เผยที่มา เครื่องราชฯ จุลจอมเกล้า สตรีได้รับเป็นคุณหญิง-ท่านผู้หญิง บุรุษสืบตระกูลได้





พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นปฐมจุลจอมเกล้า ฝ่ายใน แก่ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ และ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ และพระราชทาน เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษฝ่ายใน แก่ คุณพลอยไพลิน เจนเซน และคุณสิริกิติยา เจนเซน

สำหรับ เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า มีประวัติความเป็นมายาวนาน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อปี 2416 เนื่องในโอกาสที่พระมหากษัตริย์ราชวงศ์จักรีได้ปกครองประเทศไทยติดต่อกันมาถึง 90 ปี ด้วยความสงบสุข พระองค์จึงทรงพระกรุณาให้สร้างเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้านี้ขึ้นซึ่งเป็นพระนามของพระองค์ และให้แพรแถบสีชมพูอันเป็นสีของวันพระราชสมภพ คือวันอังคาร


ภากจาก naisoi4.com

ข้อมูลจากสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ระบุว่า เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า มีชั้นตรา และจำนวนที่พระราชทาน ดังนี้

สำหรับพระราชทาน ฝ่ายหน้า (บุรุษ) มี 3 ชั้น 7 ชนิด คือ

ชั้นที่ 1 มี 2 ชนิด ปฐมจุลจอมเกล้าวิเศษ (ป.จ.ว.) ไม่จำกัดจำนวน ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) มีจำนวน 30 สำรับ

ชั้นที่ 2 มี 2 ชนิด ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) มีจำนวน 200 สำรับ ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) มีจำนวน 250 ดวง

ชั้นที่ 3 มี 3 ชนิด ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ต.จ.ว.) มีจำนวน 250 ดวง

  • ตติยจุลจอมเกล้า (ต.จ.) มีจำนวน 250 ดวง
  • ตติยานุจุลจอมเกล้า (ต.อ.จ.) มีจำนวน 100 ดวง

สำหรับพระราชทานฝ่ายใน ( สตรี ) มี 4 ชั้น 5 ชนิด คือ

  • ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) มีจำนวน 20 สำรับ
  • ชั้นที่ 2 มี 2 ชนิด ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) มีจำนวน 100 ดวง
  • ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) มีจำนวน 100 ดวง
  • ชั้นที่ 3 ตติยจุลจอมเกล้า (ต.จ.) มีจำนวน 250 ดวง
  • ชั้นที่ 4 จตุตถจุลจอมเกล้า (จ.จ.)มีจำนวน 150 ดวง

การใช้คำนำนาม สตรีที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายใน

  • สตรีซึ่งสมรสแล้ว เมื่อได้รับพระราชทาน ป.จ., ท.จ.ว. ใช้คำนำนามว่า “ท่านผู้หญิง”
  • สตรีซึ่งสมรสแล้ว เมื่อได้รับพระราชทาน ท.จ., ต.จ., จ.จ. ใช้คำนำนามว่า “คุณหญิง”
  • สตรีที่ยังมิได้สมรส เมื่อได้รับพระราชทาน จ.จ. ขึ้นไป ใช้คำนำนามว่า “คุณ”
  • สตรีซึ่งเป็นเชื้อราชตระกูล ชั้นหม่อมเจ้า ใช้คำนำ พระนามตามเดิม ไม่ว่าจะได้รับพระราชทานชั้นใด สำหรับหม่อมราชวงศ์ และหม่อมหลวง เมื่อได้รับพระราชทาน ป.จ., ท.จ.ว. ใช้คำนำนามว่า “ท่านผู้หญิง ” หากได้รับพระราชทาน ท.จ., ต.จ., จ.จ. ยังคงใช้ฐานันดรโดยไม่ใช้คำนำนามว่า “คุณหญิง”

ในปัจจุบันนี้แม้ทางการได้ยกเลิกบรรดาศักดิ์และราชทินนามแล้ว สตรีที่สามีไม่ได้มีบรรดาศักดิ์ ยังคงกำหนดให้ใช้คำนำหน้านามว่า ” คุณหญิง ” และ ” ท่านผู้หญิง ” ตามชั้นของเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าที่ได้รับพระราชทาน

เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้านั้น แตกต่างจากเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลอื่นตรงที่สามารถมีการสืบตระกูลเครื่องราชอิสริยาภรณ์ได้ โดยถ้าเป็นบุตรสืบตระกูลบิดา จะได้รับพระราชทาน “ตติยจุลจอมเกล้า” แต่ถ้าเป็นหลานสืบตระกูลปู่ จะได้รับพระราชทาน “ตติยานุจุลจอมเกล้า” ลักษณะการสืบตระกูลเครื่องราชอิสริยาภรณ์

ขอบคุณภาพจาก watdebsirinnet, ข่าวสดออนไลน์

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: