รองปลัดยธ.แนะกยศ.เริ่มยึดทรัพย์พ่อแม่ศิษย์เบี้ยวหนี้ก่อน แล้วค่อยไปยึดผู้ค้ำ





 

รองปลัดยธ.โพสต์เฟซบุ๊กแนะกยศ.สืบทรัพย์ พ่อแม่ศิษย์เบี้ยวหนี้ กยศ.ควรเริ่มยึดทรัพย์เป็นลำดับจากบิดามารดาหรือผู้ปกครองเสียก่อน จึงไปเอาผู้ค้ำ จึงจะเป็นธรรม ชี้ช่องแก้ปัญหากำหนดวงเงินขรก.ค้ำประกันให้ชัด

จากกรณี น.ส.วิภา บานเย็น ผู้อำนวยการโรงเรียนแห่งหนึ่งใน จ.กำแพงเพชร ที่ถูกยึดบ้านและที่ดินขายทอดตลาด เนื่องจากการค้ำประกันหนี้ กยศ.ให้กับนักเรียนกว่า 60 คน เพื่อเห็นแก่อนาคตลูกศิษย์ว่า เมื่อถึงกำหนดนักเรียนก็ไม่ยอมชำระหนี้ จนล่าสุดกรมบังคับคดีและกยศ.ต้องร่วมมือกันชะลอการบังคับคดีไว้ก่อน 

อ่านข่าว “ปชป.” จี้เร่งบังคับใช้กฎหมาย กยศ. หักเงินเมื่อทำงานได้ ชี้ ‘ชวน’ ทำมาดี ช่วยคนขาดแคลน

เมื่อวันที่ 27 ก.ค. ธวัชชัย ไทยเขียว รองปลัดกระทรวงยุติธรรม โพสต์เฟชบุ๊กถึงกรณีดังกล่าว โดยระบุว่า การสืบทรัพย์เด็กให้สืบทรัพย์บิดามารดาด้วย เพราะการก่อหนี้ตั้งแต่เป็นเด็กและเยาวชน ซึ่งเด็กยังไม่บรรลุนิติภาวะทำนิติกรรม โดยที่บิดามารดาหรือผู้ปกครองไม่ยินยอมไม่ได้ และกยศ.ควรเริ่มยึดทรัพย์เป็นลำดับจากบิดามารดาหรือผู้ปกครองเสียก่อน จึงไปเอาผู้ค้ำ จึงจะเป็นธรรม ในอนาคตการทำสัญญาผู้ร่วมลงนามค้ำประกัน ต้องเอาบิดามารดาหรือผู้ปกครองมาร่วมค้ำประกันด้วย 

อ่านข่าว ศิษย์ ครูวิภา ติดต่อกลับแค่ 3 คน เปิดปาก ไม่คิดจะร้ายแรง งง ทำไมครูกล้าค้ำ 60 คน

นายธวัชชัย ระบุอีกว่า กรณีการใช้ตำแหน่งค้ำประกัน ต้องกำหนดว่าข้าราชการระดับนี้มีค่าที่ใช้หลักประกันได้เป็นวงเงินเท่าใด เมื่อไปค้ำประกัน 1 คนแล้ว เหลือมูลค่าวงเงินอีกเท่าไหร่ ที่จะนำไปค้ำประกันคนอื่นต่อไปได้หรือไม่ กระทำเหมือนเอาตำแหน่งไปค้ำประกันในการปล่อยตัวชั่วคราวของกระบวนการยุติธรรมก็จะลดความเสี่ยงไปได้ เว้นแต่เอาหลักทรัพย์มาค้ำ มิใช่ข้าราชการ 1 คน ไปค้ำได้เป็นร้อยเป็นพันคน 

อ่านข่าว โซเชี่ยลประกาศล่าลูกศิษย์ เบี้ยวหนี้ กยศ. กินหรูอยู่สบาย ทำครูวิภา โดนยึดทรัพย์!

นายธวัชชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า หลักการใช้ตำแหน่งข้าราชการมาค้ำประกันต้องมีการตรวจสอบ และเชื่อว่าเรื่องนี้คงไม่มีใครดูว่า ข้าราชการคนหนึ่งจะค้ำประกันอะไรได้มากมาย และคงไม่คิดว่าจะเกิดปัญหาจึงไม่ได้ป้องกันไว้ หากเป็นหนี้เป็นความ ต้องฟ้องกันจริง ถ้าไปค้ำประกัน มากมายขนาดนี้ ทรัพย์สินที่สืบทรัพย์มาและจะต้องนำไปเฉลี่ยหนี้ จะเหลือเจ้าละกี่บาท ถ้าพูดตามหลักความเป็นจริง อย่างไรก็ตาม การใช้ตำแหน่งข้าราชการในการค้ำประกันหรือการประกันตัวในคดี ของศาลนั้นมีหลักเกณฑ์มูลค่าตำแหน่งหรือวงเงินชัดเจน ว่าตำแหน่งระดับไหนมีวงเงินเท่าไหร่ ใช้ไปแล้ว หรือไม่ เหลือเท่าไหร่จะมีการคำนวนชัดเจน

“ตำแหน่งข้าราชการระดับรองปลัดกระทรวงของผม มีวงเงินตีราคาค้ำประกัน ประมาณ 1 ล้านบาท ถ้าไม่มีหลักทรัพย์มาประกันตัว ก็ใช้ตำแหน่งในราคาเท่านี้ ซึ่งศาลจะเป็นผู้พิจารณาและตรวจสอบว่าได้ใช้ตำแหน่งไปกี่คดีแล้ว ยื่นขอประกันใครไปแล้วหรือไม่ เหลือเท่าไหร่” นายธวัชชัย กล่าว

ข่าวจาก : ข่าวสดออนไลน์

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: