ฮีโร่มีอยู่จริง! ทำความรู้จักฮีโร่กว่า50หน่วยงาน ร่วมกันช่วย13ชีวิตติดถ้ำหลวง





 

เป็นเรื่องน่ายินดีในค่ำคืนที่ผ่านมา ทันทีที่พบน้องๆ ทีมหมูป่าทั้ง 13 ชีวิตปลอดภัยดี โดยห่างจากพัทยาบีชไปอีก 400 เมตร

 

 

 

 

ตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา มีหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งบุคคลที่เกี่ยวข้อง ระดมกำลังเข้าช่วยเหลือแข่งกับเวลา รวมแล้วไม่น้อยกว่า 50 หน่วยงาน มีจำนวนคนหมุนเวียนมาช่วยเหลือในพื้นที่แล้วนับหมื่นคน หรือวันละประมาณ 4 พันคน

เขาเหล่านี้แม้ไม่มีพลังวิเศษ แต่ก็เปรียบได้กับ ‘ฮีโร่’ ในชีวิตจริงที่ต่างคนต่างทำงานอย่างหนักทั้งวันทั้งคืน โดยมีเดิมพันเป็นความปลอดภัยของทั้ง 13 ชีวิตที่กำลังรอคอยความช่วยเหลือ

ฮีโร่เหล่านี้เป็นใครกันบ้าง thestandard และ Thaijobsgov รวบรวมมาให้คุณรู้จักกัน

1. มูลนิธิสยามรวมใจแม่สาย หรือกู้ภัยแม่สาย

2. ทีมกู้ภัยในจังหวัดเชียงราย

3. นายเวิร์น อันสเวิร์ธ ผู้ที่เคยสำรวจถ้ำ

4. นายกมล คุณงามความดี อดีตเจ้าหน้าที่วนอุทยานถ้ำหลวงฯ

5. มณฑลทหารบกที่ 37 (มทบ.37) ส่งคนเข้าไปดำน้ำหาในช่วงแรก พร้อมตั้งกองอำนวยการร่วมกับกองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย (กกล.รส.) จังหวัดเชียงราย และมูลนิธิต่างๆ

6. หน่วยเฉพาะกิจ กรมทหารม้าที่ 3 กองกำลังผาเมือง (ฉก.ม.3 กล.ผาเมือง)

7. หน่วยพัฒนาเคลื่อนที่เร็ว 35 (นพค.35) ส่งเจ้าหน้าที่ร่วมประเมินสถานการณ์ พร้อมสนับสนุนเครื่องมือให้กับหน่วยซีล

8. กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ ค่ายเพชรบุรีราชสิรินธร (ร.11 พัน 3 รอ.)

9. หน่วยเรือรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำแม่น้ำโขง (นรข.) จำนวน 3 นาย เข้าไปสมทบในถ้ำ เพื่อค้นหาและช่วยเหลือผู้ที่สูญหาย (ช่วงแรกการค้นหา)

10. หน่วยทำลายใต้น้ำจู่โจม (หน่วยซีล) หน่วยที่ขึ้นชื่อว่าอึดที่สุดของทหารเรือ ส่งเจ้าหน้าที่ 18 นายเป็นแนวหน้า ค้นหาเด็กติดถ้ำ ซึ่งทุกคนได้ฝากความหวังไว้กับหน่วยนี้ว่าจะค้นหาเด็กๆ และครูจนพบ

11. สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 15 (เชียงราย) หรือ สบอ.15 ส่งเจ้าหน้าที่ ลงพื้นที่ตรวจสอบ และสอบถามข้อมูลจากผู้ปกครองของเด็กๆ และส่งชุดเดินเท้า 19 นาย เข้าสำรวจโพรงถ้ำ

12. กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ช่วยด้านข้อมูลและสำรวจโพรงถ้ำ

13. หน่วยช่วยเหลือด้านการแพทย์ ประกอบด้วย โรงพยาบาลค่ายเม็งรายมหาราช, โรงพยาบาลพญาเม็งราย, สำนักงานสาธารณสุขอำเภอแม่สาย, โรงพยาบาลศูนย์เชียงรายประชานุเคราะห์ และโรงพยาบาลแม่จัน ส่งหมอ พยาบาล และอุปกรณ์ทางการแพทย์คอยช่วยเหลือทุกคนในภารกิจนี้ รวมถึงเตรียมพร้อมในการดูแลรักษาเด็กๆ และครู หากเจ้าหน้าที่ช่วยเหลือออกมาได้

14. สำนักงานจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 2 อำนวยความสะดวกและช่วยเหลือเจ้าหน้าที่

15. ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 15 เชียงราย อำนวยความสะดวกทีมช่วยเหลือ ซึ่งล่าสุดได้ส่งท่อลมขนาดใหญ่เพื่อเพิ่มออกซิเจนในถ้ำ

16. กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ช่วยด้านข้อมูลและสำรวจโพรงถ้ำ

17. นายณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย แม่ทัพใหญ่นำทีมบัญชาการและอำนวยการเจ้าหน้าที่ทั้งทหาร ตำรวจ และพลเรือน เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย อบจ.เชียงราย เทศบาลนครเชียงราย เจ้าหน้าที่อาสาสมัครในพื้นที่แม่สาย ระดมกำลังช่วยเหลือในทุกๆ ด้านตามความสามารถอย่างเต็มประสิทธิภาพ

18. ค่ายมือถือของประเทศไทย ประกอบด้วย AIS, DTAC, True, CAT และ TOT ที่ช่วยขยายสัญญาณโทรศัพท์ ด้วยการประสานงานจาก กสทช.

19. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ นำหุ่นยนต์ดำน้ำ (ROV) จำนวน 1 เครื่อง โดรนติดกล้องจับความร้อน สำหรับบินสำรวจหาอีก 2 ลำ ลำเลียงผ่านเครื่องบิน C-130 ของกองทัพอากาศ เพื่อร่วมค้นหา

20. การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ช่วยอำนวยความสะดวกในการส่งไฟฟ้าเข้าไปในพื้นที่ ซึ่งต้องใช้ไฟในการค้นหาในหลายส่วน

21. กรมชลประทาน ส่งทีมจากสำนักเครื่องจักรกล นำเครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่ 10 เครื่อง เดินทางไปสนับสนุนการช่วยเหลือ

22. ประเทศลาว ได้ส่งนักประดาน้ำชาวลาว จากมูลนิธิกรมการกู้ภัยแห่งชาติสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ที่ 1623 เข้าร่วมภารกิจกับหน่วยกู้ภัย ของไทย เพื่อค้นหาผู้สูญหาย

23. สถานทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ส่งกองกำลังสหรัฐอเมริกาภาคพื้นแปซิฟิก (USPACOM) ได้ส่งทีมค้นหาและกู้ภัย เพื่อช่วยตามหาผู้สูญหาย ตามคำขอของรัฐบาลไทย

24. กทม. ส่งเจ้าหน้าที่พร้อมสายสูบน้ำดับเพลิงระยะไกล

25. บมจ.ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (ปตท.สผ.) ส่งทีมงานพร้อมโดรนและหุ่นยนต์เข้าร่วมปฏิบัติการค้นหา ซึ่งโดรน 3 ลำ ที่สามารถระบุสภาพใต้ดินว่ามีโพรงเชื่อมต่อกับถ้ำได้หรือไม่ และสามารถตรวจจับความร้อนใต้พื้นดินได้ด้วย

26. กรมทางหลวงชนบท ขนหินละเอียดหลายสิบคัน เข้าถมพื้นที่บริเวณลานด้านหน้าศูนย์ประสานช่วยเหลือ 13 ชีวิตติดถ้ำหลวง

27. เจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญ 3 คน จากองค์กร Derbyshire Cave Rescue Organisation ซึ่งเดินทางมาจากกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ

28. ศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ ผู้เชี่ยวชาญวิศวกรรมปฐพี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ช่วยข้อมูลเรื่องเจาะผนังถ้ำหลวง

29. บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT ได้เชื่อมต่อสาย Fiber Optic เพื่อให้มีสัญญาณอินเทอร์เน็ตภายในถ้ำ และทำการติดตั้งกล้องวงจรปิดไว้ด้านใน

30. จิตอาสาโรงทาน

31. ผู้เชี่ยวชาญเรื่องน้ำจากประเทศญี่ปุ่น ได้เดินทางมาที่ถ้ำหลวง เตรียมช่วยในปฏิบัติการระบายน้ำออกจากถ้ำ

32. นายศักดิ์ฉลาด ศรีวิชา ผู้อำนวยการสำนักทรัพยากรน้ำบาดาล เขต 1 ลำปาง

33. เจ้าหน้าที่ของทางการจังหวัดท่าขี้เหล็ก จังหวัดชายแดนฝั่งพม่า ที่ติดกับ อำเภอแม่สาย ทำการค้นหาโพรงที่อาจเชื่อมกับถ้ำหลวง ซึ่งอาจใช้เป็นเส้นทางในการค้นหาเด็กๆ และโค้ช 13 ชีวิต

34. องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (ไจก้า) ได้จัดส่งผู้เชี่ยวชาญชาวญี่ปุ่น 2 คน ไปจังหวัดเชียงราย เพื่อร่วมสนับสนุนและให้คำปรึกษาแก่คณะเจ้าหน้าที่จากกรมชลประทาน ในการปฏิบัติการระบายน้ำออกจากพื้นที่บริเวณโดยรอบถ้ำหลวง อย่างมีประสิทธิภาพและเร่งด่วน รวมถึงการประเมินความเป็นไปได้ ในการนำเทคโนโลยีล่าสุด จากประเทศญี่ปุ่น เพื่อให้ความช่วยเหลือลำดับถัดไป

35. รัฐบาลจีนส่งผู้เชี่ยวชาญและหุ่นยนต์ใต้น้ำ ช่วยหาผู้สูญหายถ้ำหลวง

36. นายสุรทิน ชัยชมพู นายกสมาคมน้ำบาดาลไทย และทีมงาน

37. เอ๋ นรินทร นักร้องหญิงชื่อดัง นำทีมดำน้ำ "นรินทร" เข้าสมทบด้วย

38. พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผบ.ตร.และคณะ เข้าร่วมสำรวจโพรงถ้ำเพื่อเจาะปล่องโรยตัว

39. กลุ่มคนรับจ้างเก็บรังนกจากเกาะลิบง จังหวัดตรัง เข้าร่วมสำรวจถ้ำ

40. พ.ท.นพ.ภาคย์ โลหารชุน "หมอภาคย์" หมอทหารสุดแกร่ง นักล่าปีกผู้ผ่านทั้ง6หลักสูตร (AIRBORNE, RANGER, SEAL/UDT, RECON, SPECIAL OPERATION, และทหารเสือราชินี) ผู้บังคับกองพันเสนารักษ์ที่ 3 เข้าสมทบกับหน่วยซีล

41. ชาวบ้านและเกษตรกรพื้นที่โดยรอบถ้ำหลวงที่เสียสละพื้นที่ให้น้ำท่วมจากการระบายน้ำออกจากถ้ำหลวง

42. ทีมเครื่องสูบน้ำซิ่งพญานาค ที่มีส่วนสำคัญช่วยให้น้ำในถ้ำลดลงอย่างรวดเร็ว จนสะดวกแก่การเข้าไปช่วยเหลือ

และสุดท้ายคือ คนไทยทุกคน ที่ช่วยกันติดตามข่าว ส่งกำลังใจให้เจ้าหน้าที่ และภาวนาให้ทั้ง 13 ชีวิตอออกมาจากถ้ำอย่างปลอดภัย

ข้อมูลจาก : thestandard

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: