“รองนายกฯ วิษณุ เครืองาม” โยน กระทรวงการต่างประเทศ แจงแอมนาสตี้ ปม ไทย มีการตัดสินโทษประหารชีวิต นักโทษเด็ดขาด ยันเป็นไปตามรัฐธรรมนูญของไทย
จากกรณีที่มีการ “ประหารชีวิต” นักโทษเด็ดขาด ในคดีฆ่าผู้อื่นอย่างทารุณโหดร้ายเพื่อชิงทรัพย์ ซึ่งการประหารชีวิตครั้งนี้ เป็นการบังคับใช้โทษประหารชีวิตครั้งแรก ในรอบ9ปี นับตั้งแต่ปี2552 โดยตั้ง พ.ศ.2478 ถึงปัจจุบันมีการบังคับโทษประหารชีวิตมาแล้ว จำนวน 325 ราย โดยแยกเป็น 1.การใช้อาวุธปืนยิงจำนวน 319 ราย (ยิงรายสุดท้ายเมื่อวันที่ 11 ธ.ค.46) 2.การฉีดยาสารพิษ จำนวน 6 ราย (ฉีดสารพิษครั้งแรกเมื่อวันที่ 12 ธ.ค.46 และครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 24 ส.ค.52)
โดยหลังมีข่าวการประหารชีวิตครั้งนี้ มีความเห็นมากมายจากทั้งคนทั่วไป และองค์กรสิทธิมุนษยชน ทั้งในและต่างประเทศ
- อ่าน : คนแรกในรอบ 9 ปี! ประหารแล้ว หนุ่มฆ่าชิงทรัพย์ทารุณ แทงเหยื่อ 24 แผล
- อ่าน : แอมเนสตี้ ซัด น่าละอายไทยประหารชีวิตรอบ 10ปี ขัดกติกาโลก-ย่ำยีความเป็นคน
- อ่าน : “อังคณา” เชื่อ “โทษประหารชีวิต” ไม่ได้ช่วยให้ ‘อาชญากรรม’ ลดลง!
ล่าสุด เมื่อวันที่ 19 มิ.ย. ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่องค์กรนิรโทษกรรมสากล หรือแอมนาสตี้ คัดค้านการตัดสินโทษประหารในประเทศไทย ว่า ไม่มีความเห็นในเรื่องดังกล่าว ที่ผ่านมารัฐบาลไทยพยายามทำตามข้อตกลงของสหประชาชาติที่จะไม่ใช้โทษประหารชีวิต แต่อย่างน้อยโทษประหารไม่ขัดรัฐธรรมนูญ มีอยู่ในกฎหมายไทย และคดีที่ตัดสินโทษประหารล่าสุดนั้นศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา ยืนตามกันว่าจะต้องมีโทษประหารเพราะเป็นคดีอุกฉกรรจ์สั่นสะเทือนมากจึงมีเหตุผลพอสมควร อย่างไรก็ตามเมื่อมีองค์กรระหว่างประเทศไม่เข้าใจ กระทรวงการต่างประเทศก็จะต้องชี้แจงให้เข้าใจ
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ