ท้าพิสูจน์!! หนุ่มทดลองกิน “ยาแก้ไอ” VS. “ลำไย”! เตือนผลลัพธ์ที่ได้ เข้าด่านตรวจ อาจมีสิทธิ์ติดคุก!!(ชมคลิป)





14 ก.ค. 2561 เฟซบุ๊ก เจ้าพ่อคลิปเด็ด ได้โพสต์คลิปชายหนุ่มคนหนึ่ง ได้ทดลองกินลำไยจำนวนสิบลูก แล้วจากนั้น ได้ใช้เครื่องตรวจวัดแอลกอฮอล์เพื่อตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์ในร่างกาย ซึ่งผลการตรวจออกมานั้น พบว่ามีระดับแอลกอฮอล์ กว่า 70 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ซึ่งมากกว่าที่กฎหมายกำหนดคือ ต้องไม่เกินกว่า 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ในร่างกาย และหลังจากนั้น ชายอีกคนหนึ่ง ก็ได้กินยาแก้ไอยี่ห้อหนึ่งเข้าอีก ก่อนตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์ในร่างกายอีกครั้ง ผลปรากฏว่ามีระดับแอลกอฮอล์มากกว่า 350 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ซึ่งปริมาณเทียบเท่าหรือมากกว่าการดื่มเบียร์ 1 กระป๋อง ซึ่งทำให้ร่างกายจะมีปริมาณแอลกอฮอล์ 330 มิลลิกรัม ชมคลิป

ต่อมาด้าน รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยผ่านอัมรินทร์ทีวีว่า แอลกอฮอล์สามารถเกิดขึ้นได้จากผลไม้จำพวกที่มีรสหวาน ฉ่ำน้ำ เช่น ลำไย ลิ้นจี้ เงาะ และสับปะรด เป็นต้น ถ้าหากมีการตัดออกจากต้นแล้วนำมาเก็บไว้ ก็จะทำให้ผลไม้มีปฏิกิริยาเปลี่ยนให้มีแอลกอฮอล์เกิดขึ้นมาได้ แต่ปริมาณไม่มาก

ทั้งนี้ ถ้าเทียบกับพื้นฐานของการเป่าตรวจจับแอลกอฮอล์แล้ว การกินลำไยหรือผลไม้ที่มีรสหวานฉ่ำน้ำ ไม่ถึงเกณฑ์ที่ตั้งไว้ เพราะรายละเอียดของกฎหมายคือ ห้ามผู้ขับขี่รถทุกประเภท ยกเว้นรถรางกับรถไฟ เมาสุราในขณะขับรถ และความหมายของเมาสุรา คือ มีปริมาณแอลกอฮอล์ในกระแสเลือดเกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ถ้าเจ้าหน้าที่ตำรวจสงสัยว่าเมาสุราสามารถสั่งให้หยุดรถและสั่งให้เป่าเครื่องวัดแอลกอฮอล์เพื่อตรวจได้ แต่การกินลำไยที่ถูกตัดออกจากต้นมาทิ้งไว้ ไม่ถึง 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ถึงจะกินเยอะแค่ไหนก็ตาม

ส่วนวิธีการแก้ไขคือ หลังจากกินลำไยแล้ว ก็ให้กินน้ำตาม หรือกลั้วปาก แล้วพักไว้สัก 4-5 นาที แอลกอฮอล์ที่เกิดจากผลไม้ก็จะหายไป เพราะไม่ใช่แอลกอฮอล์ที่อยู่ในเลือดเหมือนการดื่มเหล้าหรือสุรา

ขอบคุณที่มาคลิป : เจ้าพ่อคลิปเด็ด

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: