหล็กตะขอเพื่อใช้เขี่ยหาเห็ดถอบที่ออกตามพื้นดิน ส่วนมากเห็ดจะออกกระจัดกระจายไปทั่วบริเวณซึ่งหากโชคดีในบางจุดก็จะเจอเห็ดอยู่เป็นกลุ่มจำนวนกว่า 10 เม็ด โดยต้องอาศัยการเดินเท้าไปเรื่อยๆจนกว่าจะได้เห็ดถอบเป็นที่พอใจของแต่ละคน ซึ่งก็ต้องขึ้นอยู่กับพละกำลังของแต่ละคนที่จะต้องเดินด้วย

โดยชาวบ้านได้บอกถึงวิธีหาเห็ดถอบว่าต้องสังเกตที่พื้นดินให้ดี ตรงไหนที่มีเห็ดออกหน้าดินตรงนั้นจะมีรอยแตกและนูนๆขึ้นมา จากนั้นก็ต้องใช้ไม้หรือตะขอเขี่ยหน้าดินออกก็จะทำให้เจอเห็ดถอบอยู่ในดิน แต่ถ้าหากมีฝนตกก็จะทำให้หาเห็ดได้ง่ายกว่าเดิมเพราะฝนที่ตกลงมาได้ชะล้างผิวหน้าดินออกโดยจะทำให้มองเห็นเห็ดได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

 

 

 

อย่างไรก็ตามเห็ดถอบยังสามารถสร้างรายได้ให้กับชาวบ้านในพื้นที่ได้เป็นอย่างดี ซึ่งชาวบ้านบางรายมีรายได้จากการขายเห็ดได้วันละกว่าพันบาท ซึ่งจำหน่ายในราคาลิตรละ 300 – 400 บาท เพราะอยู่ในช่วงเริ่มต้นฤดูกาลของเห็ดทำให้มีราคาสูงมาก ซึ่งปกติแล้วเห็ดถอบจะออกเพียงปีละหนึ่งครั้งถึงแม้ราคาจะสูงแต่ก็มีผู้นิยมหาซื้อไปรับประทานกันจำนวนมาก

ทั้งนี้เห็ดถอบสามารถนำไปทำอาหารได้หลากหลายเมนูทั้ง ผัด และ ต้มใส่เกลือจิ้มกินกับน้ำพริก หรือจะนำไปแกง ซึ่งถือว่าเป็นอาหารป่าพื้นบ้านที่ได้รับความนิยมของชาวบ้านทางภาคเหนือเป็นอย่างมาก

 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : นี่แหละบ้านเฮา, Numtarn Piyaphon

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: